การ แกแจะนายู นั้น เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง สำหรับคนมลายู ที่อาศัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาษามลายู ที่ใช้กันในจังหวัดชายแดนภาคใต้
“แกแจะนายู” กับภาษามลายูปัตตานี
การ “แกแจะนายู” นั้น เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง สำหรับคนมลายู ที่อาศัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาษามลายู ที่ใช้กันในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความแตกต่าง กับภาษาที่ใช้กันอย่างเป็นทางการในประเทศมาเลย์เซีย
ภาษามลายู หรือ ภาษามาเลย์(มาเลย์: Bahasa Melayu) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออก
ในการใช้ภาษาโดยทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน
ภาษามลายูปัตตานี หรือ มลายูปาตานี หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี(เรียกในภาษาอังกฤษ ว่า ‘Pattani Malay’ หรือ ‘Patani Malay’) เป็น ภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน ที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และในบางอำเภอของสงขลา (ไม่รวมสตูล) ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษาถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งพูดภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย
สำหรับ ภาษามลายูปัตตานี หรือ มลายูปาตานี ยังไม่มีการรวมคำศัพท์อย่างเป็นทางการไว้ ณ ที่ใด ดังนั้น สำหรับผู้สนใจในการแกแจะนายู คงต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือศึกษาจากทางอื่นๆ ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้จะขอรวบรวมมาให้เพียงเล็กน้อย และจะเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป
เริ่มต้นด้วยคำศัพท์
คำศัพท์
นอกจากคำศัพท์พื้นฐานของภาษามลายูแล้ว ภาษามลายูปัตตานีมีคำยืมจากภาษาอื่นหลายภาษา ได้แก่
ภาษาสันสกฤต เข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธ เช่น ภาษา เป็น บาฮาซา หฤทยะ เป็น ฮาตี
ภาษาอาหรับ เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลาม เช่น ตะมัร (อินทผาลัม) เป็น ตามา, อาลัม(โลก)เป็น อาแล
ภาษาเขมร เช่น กำปง (หมู่บ้าน) เป็น กาปง
ภาษาจีน เช่น กุยช่าย เป็น กูจา
ภาษาชวา เช่น มาลัม (กลางคืน) เป็น มาแล
ภาษาเปอร์เซีย เช่น มะตับ (แสงจันทร์)เป็น มะตับ, ฆันดุม (แป้ง) เป็น ฆานง
ภาษาฮินดี เช่น โรตี
ภาษาทมิฬ เช่น มานิกัม (เพชร) เป็น มานิแก
ภาษาอังกฤษ เช่น ฟรี เป็น ปือรี, มอเตอร์ไซค์ เป็น มูตูซีกา
ความแตกต่างระหว่างภาษามลายูปัตตานีกับภาษามาเลย์
ความแตกต่างระหว่างภาษามลายูปัตตานีกับภาษามลายูกลางหรือภาษามาเลย์มีดังนี�การใช้คำ
บางคำทั้งสองภาษาใช้คำต่างกัน เช่น ฉัน ภาษามาเลย์ใช้ ซายา ภาษามลายูปัตตานีใช้ อามอหรือซายอ มันเทศ ภาษามาเลย์ใช้ อูบี กิลิเดะ ภาษามลายูปัตตานีใช้ อูปีกือแตลอ นอกจากนี้ ยังมีการใช้คำภาษาไทยปนเข้ามาในบางส่วน
การออกเสียง
ออกเสียงสระต่างกันได้แก่
เสียงอะ + พยัญชนะนาสิกในภาษามาเลย์เป็นแอในภาษามลายูปัตตานี เช่น อายัม (ไก่) เป็น อาแย มากัน (กิน) เป็น มาแก
เสียงอะ + หในภาษามาเลย์เป็นเอาะในภาษามลายูปัตตานี รูมะหฺ (บ้าน) เป็น รูเมาะหฺ
เสียงอะในภาษามาเลย์เป็นเอาะในภาษามลายูปัตตานี บาวะ (พา) เป็น บอเวาะ มินตะ (ขอ) เป็น ม๊เตาะ
เสียงอาท้ายคำในภาษามาเลย์เป็นออในภาษามลายูปัตตานี นามา (ชื่อ) เป็น นามอ ซีลา (เชิญ) เป็น ซีลอ
