นับตั้งแต่ เริ่มกำเนิดโลกมา โลกเราได้ประสบกับวิกฤติการณ์ความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงมากมายในปัจจุบัน โลกก็ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จัดเป็นกระบวนการธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหลของพลังงาน
นับตั้งแต่เริ่มกำเนิดโลกมา โลกเราได้ประสบกับวิกฤติการณ์ความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงมากมายในปัจจุบัน โลกก็ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จัดเป็นกระบวนการธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหลของพลังงาน โดยเกิดขึ้นทั้งใน บรรยากาศบนผิวโลก พื้นโลก พื้นสมุทร รวมถึงในชีวมณฑล (Biosphere) ด้วย มีตั้งแต่ปรากฏการณ์ที่ไม่รุนแรงและเกิดขึ้นเสมอๆ ไปจนถึงเหตุการณ์ที่เป็นภัยพิบัติร้ายแรงและเป็น ที่ทราบกันอยู่แล้วว่าภัยธรรมชาติต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินภัยธรรมชาติส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแต่ มนุษย์ก็มี ส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยภัยธรรมชาติครั้งล่าสุด ที่เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ในเดือนกรกฎาคม 2541ที่ผ่านมานี้คือเกิด คลื่นยักษ์ใต้น้ำถล่มปาปัวนิวกินีและก็ยังเป็นกระแสข่าวที่สั่นสะเทือนถึง ขวัญของชาวไทยภาคใต้ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2541 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงภาวะการท่องเที่ยวในปี Amazing Thailand อีกด้วย
เหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มปาปัวนิวกินี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมา โดยหมู่บ้านกว่า 10 แห่งถูกคลื่นซัดเสียหาย ตั้งแต่คืนวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมา มีประชาชนเสียชีวิตประมาณ 3,000 คน และกว่า 6,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย โดยคลื่นมีความสูงระหว่าง 23 -33 ฟุต เมื่อพุ่งเข้า ปะทะชายฝั่งปาปัวนิวกินี ทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยเกิดจากผลของ แผ่นดินไหวใต้น้ำที่มีค่า 7.0 ตามมาตราวัดริกเตอร์สเกล ทำให้เกิด ความเสียหายตาม พื้นที่ชายฝั่งยาวประมาณ 60 ไมล์ (90 กิโลเมตร)
สึนามิคืออะไร ?
"Tsunami" สึนามิเป็นชื่อคลื่นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยชุดของคลื่นที่มีความยาวคลื่นค่อนข้างมาก และช่วงห่างระยะเวลา ของแต่ละลูกคลื่นยาวนาน เกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลในแนวดิ่งจมตัวลงตรงแนวรอยเลื่อน หรือการที่มวลของน้ำ ถูกกระตุ้นหรือรบกวน โดยการ แทนที่ทางแนวดิ่งของมวลวัตถุ สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวแผ่นดินถล่มการระเบิดและการประทุขอ ภูเขาไฟหรือแม้กระทั่งการกระทบของ อนุภาคขนาดใหญ่เช่น อุกกาบาตสามารถก่อให้เกิดคลื่นสึนามิได้ซึ่ง คลื่นสึนามิสามารถ ทำลายชายฝั่งทะเลเป็นสาเหตุให้เกิดความพินาศเสีย หายต่อทั้งชีวิตและ ทรัพย์สิน
