การสนทนาแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การสนทนา
การสนทนา
การสนทนาแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้ดังนี้
1. การสนทนาระหว่างบุคคลที่รู้จักคุ้ยเคย ควรคำนึงถึงเรื่องที่สนทนาและคุณสมบัติของผู้ร่วมสนทนา
1.1 หลักการเลือกเรื่องการสนทนา ควรเลือกดังนี้
1. เรื่องที่ตนเองและคู่สนทนาสนใจร่วมกัน
2. เรื่องที่เหมาะแก่กาลเทศะและเหตุการณ์
3. เรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เรื่องที่เป็นข่าว เรื่องที่เกี่ยวกับกีฬา
4. ไม่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น ไม่นินทาว่าร้าย ไม่ทำให้คู่สนทนารู้สึกเครียด
5. ไม่โอ้อวด ไม่ปรับทุกข์เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ร่วมสนทนา
1.2 คุณสมบัติของผู้ร่วมสนทนา
1. มีความรู้รอบตัวพอสมควร
2. ใช้ถ้อยคำสุภาพ สำนวนภาษาต่าง ๆ เป็นกันเอง ไม่โอ้อวด ไม่ทับถมผู้อื่น
3. รู้จักฟัง และรู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้ร่วมสนทนา
4. พูดให้ตรงประเด็น มีมารยาทและอารมณ์ขัน
2. การสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก ควรปฏิบัติดังนี้
1. หัวข้อที่นำมาสนทนา ควรเน้นเรื่องทั่ว ๆ ไปที่ไม่มีประเด็นของการขัดแย้ง
2. สำรวมกิริยามารยาท ใช้ถ้อยคำสุภาพ
3. สังเกตคู่สนทนาเพื่อปรับเปลี่ยนการพูดให้เหมาะสม
2.1 การเล่าเรื่องราวที่ได้อ่านหรือฟังมา ควรปฏิบัติดังนี้
1. เล่าเฉพาะเนื้อหา และประเด็นสำคัญ
2. ใช้ภาษาง่าย ๆ ประโยคสั้น ๆ ได้ใจความ ลำดับเรื่องถูกต้อง
3. น้ำเสียงชัดเจน น่าฟัง มีการเน้นเสียง และเปลี่ยนระดับเสียง
4. แสดงกิริยาท่าทางประกอบ
5. สรุปข้อคิดตอนท้ายเรื่อง หรือให้ผู้ฟังได้คิดเอง
2.2 การเล่าเหตุการณ์ที่ได้ประสบมา มีวิธีการเล่าดังนี้
1. บอกเหตุผลในการเล่าเหตุการณ์นั้น ๆ
2. บอกวัน เวลา สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์นั้น
3. พูดถึงบุคคลที่สำคัญในเหตุการณ์นั้น ๆ
4. เล่าเหตุการณ์ตามลำดับ
5. ใช้ภาษาง่าย ๆ สื่อความหมายชัดเจน
6. น้ำเสียงแจ่มใส ชัดเจน ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่เล่า
7. แสดงสีหน้ากิริยา ท่าทาง ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่เล่า
8. แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมตามสมควร
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์ เกื้อกมล พฤกษประมูล และโสภิต พิทักษ์. ภาษาไทย หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.