เสียงอีท้ายคำที่ประสมกับพยัญชนะนาสิกในภาษามาเลย์เป็นเสียงอิงในภาษามลายูปัตตานี สินี (ที่นั่ง) เป็น สินิง
เสียงไอท้ายคำในภาษามาเลย์เป็นอาหรือแอในภาษามลายูปัตตานี เช่น ซูไง (คลอง) เป็น ซูงา หรือซูแง กือได (ตลาด) เป็น กือดา หรือ กือแด การเพี้ยนเสียงเป็นแอ พบในบางท้องถิ่นเท่านั้น
เสียงเอาท้ายคำในภาษามาเลย์เป็นอาในภาษามลายูปัตตานี เช่น ปีเซา (มีด) เป็นปีซา
เสียงอัวในภาษามาเลย์เป็นออในภาษามลายูปัตตานี เช่น ปัวซอ (บวช) เป็น ปอซอ
เสียงเอียในภาษามาเลย์เป็นเสียงอี + ยในภาษามลายูปัตตานี เช่น เสียม (สยาม) เป็น สีแย
เสียงเอียพยางค์หน้าในภาษามาเลย์เป็นแอในภาษามลายูปัตตานี เช่น เบียซา (เคย) เป็น แบซอ
ออกเสียงตัวสะกดต่างกัน
ตัวสะกดที่เป็นเสียงเสียดแทรก (ส, ฟ) ในภาษามาเลย์เป็นเสียงที่เกิดจากคอหอย (ห) ในภาษามลายูปัตตานี เช่น มาลัส (เกียจคร้าน) เป็น มาละหฺ
ตัวสะกด น, ม ในภาษามาเลย์เป็น ง สะกด ในภาษามลายูปัตตานี เช่น ฮากิม (ตุลาการ) เป็น ฮาเก็ง
ออกเสียงพยัญชนะต้นต่างกันเช่น
ร ในภาษามาเลย์เป็น ฆฮ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น โอรัง (คน) เป็น ออแฆฮ
นอกจากนั้นภาษามลายูปัตตานียังนิยมลดเสียงและคำที่พูดเช่น เออมะ เสาดาราในภาษามาเลย์เป็น เมาะสดารอ ในภาษามลายูปัตตานี
โครงสร้างประโยค
ภาษามลายูปัตตานีนิยมเรียงประโยคแบบภาษาไทยคือใช้รูปประธานกระทำ ส่วนภาษามาเลย์ใช้ประโยคแบบประธานถูกกระทำ เช่น ภาษามาเลย์ใช้ ตูวัน ดีเปอรานะกัน ตีมานา (ท่านถูกเกิดที่ไหน) ภาษามลายูปัตตานีใช้ ตูแว บือราเนาะ ดีมานอ (ท่านเกิดที่ไหน)
ความต่างของไวยากรณ์
ภาษามลายูปัตตานีคัดคำอุปสรรคที่ไม่จำเป็นออก เช่น บรยาลันในภาษามาเลย์เป็น ยยาแล
ภาษามลายูปัตตานีใช้คำง่ายกว่า เช่น มาแก ใช้ได้ทั้ง กินข้าว ดื่มน้ำ สูบบุหรี่ แต่ภาษามาเลย์แยกเป็น มากัน (กิน) มีนุม (ดื่ม) หิสัป (สูบ)
ภาษามาเลย์มีการแยกระดับของคำมากกว่า เช่น ผู้ชายใช้ ลากี-ลากี สัตว์ตัวผู้ใช้ ยันตัน ส่วนภาษามลายูปัตตานีใช้ ยาแต กับทั้งคนและสัตว์ ส่วนลลากี มีใช้น้อย
ภาษามลายูปัตตานีมีการเรียงคำแบบภาษาไทยมากกว่า เช่น ทำนา ใช้ บูวะบือแน
อักษรยาวี เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษามลายูโดยได้ดัดแปลงจากอักษรอาหรับ (อารบิก) นักปราชญ์คนหนึ่งของปัตตานี ชื่อ ชัยคฺ อะฮฺมัด อัล-ฟะฏอนีย์ ได้วางกฎเกณฑ์การใช้อักษรยาวีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูในท้อง ถิ่นนี้ ในอดีต โลกมลายูใช้อักษรญาวีมาช้านาน ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้อักษรรูมี
ปัจจุบันชาวมุสลิมในประเทศไทยที่พูดภาษามลายู นิยมใช้อักษรยาวีบันทึกเรื่องราวในศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะเริ่มเรียนอักษรยาวีสำหรับอ่านเขียนภาษาอาหรับ (ภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน)ตั้งแต่ยังเยาว์ อักษรญาวียังคงใช้กันอยู่บ้างในมาเลเซีย บรูไน และสุมาตรา
คำว่า ยาวี นั้นมาจากคำว่า jawa หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีความสับสนในการเรียกชื่ออักษรยาวี และภาษามลายู ว่า ?ภาษายาวี? แม้กระทั่งในหมู่ผู้พูดภาษามลายู ทว่าความจริงแล้ว ไม่มีภาษายาวี มีแต่อักษรยาวี และภาษามลายู
วันจันทร์ (อิสนิน)
วันอังคาร (เซอลาซา)
วันพุธ (ราบู)
วันพฤหัสบดี (คามิส)
วันศุกร์ (จุมอัต)
วันเสาร์ (สับตู)
วันอาทิตย์ (อาฮัด)
คำศัพท์เกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
Anggota anggota dalam tubuh badan manusia.
