บทความเรื่องน้ำท่วม น้ำท่วมใรล่มแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดขึ้นได้อย่างไร


1,001 ผู้ชม

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์การแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยระบบคลองขุดขนาดใหญ่ ที่ยังสามารถใช้งานได้ดีจนทุกวันนี้ คือ คลอง Grand Canal ในประเทศจีน ความยาวประมาณ 1,795 กิโลเมตร ก่อสร้างมานานกว่า 2000 ปี


จากบันทึกทางประวัติศาสตร์การแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยระบบคลองขุดขนาดใหญ่ ที่ยังสามารถใช้งานได้ดีจนทุกวันนี้ คือ คลอง Grand Canal ในประเทศจีน ความยาวประมาณ 1,795 กิโลเมตร ก่อสร้างมานานกว่า 2000 ปี

จากสถิติปริมาณน้ำสูงสุดเมื่อปีพ.ศ. 2549 ที่จังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 6,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ปริมาณน้ำที่สามารถระบายออกที่กรุงเทพมหานครวัดได้ประมาณ 4,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที  ดังนั้น ปริมาณน้ำอีก 2,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ที่เกินขนาดแม่น้ำเจ้าพระยาที่กรุงเทพมหานครสามารถจะระบายได้ จึงจำเป็นต้องกระจายให้ไปท่วมตามพื้นที่สองฟากของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะลงมาถึงกรุงเทพมหานคร

หลักการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยระบบคลองขุดสายตะวันออกและคลองขุดสายตะวันตก ให้สามารถระบายน้ำลงทะเลได้ รวมกับประมาณ 2,000 ถึง 3,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ก็จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบได้

รายละเอียดคลองขุดสายตะวันออก 

                แนวคลองขุดเริ่มต้นที่แม่น้ำยม โดยสร้างฝายกั้นแม่น้ำยมที่ระดับความสูงประมาณ 140 เมตร (รทก.) แล้วจุดคลองผันน้ำขนาดใหญ่ลดระดับลงมาจากอำเภอลอง จังหวัดแพร่ ผ่านอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่, อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ถึงแม่น้ำน่านที่อำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ระดับประมาณ 130 เมตร (รทก.) จากแม่น้ำน่าน ขุดคลองผันน้ำจากระดับ 130 เมตร (รทก.) ผ่านอำเภอตรอน, อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านอำเภอพรหมพิราม, อำเภอวัดโบสถ์, อำเภอเมือง, อำเภอวังทอง, อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอ
ชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ผ่าน อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ลงมาแม่น้ำป่าสักที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ สร้างฝายที่แม่น้ำป่าสัก ที่ระดับประมาณ 100 เมตร (รทก.) จากนั้น ขุดคลองผันน้ำจากแม่น้ำป่าสักที่ระดับ 100 เมตร (รทก.) ผ่าน อำเภอวิเชียรบุรี, อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่าน อำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ผ่าน อำเภอท่าม่วง, อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ผ่าน อำเภอบ้านนา อำเภอเมือง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ผ่าน อำเภอเมือง อำเภอประจันตคาม, อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ผ่าน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว, อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอบ่อท่อง อำเภอบ้านบึง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี แล้วไหลลงทะเลที่บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่ระดับน้ำประมาณ 40 เมตร (รทก.)

รายละเอียดคลองขุดสายตะวันตก 

                แนวคลองผันน้ำจะเริ่มต้นที่แม่น้ำปิง สร้างฝายกั้นแม่น้ำปิงที่ระดับความสูงประมาณ 160 เมตร (รทก.) เขต อำเภอสามเงา จังหวัดตาก คลองผ่าน อำเภอบ้านตาก อำเภอเมือง จังหวัดตาก เขต จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ลงมาแม่น้ำแควใหญ่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่ระดับน้ำประมาณ 120 เมตร (รทก.) แล้วไหลออกสู่ทะเล

                การขุดคลองลัดเลาะไปตามเชิงเขา ตามแนวคลองที่วางแผนไว้ในข้างต้นนี้ โดยแนวคลองไหลเลาะมาตามเชิงเขาจากจังหวัดแพร่ ผ่านจังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา มาลงทะเลที่จังหวัดชลบุรี ในอดีตมีตัวอย่างในการขุดคลองลัดเลาะเชิงเขา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำการวางระดับ ทำการขุดคลองในการสร้างเหมืองฝาย เพื่อใช้ในการกระจายน้ำไปยังพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งอยู่ต่ำกว่าคลองขุด ในภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันนี้ยังมีผลงานปรากฏอยู่ ระบบกระจายน้ำเหล่านี้ยังสามารถใช้งานได้ดีอยู่ ประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางไปดูได้เราสามารถใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำท่วมในภาคประชาชน

                ในอดีตการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถสร้างได้ในพื้นที่ขนาดเล็ก ขนาดหมู่บ้านตำบลเท่านั้น แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิชาการ ทำให้สามารถวางแผนระบบกระจายน้ำขนาดใหญ่ได้ นอกจากสามารถกระจายน้ำแล้วยังสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้ เป็นจำนวนมากๆ ประมาณว่าควรจะให้สามารถระบายน้ำได้ไม่น้อยกว่า 2,000 – 3,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาลดลง 2,000 – 3,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จะทำให้ปัญหาน้ำท่วมลดลงได้อย่างมาก

                ปัญหาอีกข้อหนึ่งของการท่วมขังนานของน้ำเกิดขึ้นจากน้ำไม่สามารถไหลบ่าข้ามที่ราบตอนปลายของแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็ว แม่น้ำเจ้าพระยาถูกบล็อกไว้เหลือทางไหลออกสู่ทะเลจำกัด ถ้าท่านได้ดูภาพน้ำท่วมในสื่อต่างๆ จะเห็นว่า การไหลท่วมของน้ำจะล้นออกทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาและไหลท่วมลงมาเรื่อยๆ จนถึงกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็น จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง ฯลฯ แต่พอมาถึงกรุงเทพมหานครน้ำทั้งหมดจะถูกบล็อกให้อยู่ในแม่น้ำ ทำให้การไหลของน้ำออกสู่ทะเลจะช้าลง

อัพเดทล่าสุด