ภาษาไทยน่ารู้ : การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต คืออะไร วิธีการการเขียนคำที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต หรือ การันต์ ตัวอย่างคำที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต หรือ ตัวการันต์


2,073 ผู้ชม

เครื่องหมายทัณฑฆาต  ใช้เขียนกำกับเหนือตัวอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง  เรียกว่า  ตัวการันต์


การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต

การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต
          เครื่องหมายทัณฑฆาต  ใช้เขียนกำกับเหนือตัวอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง  เรียกว่า  ตัวการันต์  จะใส่กำกับไว้เพื่อรักษารูปศัพท์เดิมหรือฆ่าเสียงอักษร  หลักการใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต  มีดังนี้

          1.  ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตเพื่อรักษารูปศัพท์เดิมไว้  เช่น
                    นัยน์                    นยน
                    เลห์                     เลห
                    เสาร์                    เสาร
                    ยักษ์                    ยกฺษ

          2.  ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตฆ่าเสียงอักษร 1 ตัว  เช่น  พยางค์  สัตว์  นิพนธ์  ประพันธ์  วิวาห์

          3.  ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตฆ่าเสียงอักษร 2 ตัว  เช่น  จันทร์  ลักษณ์

          4.  ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตฆ่าเสียงอักษร 3 ตัว  เช่น  ลักษมณ์

          5.  คำศัพท์ที่รับมาจากภาษาอังกฤษจะมีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่พยัญชนะที่ไม่ใช่ตัว สุดท้าย  ถือเป็นการใช้โดยอนุโลม  เช่น  กอล์ฟ  ชอล์ก  การ์ด

          6.  คำประเภทคำพ้องเสียงที่มีความหมายของคำต่างกัน  มักนิยมใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตเพื่อเป็นข้อสังเกตและให้ใช้คำได้ถูกต้องตรง ความหมาย
                    การ          (เหตุ  ธุระ)  เช่น  กิจการ
                    การณ์       (เหตุ  เค้า  มูล)  เช่น  เหตุการณ์


ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

อัพเดทล่าสุด