"Tsunami" สึนามิเป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "harbor wave" หรือคลื่นที่เข้าสู่อ่าว ฝั่งหรือท่าเรือ โดยที่คำว่า "Tsu" หมายถึง "harbor" อ่าว,ฝั่งหรือท่าเรือ ส่วนคำว่า 'Nami' หมายถึง "คลื่น"ในอดีตนั้นสึนามิ ถูกใช้ในความหมายถึงน้ำท่วม ใหญ่ริมฝั่ง ทะเลเนื่องมาจากแผ่นดินไหว 'tidal waves' ซึ่งเป็นที่ใช้กันอยู่แพร่หลายทั่วไปเช่นเดียวกับคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว ในทะเล 'seismic seawave' ซึ่งใช้กันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ คำว่า 'tidal wave' นี้เป็นการเรียกชื่อ คลื่นสึนามิที่ผิด ถึงแม้ว่าผลกระทบที่เกิดจาก คลื่นสึนามิ มีต่อชายฝั่งทะเลนั้นขึ้นกับ ระดับของน้ำขึ้น น้ำลง ยามเมื่อคลื่นสึนามิพุ่งกระแทกสู่ฝั่ง แต่คลื่นสึนามิไม่ได้มีความสัมพันธ์กับระดับของน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งระดับน้ำ นั้นเป็นผลมาจากความไม่สมดุล ผลจาก แรงดึงดูดของดวงจันทร์ พระอาทิตย์และโลกสึนามินั้นไม่ได้เป็น Tidal waves เนื่องจาก กระบวนการของtidal waves ต้องใช้เวลานานนับ ศตวรรษ ในการกัดเซาะทับถมชายฝั่ง แต่คลื่นสึนามินั้นสามารถเปลี่ยนสภาพพื้นที่ ่ชายฝั่งในช่วงเวลาสั้นๆส่วนคำว่า 'seismic sea wave'ก็ทำให้เกิด ความเข้าใจผิด เช่นกัน คำว่า 'seismic' เกี่ยวกับแผ่นดินไหว ซึ่งมี ความสัมพันธ์ก่อให้เกิดการไหวตัวแต่คลื่นสึนามินั้นสามารถเกิดจากปรากฏการณ์ ที่เป็นNon-seismic อย่างเช่นเกิดแผ่นดินถล่มหรือ ผลจากอุกกาบาตพุ่งชนคลื่นสึนามิไม่ได้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดโดยตรงจากแผ่นดิน ไหวอย่างเดียว แต่ เป็นปฏิกิริยาเกิดจากการที่แผ่นดินไหวแล้วเกิดแผ่นดินยุบหรือถล่ม หรือก้อนอุกกาบาตพุ่งลงทะเล ทำให้มวลน้ำถูกแทนที่จึงเกิดปฏิกิริยาของแรงต่อ เนื่องทำให้เกิดคลื่นยักษ์ใต้น้ำขึ้น ซึ่งก็คือ คลื่นสึนามิ นั้นเอง ซึ่งก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็น 'Non-seismic sea wave' ได้เช่นกัน คลื่นสึนามิ ที่เรียกว่า Seismic sea wave นั้นเกิดจากกรณีที่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในมหาสมุทรหรือใกล้ชายฝั่งแผ่น ดินไหวจะสร้างคลื่นขนาดมหึมา เกิดขึ้นใต้น้ำพลังงานจะแผ่ออกทุกทิศทุกทางจากแหล่งกำเนิดนั่นคือแผ่ออก จากรอบศูนย์กลางบริเวณที่เกิด แผ่นดินไหวนั่นเองคลื่นจะค่อนข้างใหญ่มากเมื่อ เข้าสู่ฝั่งสภาพที่เป็นจริงในทะเลเปิดน้ำลึกจะเห็นคล้ายลูกคลื่นพองวิ่ง เลียบไปกับผิวน้ำ ซึ่งเรือยังสามารถแล่นอยู่บนลูกคลื่นนี้ได้แต่เมื่อคลื่นนี้เคลื่อนมาถึง บริเวณน้ำตื้น ใกล้ชายฝั่ง มันจะเคลื่อนโถมเข้าสู่ชายฝั่งบางครั้งสูงถึง 35 m(2,000 ฟุต) ซึ่งคลื่นสึนามินี้เคลื่อนตัวได้เร็วมาก โดยมีความเร็วประมาณ 1,000 กม.ต่อชั่วโมง (630 m/h) การเตือนภัยไม่สามารถ ทำได้ทันเวลา
การตรวจจับคลื่นคลื่นสึนามินั้นกระทำได้ยากมาก เมื่อคลื่นเริ่มเกิดในมหาสมุทรบริเวณที่น้ำลึก คลื่นอาจจะมีความสูงเพียง 10-20 นิ้วเอง ซึ่งดูเหมือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากกว่าการกระเพิ่มขึ้นลงของน้ำในมหาสมุทรเอง
กล่าวโดยรวมแล้วสาเหตุการเกิดคลื่นสึนามินั้น มีสาเหตุการเกิดหลายประการ เช่น
- เกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ เช่นเหตุการณ์ที่การากาตัว เมื่อปีค.ศ. 1883
- เกิดจากแผ่นดินถล่ม เช่นเหตุการณ์ที่อ่าวซากามิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปีคศ. 1933
- เกิดจากการที่ก้อนหินตกลงในอ่าวหรือมหาสมุทร เช่นเหตุการณ์ที่อ่าวลิทูยาอลาสกาเมื่อปีค.ศ.1933
- เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกด้วยแรงเทคโทนิคจากแผ่นดินไหว เช่นเหตุการณ์ อลาสกันซูนาม บริเวณอลาสกาในปีค.ศ.1964
- การเกิดระเบิดใต้น้ำจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์
สึนามิต่างจากคลื่นในท้องทะเลอย่างไร ?
