ภาษาไทยน่ารู้ : ข้อสังเกตคำพ้องเสียง คืออะไร คำอธิบายพร้อมความหมายและตัวอย่าง


4,922 ผู้ชม

คำที่เขียนต่างกัน  มีความหมายต่างกัน  แต่อ่านออกเสียงเหมือนกัน  คำในภาษาไทยมีพ้องเสียงเป็นจำนวนมาก  จึงจำเป็นจะต้องศึกษาเพื่อจะนำไปใช้ให้ถูกต้อง


ข้อสังเกตคำพ้องเสียง

ข้อสังเกตคำพ้องเสียง
          คำพ้องเสียง  หมายถึง  คำที่เขียนต่างกัน  มีความหมายต่างกัน  แต่อ่านออกเสียงเหมือนกัน  คำในภาษาไทยมีพ้องเสียงเป็นจำนวนมาก  จึงจำเป็นจะต้องศึกษาเพื่อจะนำไปใช้ให้ถูกต้อง  โดยมีหลักในการสังเกตคำพ้องเสียง  ดังนี้

          1.  พยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน  อาจใช้รูปพยัญชนะต่างกัน  เช่น  พุธ  ภุช

          2.  พยัญชนะท้ายเสียงเดียวกัน  อาจใช้รูปพยัญชนะต่างกัน  เช่น  ประพาส  ประพาต

          3.  พยัญชนะท้ายอาจมีรูปสระกำกับอยู่ด้วยในบางคำ  แต่บางคำก็ไม่มี  เช่น  เกตุ  เกศ

          4.  พยัญชนะท้ายอาจมีพยัญชนะตามมาโดยไม่ออกเสียงในบางคำ  แต่บางคำก็ไม่มีพยัญชนะตาม  เช่น  พุทธ  พุธ

          5.  ตัวการันต์อาจมีในบางคำ  แต่บางคำก็ไม่มี  เช่น  (ผูก)พัน  (สัม)พันธ์

          6.  ตัวการันต์อาจมีสระอยู่ด้วยหรือไม่มีก็ได้  เช่น  (สัม)พันธ์  (สืบ)พันธุ์

          7.  ตัวการันต์มีได้ต่างกัน  เช่น  สรรค์  สันต์  (ไพร)สัณฑ์

          8.  สระเสียงเดียวกัน  อาจเขียนต่างกัน  เช่น  พรรณ  พัน

          9.  วรรณยุกต์เสียงเดียวกัน  ใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ต่างกัน  เช่น  หน้า - น่า  ข้า - ค่า - ฆ่า


ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

าษาไทยน่ารู้ :

อัพเดทล่าสุด