คำศัพท์……………….มาเล………………….ปัตตานี…………………….ความหมาย
1. kepala เกอปาลา ปาลอ ศรีษะ,หัว
2. rambut รัมบุต ราโมะ ผม
3. telinga ตือลีงอ ตลีงอ หู
4. mata มาตอ มาตอ ตา
5. hidung ฮีดง ฮีดง จมูก
6. mulut มูลุต มูโละ ปาก
7. dahi ดาฮี ดาฮี หน้าผาก
8. pipi ปีปี ปีปี แก้ม
9. dagu ดาฆู ดาฆู คาง
10. gigi ฆีฆี ฆีฆี ฟัน
11. lidah ลีดอฮ ลีดอฮ ลิ้น
12. tengkok เติงเกาะ ตือเกาะ คอ
13. bahu บาฮู บาฮู ไหล่
14. dada ดาดอ ดาดอ หน้าอก
15. perut เปอรุต ปือโระ หน้าท้อง
16. labu susu ลาบู ซูซู กอแปะ เต้านม
17. pinggang/belikat ปิงฆัง/บือลีกัต ปีแง เอว
18. paha ปาฮอ ปอฮอ,ปาฮอ ต้นขา
19. betis kering บือติส กือริง บือติฮ กือริง หน้าแข้ง
20. kaki กากี กากี เท้า
21. tangan ตางัน ตาแง มือ
22. jari tangan จารี ตางัน จารี ตาแง นิ้วมือ
23. jari kaki จารี กากี จารี กากี นิ้วเท้า
24. ibu jari อีบูจารี อีบูจารี หัวแม่มือ
25. jari telunjut จารี ตือลุนยุต จารี ตือลูโยะ นิ้วชี้
26. jari hantu จารี ฮันตู จารี ฮาตู นิ้วกลาง
27. jari manis จารี มานิส จารี มานิฮ นิ้วนาง
28. jari keliking จารี กือลีกิง จารี กิอลีกิง นิ้วก้อย
29. lengan เลองัน ลือแง ต้นแขน
30. kemaluan กือมาลูวัน กือมาลูแว อวัยวะเพศชาย,หญิง
31. bulu บูลู บูลู ขน
32. kuku กูกู กูกู เล็บ
33. kulit กูลิต กูเละ ผิวหนัง
34. belakang บือลากัง บือลาแก หลัง
อวัยวะภายใน
Anggota anggota sebelah dalam.
1. jantun จันตูน จาตง หัวใจ
2. limpa ลิมปอ ลีปอ ตับ
3. buah pinggang บูวอฮ ปิงฆัง บูวอฮ ปีแง ไต
4. maidah มาอีเดาะฮ มาแอเดาะฮ กระเพาะ
5. otak โอตัก ออเตาะ สมอง
6. orat darah ออรัต ดารอฮ ออระ ดารอฮ เส้นเลือด
ตัวอย่างบทสนทนาเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย
Contoh pebualan berkenaan dengan anggota anggota dalam badan.
1.Dimanakah kamu kerat rambut?
ดี มานอกอฮ กามู กือรัต รัมบุต?
มู เกอระ ราโมะ ดีมานอ?
คุณตัดผมที่ไหน?
Saya kerat di kedai abang Mat.
ซายอ กือรัต ดี กือได อาบัง มัต.
ซายอ กือระ ดี กือดา แบมะ
ฉันไปตัดผมที่ร้านแบมะ
2. Tangan kamu jadi apa?
ตางัน กามู ยาดี อาเปอ?
