ภาษาไทยน่ารู้ : ภาษาพูด ภาษาเขียน คืออะไร ความหมายพร้อมตัวอย่าง ภาษาพูด ภาษาเขียน


8,541 ผู้ชม

ภาษาพูด ภาษาเขียน


ภาษาพูด ภาษาเขียน

    ภาษาพูด  คือ ภาษาเฉพาะกลุ่ม  หรือเรียกว่า ภาษษปาก เช่น พวกภาษากลุ่มวัยรุ่น บางครั้งฟังแล้วดูไม่สุภาพ มักใช้พูดระหว่างคนที่สนิทสนมกันมากๆ

    ภาษาเขียน คือ  ภาษาเขียนที่ลักษณะเคร่งครัด ในหลักทางภาษา เรียกว่า ภาษาแบบแผน ระดับไม่เคร่งครัดมากนัก เรียกว่า ภาษากึ่งแบบแผน หรือ ภาษาไม่เป็นทางการ

                   ตัวอย่างเปรียบเทียบภาษาพูดและภาษาเขียน

    ๑.ภาษาพูดเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะวัย เช่น

           วัยโจ๋  = วัยรุ่น

          เจ๋ง     = เยี่ยมมาก

         แห้ว     = ผิดหวัง

         เดี้ยง    = พลาดและเจ็บตัว

        มั่วนิ่ม    = ทำไม่จริงจังและปิดบัง

    ๒.ภาษาพูด มักเป็นภาษาไทยแท้ คือ ภาษาชาวบ้าน เข้าใจง่าย  เป็นภาษากึ่งแบบแผน  เช่น

      ผัวเมีย    = สามี ภรรยา

     ดาราหนัง = ดาราภาพยนตร์

    ปอดลอย  = หวาดกลัว

     ๓.ภาษาพูดมักเปลี่ยนแปลงเสียวสระและเสียงพยัญชนะ รวมทั้งนิยมตัดคำให้สั้นลง เช่น

     เริ่ด   = เลิศ

     เพ่     = พี่

    จิงอะป่าว   = จริงหรือเปล่า

      ๔.ภาษาพูด ยืมคำภาษาต่างประเทศ และมักตัดคำให้สั้นลง เช่น

        เว่อร์ (Over) = เกินควร เกินกำหนด

       จอย (Enjoy) = สนุก เพลิดเพลิน

       ก๊อบ(Coppy) = สำเนา ต้นฉบับ  

    เป็นไงบ้างค่ะ    รู้สึกเข้าใจหรือยังเอ่ย??  (น่าจะเข้าใจมั้ง??) 5555   

ที่มา www.trueplookpanya.com

อัพเดทล่าสุด