ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษา
ประเภทของภาษา
ประเภทของภาษา
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วัจนภาษา (ภาษาถ้อยคำ) และอวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ)
1. วัจนภาษา คือ ภาษาพูด ภาษาเขียน เป็นภาษาที่มีระบบระเบียบวิธีในการใช้สำนวนภาษาที่สื่อสารในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีดังนี้
1.1 สำนวนภาษาสามัญ เป็นภาษาที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
1.2 สำนวนภาษาการประพันธ์ มุ่งให้เกิดภาพพจน์ เกิดความสะเทือนอารมณ์ ใช้ในบทประพันธ์ร้อยแก้ว และร้อยกรอง ซึ่งบางคำ บางสำนวน ก็มีใช้ปะปนกับภาษาสามัญหรือภาษาสื่อมวลชนได้
1.3 สำนวนภาษาสื่อมวลชน เป็นสำนวนที่เราได้พบ ได้ยินตามข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์เป็นแบบฉบับเฉพาะ เช่น ใช้คำว่า เปิดเผย แทนคำว่า แถลงหรือชี้แจง
1.4 สำนวนภาษาใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ออนไลน์ แชท เว็บไซต์ โพสต์
2. อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้สื่อความหมายโดยการใช้สีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย อาการเคลื่อนไหวมือ แขน นัยน์ตา น้ำเสียง ให้รู้ความหมายและอารมณ์ของผู้สื่
การสื่อสารด้วยอวัจนภาษาเป็นการสื่อสารที่มีขอบเขตกว้างมาก อยู่นอกเหนือจากภาษาถ้อยคำ การตีความ แปลความ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเข้าใจของผู้รับสาร อวัจนภาษามีประโยชน์มากมายทั้งในด้านการติดต่อสื่อสาร การศึกษา
การงาน เช่น ทำให้รู้ถึงอาชีพ ลักษณะนิสัย ความรู้สึกนึกคิด ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สิ่งเหล่านี้ช่วยทำให้เข้าใจความหมายของการสื่อสารได้ดี
อวัจนภาษาแบบออกได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้
เทศภาษา สื่อผ่านสถานที่และระยะของการสื่อสารของบุคคล
เช่น บุคคลนั่งสนทนากัน ฝ่ายหนึ่งนั่งบนเก้าอี้
อีกฝ่ายหนึ่งพับเพียงกับพื้น
กาลภาษา ใช้เวลาเป็นการสื่อสาร เช่น ตรงเวลานัดหมาย
(มาเรียนตรงเวลาแสดงให้เห็นความมีวินัย)
เนตรภาษา แววตาและสายตาที่ส่งสารไปยังผู้รับสาร
เช่น สวมกอดเพื่อให้การต้อนรับผู้มาเยือน
อาการภาษา ภาษาที่สื่อสารผ่านการเคลื่อนไหว
เช่น ส่ายหน้า ปรบมือ ยักคิ้ว ภาษามือ
วัตถุภาษา ใช้วัตถุสื่อความหมาย เช่น การแต่งกายของคน
(สามารถสื่อให้เห็นถึงภารกิจ รสนิยม อุปนิสัย)
ปริภาษา การใช้น้ำเสียงประกอบถ้อยคำ
เช่น เสียงดังกระโชกโฮกฮาก ยืดเสียงยาวให้นุ่มนวล
อวัจนภาษาเป็นภาษาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมายซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง การตีความอวัจนภาษาขึ้นอยู่กับความเข้าใจ ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของผู้รับสาร
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์ เกื้อกมล พฤกษประมูล และโสภิต พิทักษ์. ภาษาไทย หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.