การรับสารด้วยการอ่าน หมายถึง เป็นการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ความคิดและประสบการณ์ของผู้อื่นจากการอ่านมากลั่นกรองเป็นมวลประสบการณ์ของ ตน
การรับสารด้วยการอ่าน
การรับสารด้วยการอ่าน
การรับสารด้วยการอ่าน หมายถึง เป็นการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ความคิดและประสบการณ์ของผู้อื่นจากการอ่านมากลั่นกรองเป็นมวลประสบการณ์ของ ตน หากแบ่งตามวิธีคิดหรือพฤติกรรมการคิดของผู้อ่านจะได้ดังนี้
1. การอ่านเก็บความรู้ การอ่านต้องแยกแยะใจความหลัก และใจความประกอบ เพื่อให้สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ โดยเมื่ออ่านไประยะหนึ่งการรับความรู้นั้นอาจจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ได้ จึงต้องมีการเรียงลำดับข้อมูล
และสรุปบันทึกความรู้ไว้อย่างเป็นระบบ การอ่านเก็บความรู้นั้นผู้อ่านอาจเลือกเก็บเฉพาะข้อความรู้ที่ตนต้องการ เพื่อใช้ประโยชน์บางอย่างก็ได้
2. การอ่านเอาเรื่อง อ่านเพื่อให้ทราบว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ในระหว่างอ่านต้องคิดติดตามเรื่องราวให้ได้ต่อเนื่องกันไป จึงจะสามารถอ่านได้รู้เรื่องโดยตลอด การอ่านเอาเรื่องจะได้ผลสมบูรณ์ ผู้อ่านจะต้องเข้าใจ รู้เรื่อง
และควรจำเรื่องให้ได้ด้วย ซึ่งต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัว และความพยายาม หากอ่านด้วยความตั้งใจ มีสมาธิ ไม่อ่านโดยเร่งรีบ ก็มักจะรู้เรื่องและเข้าใจเรื่องได้ดี
3. การอ่านวิเคราะห์ เป็นการอ่านเพื่อแยกแยะเรื่องออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อทำความเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะการคิด คำว่า วิเคราะห์ หมายถึง แยกแยะออกเป็นส่วน ๆ เพื่อทำความเข้าใจ
และแลเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ การอ่านวิเคราะห์ต้องใช้ความคิดในการอ่านเอาเรื่องเป็นสำคัญก่อน ต้องรู้จักแยกแยะประโยค แล้วพิจารณาว่าส่วนต่าง ๆ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร โดยต้องพยายามตั้งคำถามให้ได้ว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร ใคร
ทำอะไร ที่ไหน จะต้องใช้ความคิดพิจารณาจนเกิดทักษะความชำนาญจะทำให้ดียิ่งขึ้น
4. การอ่านตีความ เป็นการอ่านที่ต้องใช้ความคิดพิจารณาสาระสำคัญของเรื่องว่าผู้เขียนมีเจตนา ใด เช่น แนะนำ สั่งสอน เสียดสี ประชดประชัน หรือต้องการบอกอะไรแก่ผู้อ่าน โดยหลังจากการอ่านวิเคราะห์แล้ว ผู้อ่านจะต้องพิจารณาอีก
ครั้งหนึ่งว่า สารที่สำคัญที่สุดซึ่งผู้เขียนตั้งใจจะบอกแก่ผู้อ่านคืออะไร สารนั้นอาจเป็นความตั้งใจ หรือเจตนาแนะนำสั่งสอน เตือนสติ โดยอาจใช้กลวิธีต่าง ๆ กันไป เช่น อาจใช้ถ้อยคำที่ขบขัน หรืออาจบอกไปตรง ๆ ในการอ่านชนิดนี้ นอกจากจะตีความทั้งเรื่องแล้ว ในแต่ละช่วงก็ต้องตีความหมาย โดยเฉพาะเมื่อผู้เขียนแฝงจุดสำคัญที่จะต้องตีความล
4.1 ระดับความเข้าใจของการอ่านตีความ โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ระดับ คือ
1. การแปลความ (Translation) หมายถึง การแปลเรื่องราวเดิมให้ออกมาเป็นคำใหม่ หรือแบบใหม่ แต่ยังคงรักษาเนื้อหาและความสำคัญของเรื่องราวเดิมไว้ครบถ้วน
2. การตีความ (Interpretation) หมายถึง การเอาความหมายเดิมมาบันทึกใหม่ เรียบเรียงใหม่หรือมองเรื่องราวเดิมในแง่ใหม่ ค้นหาและเปรียบเทียบทั้งความสำคัญและความสัมพันธ์ของส่วนย่อยจนเป็นข้อสรุป ได้
3. การขยายความ (Extrapolation) เป็นการขยายความคิดโดยใช้จินตนาการให้กว้างขวางลึกซึ้งจากข้อเท็จจริงที่มี อยู่ จนสามารถคาดคะเน พยากรณ์ หรือประเมินเป็นข้อสรุปได้
4.2 ความหมายที่ควรพิจารณาในการอ่าน ไอ.เอ. ริชาร์ด (I.A. richards) (อ้างถึงในสมพร มันตะสูตร แห่งพิพัฒน์) กล่าวถึงความหมายที่ควรพิจารณาในการอ่านดังนี้
1. ความหมายด้านเนื้อหาสาระโดยทั่วไป (Sense) คือ ความหมายที่อยู่ในเนื้อความของงานเขียนนั้น ๆ เป็นสิ่งที่ผู้อ่านรับรู้เมื่ออ่านจบแล้ว
2. ความหมายด้านอารมณ์ (Feeling) คือ การพิจารณาว่าผู้อ่านมีอารมณ์อย่างไร เมื่ออ่านงานเขียนนั้นจบลง
3. ความหมายด้านน้ำเสียง (Tone) ของวรรณกรรม งานเขียนบางบทอาจแสดงออกตรง ๆ หรืออย่างแยบยลให้รู้ว่าผู้เขียนชอบหรือไม่ชอบอะไร อย่างไร
4. ความหมายโดยเจตจำนง (Intention) เป็นความหมายตามความตั้งใจของผู้เขียน
การอ่านที่ต้องอาศัยการตีความของสำนวนหรือเรื่องราว เป็นระดับการอ่านที่ต้องประกอบด้วยกระบวนการแปลความ ตีความ และขยายความจากเรื่อง เช่น การอ่านเรื่องจดหมาย จากวางหร่ำ ซึ่งเป็นภาษาเก่า และใช้สำนวนภาษาที่ต้องตีความ
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์ เกื้อกมล พฤกษประมูล และโสภิต พิทักษ์. ภาษาไทย หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.