โคลงสี่สุภาพเป็นบทร้อยกรองที่มีความไพเราะมาก ผู้แต่งจำเป็นจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของฉันทลักษณ์
หลักการแต่งโคลงสี่สุภาพ
โคลงสี่สุภาพเป็นบทร้อยกรองที่มีความไพเราะมาก ผู้แต่งจำเป็นจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของฉันทลักษณ์ การเลือกใช้คำ การสรรคำที่ทำให้เกิดภาพและมีความหมายชัดเจน นอกจากนี้ยังต้องแสดงความคิด ความรู้สึกต่อเรื่องราวที่นำมาแต่งโคลงสี่สุภาพด้วย โดยจัดลำดับความคิดให้เป็นลำดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ดังนี้
1. การใช้คำในการเขียน ควรเป็นคำที่อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่ควรเขียนโดยใช้คำต่างระดับเกินไป เพราะจะทำให้โคลงที่แต่งนั้นขาดความอลังการทางภาษา เช่น หากกใช้คำว่า ทาน รับประทาน ไปแล้ว ก็ไม่ควรเขียนคำว่า กิน ให้ปรากฏในโคลงบทนั้น ๆ ผู้อ่านจะเสียอรรถรสในการอ่านได้
2. หากมีการเปรียบเทียบที่มีอุปมาโวหาร การเปรียบเทียบนั้นต้องมีให้ครบทั้งอุปมา ลักษณะ อาการ ประเภท และอุปไมย
3. หลักสำคัญในการแสดงเหตุผลหรือความเชื่อมโยง ต้องมีความถูกต้องในข้อมูล หรือทำให้เห็นภาพที่ชัดเจน เช่น เราอาจบอกว่า ใจกว้างดั่งมหาสมุทร ผิวขาวราวกับแตงร่มใบ หากในบาทที่ 1 บอกสภาพความเป็นไป บาทที่ 2 ก็ต้องบอกสาเหตุที่มาของสภาพนั้นให้ผู้อ่านทราบ บาทที่ 3 มีการเปรียบเทียบ บาทที่ 4 ต้องสรุปให้จบเรื่อง
บาทที่ 1 สวรรค์ชั้นพรหมโลก 16 ชั้นนั้นสุงมากกว่าฟ้าทั้งหลาย
บาทที่ 2 แม้แต่พญาครุฑจะกางปีกขึ้นไปก็ไม่อาจบินข้ามพ้นไปได้
บาทที่ 3 มีสิ่งหนึ่งที่สูงกว่าสวรรค์ขั้นพรหมโลก ซึ่งมองเห็นได้ เพราะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ มีอานุภาพมาก
บาทที่ 4 คือพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเปี่ยมด้วยพระบุญญาที่เลิศล้ำ ปกครองประเทศชาติ (ในที่นี้หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช)
จะเห็นว่า การแสดงความสมเหตุสมผลนั้นราบรื่น เพราะมีการชี้ชัดให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพได้ตรงตามที่ต้องการสื่อความหมาย ไม่วกวน ไม่สับสน โดยเฉพาะการสรุปความ หรือการเฉลยในบาทที่ 4 นั้น ผู้อ่านจะรู้ได้ทันทีว่ากำลังกล่าวถึงผู้ใดอยู่
4. การเล่นสัมผัสข้ามวรรค ถือเป็นพรสวรรค์ในการสรรคำของกวี เพราะการที่จะเขียนโคลงให้ไพเราะนั้น นอกจากต้องแม่นยำตำแหน่ง เอก โท แล้ว คลังคำที่จะเลือกมาต่อความในบาทเดียวกันก็ช่วยให้เกิดความเสนาะในเสียงอ่าน ได้
การแต่งโคลงสี่สุภาพจะต้องอาศัยการสร้างแนวคิดเพื่อลำดับเนื้อหา แล้วสรรคำที่มาใช้ให้เหมาะสมและมีระดับเดียวกันจึงจะทำให้โคลงสี่สุภาพมี ความงามทั้งรสคำและรสความ ดังนั้นจึงควรหมั่นฝึกซ้อมการแต่งโคลงสี่สุภาพเป็นประจำเพื่อให้เกิดความ ชำนาญและสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์ เกื้อกมล พฤกษประมูล และโสภิต พิทักษ์. ภาษาไทย หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.