ภาษาไทยน่ารู้ : การออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และการลงเสียงหนักเบา ให้ถูกต้อง


4,031 ผู้ชม

การออกเสียงอย่างถูกต้องมีความสำคัญมากในการสื่อสารเพราะจะช่วยให้สื่อความ หมายได้อย่างถูกต้อง  และบรรลุวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร


การออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และการลงเสียงหนักเบา

การออกเสียงพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  และการลงเสียงหนักเบา
          การออกเสียงอย่างถูกต้องมีความสำคัญมากในการสื่อสารเพราะจะช่วยให้สื่อความ หมายได้อย่างถูกต้อง  และบรรลุวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร  การอ่านออกเสียงไม่ถูกต้องเกิดจากปัญหาสำคัญ 2 ประการ  คือ  ไม่มีความรู้เรื่องหลักภาษาและไม่เห็นความสำคัญ  จึงไม่ใส่ใจฝึกฝนให้ถูกต้อง  และบรรลุวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร  การอ่านออกเสียงไม่ถูกต้องเกิดจากปัญหาสำคัญ 2 ประการ  คือ  ไม่มีความรู้เรื่องหลักภาษาและไม่เห็นความสำคัญ  จึงไม่ใส่ใจฝึกฝนให้ถูกต้อง

          1.  การออกเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว  เสียงที่มักมีปัญหาในการออกเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว  ได้แก่  หน่วยเสียง  /จ/  /ช/  /ซ/  /ร/  /ง/
                    จ  เทียบเสียง /c/          เสียงระเบิด (plosive)  เป็นเสียงระเบิดไม่มีลม  (unaspirated plosive)  เช่น  เสียงพยัญชนะต้น  ในคำว่า  จ่า  จูง  จอม  จาน  เจ็ด
                    ช  เทียบเสียง /ch/        เสียงระเบิด (plosive)  เป็นเสียงระเบิดลม  (aspirated plosive)  เช่น  เสียงพยัญชนะต้น  ในคำว่า  ชาย  ฉัน  ฉุน  เฌอ
                    ซ  เทียบเสียง /s/          เสียงเสียดแทรก  (fricative)  เช่น  เสียงพยัญชนะต้น  ในคำว่า  ซม  ซาน  ซื้อ  ศรี  สร้าง  ทรง
                    ร  เทียบเสียง /r/           เสียงรัว  (roll)  หรือเสียงกระทบ  (flapped)  เช่น  เสียงพยัญชนะต้น  ในคำว่า  รื่น  รอ  รั้ง  รีบ  ร้อน
                    ง  เทียบเสียง /n/           เสียงนาสิก (nasal)  เช่น  เสียงพยัญชนะต้น  ในคำว่า  งอก  งาม  หงิก  เหงา  หงาย

          2.  การออกเสียงพยัญชนะต้นซึ่งเป็นพยัญชนะควบกล้ำ  ปัญหาการออกเสียงพยัญชนะต้น  ซึ่งเป็นพยัญชนะควบกล้ำไม่ถูกต้อง  มักเกิดจาก 3 กรณี  ดังนี้
                    1.  ไม่ออกเสียง ร ล ว
                    2.  ออกเสียง ร และ ล สลับกัน
                    3.  ออกเสียง ร และ ล  ผิดที่

          3.  การออกเสียงสระ  ปัญหาการออกเสียงสระ 18 เสียง  ในสระเสียงสั้น  สระเสียงยาว  คือ  การออกเสียงไม่ตรงตามรูปสระที่กำกับอยู่  เช่น
                    รูปสระเสียงสั้นหรือยาว  สามารถออกเสียงให้เป็นเสียงสั้นหรือยาวได้ตามบริบทการใช้คำ  เช่น
                    -  ฉีก   ออกเสียงสั้น  (มักอยู่ระหว่างประโยค)
                              ลองอิกที  เอาอิกแล้ว (รินน้ำ)  อิกหน่อย
                              ออกเสียงยาว  (มักอยู่ท้ายประโยค)
                              เดินต่อไปอีก  ทำแล้วทำอีก
                    -  น้ำ   ออกเสียงสั้น
                              ขอน้ำแข็งหน่อย  น้ำปั่นแก้วละเท่าไร
                              ออกเสียงยาว
                              ประหยัดน้ำ  ก่อนที่จะไม่มีน้ำใช้

