คำที่มีความหมายคล้ายกันหรือมีความหมายใกล้เคียงกัน มีใช้อยู่เป็นจำนวนมากในภาษาไทยซึ่งคำเหล่านี้มีรูปคำที่แตกต่างกัน
การใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน
การใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน
คำที่มีความหมายคล้ายกันหรือมีความหมายใกล้เคียงกัน มีใช้อยู่เป็นจำนวนมากในภาษาไทยซึ่งคำเหล่านี้มีรูปคำที่แตกต่างกัน หรือมีการเขียนที่ใกล้เคียงกัน โดยอยู่ในรูปของคำมูล คำซ้อนและคำประสม หรือศัพท์ที่มาจากการสร้างคำ
การใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ผู้ใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรอบรู้เรื่องความหมายของคำ หากนำมาใช้ผิดความหมายของคำก็จะคลาดเคลื่อนไปจากจุดประสงค์ที่ต้องการสื่อ สาร เช่น
คำมูล
ผลัก ใช้มือดันให้พ้นตัวหรือให้เคลื่อนที่ไปทันที
เข็น ดันสิ่งที่ติดขัดให้เคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างปกติ
ดัน ผลักเพื่อให้เคลื่อนไปด้วยกำลัง
ไส เสือกไป ผลักไป ส่งไป รุกไป
คำซ้อน
กุลีกุจอ ช่วยจัดช่วยทำอย่างเอาจริงเอาจัง
กระวีกระวาด รีบเร่งอย่างไม่นอนใจ
ตะลีตะลาน รีบร้อนอย่างลุกลน หรือรีบจนลนลาน
คำประสม
ใจร้อน ตัดสินใจกระทำโดยรีบเร่ง กระวนกระวายเพื่อต้องการให้สิ้นสุดโดยเร็ว
ใจเร็ว การตัดสินใจที่รวดเร็ว ไม่รอบคอบ แต่ไม่กระวนกระวาย
คำที่เกิดจากการสร้างคำ
อนุญาต ยินยอม ยอมให้ ใช้ในกรณีที่มีกฎข้อบังคับอย่างชัดเจน
อนุมัติ เห็นชอบ โดยให้อำนาจกระทำตามระเบียบที่กำหนด
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์ เกื้อกมล พฤกษประมูล และโสภิต พิทักษ์. ภาษาไทย หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.