ย้อนหลังไปในเดือนธันวาคม พ.ศ.2538 การสำรวจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้งานอยู่ทั้งหมดพบว่ามีการใช้งานโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ชนิดต่างๆ รวม 437 โรง
สถิติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ย้อนหลังไปในเดือนธันวาคม พ.ศ.2538 การสำรวจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้งานอยู่ทั้งหมดพบว่ามีการใช้งานโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ชนิดต่างๆ รวม 437 โรง แบ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ PWR 203 โรง (46.5%) แบบ BWR 93 โรง (21.3%) แบบ CANDU 33 โรง (7.5%) ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างมีจำนวน 39 โรง ซึ่งยังคงนิยมใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ PWR ถึง 12 โรง (30.8%) แต่ได้หันมาใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบอื่นเพิ่มขึ้นโดย 10 โรง (25.6%) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ CANDU และ 2 โรง (5.1%) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ BWR นอกนั้นที่เหลืออีก 15 โรง (38.5%) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบอื่นๆ
ส่วนในปัจจุบัน ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด 438 โรงและกำลังก่อสร้างอยู่ 31 โรง (มกราคม 2544) ประเทศที่มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากที่สุด ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส โดย 75% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด ตามด้วยประเทศลิธัวเนีย เบลเยี่ยม บัลแกเรีย และสาธารณรัฐสโลวเกีย ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ร้อยละ 73.1, 57.7, 47.1 และ 47 ตามลำดับ
สำหรับประเทศในทวีปเอเซียซึ่งมีการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (53 โรง กำลังก่อสร้าง 4 โรง) เกาหลีใต้ (16 โรง กำลังก่อสร้าง 4 โรง) อินเดีย (14 โรง) ไต้หวัน (6 โรง กำลังก่อสร้าง 2 โรง) จีน (3 โรง กำลังก่อสร้าง 7 โรง) ปากีสถาน (2 โรง) และอิหร่าน (กำลังก่อสร้าง 2 โรง)
นอกจากนี้ประเทศอินโดนีเซียได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาประเทศญี่ปุ่นให้ทำการ ศึกษาความเหมาะสมของสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยคาดว่าจะมีการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 600 เมกะวัตต์ได้หลังปี พ.ศ.2546 ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 650 เมกะวัตต์แล้วเสร็จแต่ได้ยกเลิกการใช้งานเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ซึ่งในปัจจุบันมีแผนการที่จะนำโรงไฟฟ้าดังกล่าวกลับมาใช้ใหม่โดยการให้ สัมปทานแก่ผู้ก่อสร้างดำเนินการผลิตไฟฟ้าเป็นเวลา 30 ปี
ตารางที่1 สถิติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เดินเครื่องรวมทั้งสิ้น 438 ,อยู่ในระหว่างก่อสร้าง 11 โรง มีกำลังการผลิตผลิตไฟฟ้า 351,327 เมกะวัตต์
ประเทศ | เดินเครื่อง | ก่อสร้าง | ประเทศ | เดินเครื่อง | ก่อสร้าง |
แคนาดา | 14 | - | ลิทัวเนีย | 2 | - |
จีน | 3 | 7 | สโลวาเกีย | 6 | 2 |
ญี่ปุ่น | 53 | 4 | สโลวาเนีย | 1 | - |
ไต้หวัน | 6 | 2 | สเปน | 9 | - |
เนเธอร์แลนด์ | 1 | - | สหรัฐอเมริกา | 104 | - |
บราซิล | 2 | - | สาธารณรัฐเกาหลีเหนือ | 16 | 4 |
บัลแกเรีย | 6 | - | สาธารณรัฐเชค | 5 | 1 |
เบลเยี่ยม | 7 | - | สวีเดน | 11 | - |
ปากีสถาน | 2 | - | สวิสเซอร์แลนด์ | 5 | - |
ฝรั่งเศส | 59 | - | อาร์เจนตินา | 2 | 1 |
ีฟินแลนด ์ | 4 | - | อินเดีย | 14 | - |
เม็กซิโก | 2 | - | อาร์เมเนีย | 1 | - |
ยูเครน | 13 | 4 | อิหร่าน | - | 2 |
เยอรมนี | 19 | - | อังกฤษ | 35 | - |
รัสเซีย | 29 | 3 | แอฟริกาใต้ | 2 | - |
โรมาเนีย | 1 | 1 | ฮังการี | 4 | - |
หมายเหตุ ข้อมูลจาก IAEA BULLETIN vol.43 No.3, 2001 Vienna, Austria pp.49, ศูนย์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Knowledge Center)