โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทย สถานที่ตั้งเหลือ 4 จว. คาดปีหน้าได้ศึกษาเทคโนฯเครื่องปฏิกรณ์ขั้นสุดท้าย


833 ผู้ชม

พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เริ่มงวด ก.พลังงานเฟ้นจาก 14 แห่ง เหลือแค่ 5 แห่งใน 4 จังหวัด


สถานที่ตั้งเหลือ4จว. คาดปีหน้าได้ศึกษาเทคโนฯเครื่องปฏิกรณ์ขั้นสุดท้าย

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทย สถานที่ตั้งเหลือ 4 จว. คาดปีหน้าได้ศึกษาเทคโนฯเครื่องปฏิกรณ์ขั้นสุดท้าย

เลือก พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เริ่มงวด ก.พลังงานเฟ้นจาก 14 แห่ง เหลือแค่ 5 แห่งใน 4 จังหวัด สุราษฏร์ฯ นครศรีธรรมราช ตราด นครสวรรค์ คาด ปีหน้ารู้ผล ด้านเทคโนฯ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ศึกษาขั้นสุดท้ายแล้ว รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน แจ้งเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนว่า ขณะนี้การศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำเร็จไปแล้วร้อย ละ 62% โดยในส่วนของการคัดเลือกพื้นที่สำหรับตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น ปัจจุบันเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 คือ การคัดเลือกพื้นที่จาก 14 แห่ง เหลือเพียง 4 จังหวัด รวม 5 แห่ง ได้แก่ 1.พื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2 แห่ง 2.จังหวัดนครศรีธรรมราช 1 แห่ง 3.จังหวัดตราด 1 แห่ง และ 4.จังหวัดนครสวรรค์ 1 แห่ง ขั้นตอนต่อจากนี้เจ้าหน้าที่จากบริษัท เบิร์นแอนด์โลว์ บริษัทที่ปรึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องลงพื้นที่ ขุดเจาะชั้นหินในระดับความลึก 100 เมตร ของพื้นที่ทั้ง 5 แห่ง เพื่อศึกษาทางธรณีวิทยาสำหรับเลือกพื้นที่ให้เหลือเพียง 3 แห่ง ที่จะใช้ก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คาดว่าปี 2553 จะคัดเลือกพื้นที่สำเร็จ

นอก จากนี้ ในส่วนของเทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์นั้น อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลขั้นตอนสุดท้าย โดยเบื้องต้นได้เชิญบริษัทจากประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และสหรัฐ มาหารือ โดยไทยขอให้ส่งข้อมูลเบื้องลึกด้านเทคโนโลยีเพื่อพิจารณาคัดเลือกเทคโนโลยี ที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ในไทย อย่างไรก็ตาม ตัวแทนบริษัทดังกล่าวได้ขอให้ไทยลงนามรักษาความลับก่อนจึงจะสามารถเปิดเผย ข้อมูลได้ ซึ่งไทยจะพิจารณาร่วมกันต่อไป

ทั้ง นี้ ผลการศึกษาทั้งเรื่องสถานที่ก่อสร้างและเทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ นั้นจะทำการศึกษาให้เสร็จภายในปี 2553 และรายงานผลต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จากนั้นจะให้รัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจว่าไทยจะเดินหน้าตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือไม่ ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะดำเนินการตัดสินใจได้ช่วงต้นปี 2554

ขณะ ที่นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับบริษัท ไชน่า กวางตง นิวเคลียร์ พาวเวอร์ กรุ๊ป (CGNPC) และบริษัท ซีแอลพี กรุ๊ป ในวันเดียวกันนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ระหว่างกัน การลงนามเอ็มโอยูครั้งนี้จะครอบคลุมเวลา 3 ปี

"กฟผ.ได้ เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรองรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใน อนาคต ซึ่งเป็นไปตามแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ที่กำหนดให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปริมาณ 2,000 เมกะวัตต์ สำหรับแผนพีดีพีฉบับใหม่ 2010 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณานั้นคาดว่าจะต้องมีการกำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เช่นกัน" นายสมบัติกล่าว

ที่มา : https://www.matichon.co.th - วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 เวลา 21:10:47 น.

อัพเดทล่าสุด