          4.  การออกเสียงวรรณยุกต์  เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง  ได้แก่
                    เสียงวรรณยุกต์สามัญ ( - )  เป็นวรรณยุกต์ระดับกลาง
                    เสียงวรรณยุกต์เอก (  ่ )  เป็นวรรณยุกต์ระดับต่ำ
                    เสียงวรรณยุกต์โท  (  ้ )  เป็นวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับจากสูงลงมาต่ำ
                    เสียงวรรณยุกต์ตรี  (  ๊ )  เป็นวรรณยุกต์ระดับสูง
                    เสียงวรรณยุกต์จัตวา (  ๋ )  เป็นวรรณยุกต์ระดับจากต่ำขึ้นไปสูง
                    แบ่งเสียงวรรณยุกต์ออกเป็น 2 ลักษณะ  ดังนี้
                    4.1  วรรณยุกต์ระดับ  หมายถึง  เสียงวรรณยุกต์สูงหรือต่ำคงที่ตลอดพยางค์  เช่น  เสียงวรรณยุกต์สามัญ  เอก  ตรี  ในภาษาไทย  กา  ก่า  ก๊า
                    4.2  วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ  หมายถึง  เสียงวรรณยุกต์  เปลี่ยนจากสูงไปต่ำ  หรือจากต่ำไปสูงในพยางค์เดียวกัน  เช่น
                              เสียงวรรณยุกต์  โท  เป็นวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับจากสูงลงมาต่ำ  เช่น  ก้า
                              เสียงวรรณยุกต์  จัตวา  เป็นวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับจากต่ำขึ้นไปสูง  เช่น  ก๋า

          5.  การลงเสียงหนักเบา  คำในภาษาไทยมีทั้งพยางค์เดียว  และคำหลายพยางค์  ดังนั้นในการออกเสียงคำจึงมีเสียงที่หนักเบาตามลักษณะของพยางค์  ตามความหมายของคำที่สัมพันธ์กัน  ลักษณะการลงเสียงหนักเบาในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ  ดังนี้
                    5.1  พยางค์หนัก  เป็นพยางค์ที่ออกเสียงได้ตามลำพัง  เป็นพยางค์ที่สมบูรณ์  เช่น  ดู  ดี  แรือ  แต่  เสื่อ  อย่า  พี่  ป้า  เบี้ย  เชื่อ  โถ  เสียง  หัว  ปลา  เกลือ  ขวา  กว้าง  โขลง  กราบ  เกลียด
                    5.2  พยางค์เบา  เป็นพยางค์ที่ออกเสียงไม่ลงน้ำหนัก  และไม่ออกเสียงตามลำพัง  ต้องมีพยางค์หนักมารับข้างหลังเสมอ  เช่น
                              คำสองพยางค์          (พยางค์แรกเป็นพยางค์เบา)          กะทิ  กระทะ  ขจร  ทนาย  จริต  ประพฤติ
                              คำสามพยางค์          (พยางค์แรกเป็นพยางค์เบา)          อนุญาต  สวัสดี  สโมสร  ประชากร  มติชน
                    5.3  พยางค์ลดน้ำหนัก  ในกรณีที่มีพยางค์หนักมาต่อท้าย  พยางค์หนักนั้นอาจกลายเป็นพยางค์ลดน้ำหนักได้  คือ  พยางค์ที่ออกเสียงเบา  และเสียงที่ประกอบกันเป็นพยางค์นั้นอาจแปรเปลี่ยนไป  เช่น
                              ฉันชอบรองเท้าคู่นี้มากกว่าคู่นั้น
                              (ชั้นขอบร็องเท้าคู่นี้มากกว่ะคู่นั้น)
                              บางทีฉันก็อ่านหนังสือ  บางทีฉันก็เขียนหนังสือ
                              (บังทีชั้นก็อ่านนังสือบังทีชั้นก็เขียนนังสือ)
                              เธอทำอย่างนี้ได้อย่างไร
                              (เธอทำยังงี้ได้ยังไง)
                    5.4  พยางค์เน้นหนัก  เป็นการพูดจงใจเน้นเพื่อต้องการโต้แย้งต้องการแสดงข้อเปรียบเทียบหรือต้องการให้เกิดความสนใจเป็นพิเศษ  เช่น
                              ฉันขอดินสอแดง  ไม่ใช่ดินสอดำ
                              แม่บอกให้ลูกทำเดี๋ยวนี้
                              คิดเสียว่า  กินเพื่ออยู่ก็แล้วกัน
                              กำลังยุ้งยุ่ง  แต่ก็ดีใจ๊ดีใจที่เธอโทรมา


ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

อัพเดทล่าสุด