ภาษาไทยน่ารู้ : ไตรยางค์ อักษรสามหมู่ คืออะไร คำอธิบาย ความหมาย และตัวอย่าง


3,990 ผู้ชม

ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท


ไตรยางค์ อักษรสามหมู่

ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
    * อักษร สูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
    * อักษร กลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
    * อักษร ต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์นั้น มีหลักฐานปรากฏครั้งแรกในหนังสือจินดามณี เมื่อครั้งกรุง ศรีอยุธยา เข้าใจว่าเป็นผลงานของพระ โหราธิบดีได้แต่งถวายสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในเรื่องนี้
อักษรสูง
                ของ (ข) ของ (ฃ) ฉัน (ฉ) ถูก (ฐ ถ) เผา (ผ) ฝัง (ฝ) เสีย (ศ ษ ส) หาย (ห)
หรือ
                ผี (ผ) ฝาก (ฝ) ถุง (ถ ฐ) ข้าว (ข ฃ) สาร (ศ ษ ส) ให้ (ห) ฉัน (ฉ)
อักษรกลาง
                ไก่ (ก) จิก (จ) เด็กตาย (ฎ ฏ) เด็กตาย (ด ต) บน (บ) ปาก (ป) โอ่ง (อ)
ที่เหลือเป็นอักษรต่ำ

ที่มา www.trueplookpanya.com

อัพเดทล่าสุด