ตาแง มู ยาดี ปอ?
มือของคุณเป็นอะไร?
Tangan saya luka sedikit.
ตางัน ซายอ ลูกอ ซือดีกิต.
ตาแง ซายอ ลูกอ ซิกิ.
มือฉันเจ็บนิดหน่อย.
3. Bapa kamu sakit apa ?
บาเปอ กามู ซากิต อาเปอ?
บาปอ แดมอ ซาเกะ อาปอ?
Bapa saya menyakit jantun.
บาเปอ ซายอ มือยากิต จันตุน.
บาปอ กาแว ซาเกะ จาตง.
พ่อฉันเป็นโรคหัวใจ
การ นับเลข 1-20
1 = ซาตู
2 = ดูวอ
3 = ตีฆอ
4 = ปะ
5 = ลีมอ
6 = แน
7 = ตู โญะ
8 = ลาแป
9 = ซือมีแล
10 = ซือปูโละ
11 = ซือบือละ
12 = ดูวอบือละ
13 = ตีฆอบือละ
14 = ปะบือละฮ
15 = ลีมอบือละฮ
16 = แนบือละฮ
17 = ตู โญะบือละฮ
18 = ลาแปบือละฮ
19 = ซือมีแลบือละฮ
20 = ดูวอปูโละฮ
ตัวอย่างการสนทนาที่มีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง
1. คุณมากีคน มู มารี เบอราปอ ออแร
ฉันมาแค่ 2 คน กาแว มารี ดูวอ ออแร
2. นายมีเงินอยู่เท่าไร แดมอ อาดอ ดูวิ เบอราปอ โก๊ะ
มีอยู่หนึ่งพันบาท อากู อาดา ซือรีบู โก๊ะ
3. คุณจะเอากี่อัน แดมอ เนาะ บือราปอ ปูตง
ฉันเอาสิห้าอัน อากู เนาะ ลีมอบือละห ปูตง
4. รถคันนี้ราคาเท่าไรครับ บือราปอ เกาะห ฮัรฆอ กือแรตอ นี
ห้าแสนบาท ลีมอราโตะหรีบู โก๊ะ
ตัวอย่างศัพท์สำหรับการสนทนา /การทักทาย
คำกล่าวทักทายและกล่าวลา
ซลามัต…………..สวัสดี
ซลามัต+ปาฆี……………..ใช้ตอนเช้า
ซลามัต+ตือเงาะฮารี……..ใช้ตอนเที่ยง
ซลามัต +ปือแต………….ใช้บ่ายหรือเย็น
ซลามัต+มาแล………..ใช้ตอนกลางคืน
ซลามัต+ยูเปาะ……….พบกัน
ซลามัต+ยาแล………เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ซลามัต+สามอสามอ……..เช่นกัน
หิวข้าว……………..ลาปานาซิ
หิวน้ำ………………ลาปาอาย
มีแฟนหรือยัง…………อาดอบูเดาะลากี
ฉันรักเธอ………………ซายอกาเซะห์แดมอ
เงิน/เบี้ย……………..ดูวิ
ชื่ออารัย?……………..นามออาปอ
น่ารักจัง……………….นาระยอ
กินข้าวหรือยัง………….มาแกนาซิลากี
มาจากไหน?………………มารีมานอ
ซายอ อีงะ แดมอ ซีแย มาแล………..ฉันคิดถึงเธอทั้งวันทั้งคืน
มากันนาซิ ลากี…….กินข้าวหรือยัง
กีตอมากันเดาะห์…….เรากินแล้ว
อาดอ….มี
ตะเด๊าะ……ไม่มี
เนาะกาเจะดืองา…….ขอพุดกับ
งายี มาดะ กะปอ…….เรียนวิชาอะไร
อีบู ดัน บาเปาะ….แม่และพ่อ
กาวัน………เพื่อน
คำศัพท์สำหรับการใช้กับบุคคล
เรียกผุ้หญิง รุ่นป้า หรือรุ่นแม่ = เมาะ หรือ เมาะจิ
เรียกผู้ชายรุ่น ลุง หรือ รุ่นพ่อ = เปาะจิ
เรียกผู้หญิงรุ่นพี่สาว = กะแว หรือ กะ
เรียกน้องสาว = อาแด
เรียกพี่ชาย = อาบัง หรือ อาแบ
ที่มา www.malayutoday.com