สึนามินั้นไม่เหมือนกับคลื่นที่เกิดจากลม ซึ่งเรามักจะสังเกตเห็นคลื่นได้จากในทะเลสาปหรือในท้องทะเลซึ่งคลื่นเหล่า นั้นมัก เป็นคลื่นที่ไม่สูงนัก หรือคลื่นที่มีลูกคลื่นตื้น ๆ ประกอบกับมีระลอกและความยาวของคลื่นที่ค่อนข้างยาวต่อเนื่องลมเป็นตัวที่ก่อ ให้เกิด คลื่นซึ่งเราจะเห็นได้อยู่ทั่ว ๆไป ตามชายหาด อย่างเช่น หาดบริเวณแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีคลื่นม้วนตัวกลิ้งอยู่เป็นจังหวะต่อเนื่องจากลูก หนึ่งไปสู่อีกลูกหนึ่งซึ่งบางคราวกินเวลาต่อเนื่อง กว่า 10 วินาทีและมีความยาวของลูกคลื่นกว่า 150 เมตรในทางตรงกันข้ามคลื่นสึนามิ มีความยาวคลื่นเกินกว่า100 กม.และช่วงระยะเวลาของระลอกคลื่น ยาวนานกว่า 1 ชั่วโมงซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความยาวของคลื่น ที่มีความยาวมากนั่นเอง
เมื่อคลื่นสึนามิขึ้นฝั่ง ..... เกิดอะไรขึ้น ?
คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวด้วยความเร็ว จากบริเวณน้ำลึกเข้าสู่บริเวณฝั่ง เมื่อใกล้ฝั่งความเร็วของ
คลื่นสึนามิจะลดลง ความสูงของคลื่นจะก่อตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคลื่นสึนามิ
ขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิจะโถมขึ้นสู่ฝั่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ความสูงของยอดคลื่นสูงมาก
ยิ่งขึ้น เมื่อคลื่นสึนามิเข้าปะทะแผ่นดินพลังงานของมันจะสูญเสียไปเนื่องจากการสะท้อน
กลับของคลื่นที่ปะทะชายฝั่งในขณะที่พลังงานของคลื่นที่แผ่เข้าสู่ฝั่งจะถูก ทำให้กระจาย พลังงานสู่ด้านล่างและเกิดกระแสหมุนวน ทั้งนี้ทั้งนั้นการสูญเสียพลังงานนี้มิได้ทำให้ คลื่นสึนามิลดความรุนแรงลงมันยังคงเคลื่อนเข้าปะทะฝั่งด้วยพลังงาน อย่างมหาศาล คลื่นสึนามิมีพลังงานมหาศาลในการกัดเซาะ พังทลายโดยเฉพาะชายฝั่งหาดทรายที่ปกคลุมด้วยต้นไม้และพืชพันธ์จะถูกน้ำท่วม ปกคลุม ระดับน้ำจะสูงขึ้นและการเคลื่อนตัวของน้ำที่รวดเร็วจะปะทะกับบ้านเรือนและ สิ่งก่อสร้างต่างๆ คลื่นสึนามินั้นบางครั้งสามารถปะทะฝั่งที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่10 เมตร 20 เมตร และบางครั้งอาจสูงถึง 30 เมตรได้
เหตุการณ์ที่เกิดคลื่นสึนามิครั้งใหญ่
จากบันทึกประวัติศาสตร์ของคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่งทะเลนั้น มีเหตุการณ์สำคัญๆ ดังนี้
- 1500 ปีก่อนพุทธศักราช Santorin Crete (แถบเมดิเตอร์เรเนียน)
- 1 พ.ย. 1755 แอตแลนติกตะวันออก
- 21 ธ.ค. 1812 ซานตาบาบาร่า แคลิฟอร์เนีย
- 7 พ.ย. 1837 ชิลี
- 17 พ.ค. 1841 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
- 2 เม.ย. 1868 ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
- 13 ส.ค. 1868 เปรู และ ชิลี
- 10 พ.ค. 1877 ชิลี
- 27 ส.ค. 1883 การากาตัว (มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 คน)
- 15 มิ.ย. 1896 ฮอนชู ญี่ปุ่น (มีผู้จมน้ำเสียชีวิต 20,000 คน)
- 31 ม.ค. 1906 เอควาดอร์
- 28 ธ.ค. 1908 Messine
- 7 ก.ย. 1918 คูริล
- 11 พ.ย. 1922 ชิลี
- 3 ก.พ. 1923 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
- 18 พ.ย.1929 บริเวณ Grand Banks แคนาดา
- 2 มี.ค. 1933 ฮอนชู ญี่ปุ่น
- 1 เม.ย. 1946 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
- 4 พ.ย. 1952 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
- 9 มี.ค. 1957 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
- 23 พ.ค. 1960 บริเวณชายฝั่งชิลี แล้วเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกระยะทางกว่า 17,000 กิโลเมตร ไปสู่ญี่ปุ่นมีผู้สูญหายกว่า 200 คน
- 28 มี.ค. 1964 Prince William Sound อลาสกา สหรัฐอเมริกา (มีผู้เสียชีวิต 109 คน)
- 4 ก.พ. 1965 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
- 29 พ.ย. 1975 ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
- 3 มิ.ย.1994 บริเวณเกาะชวาตะวันตก อินโดนีเซีย เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดเมื่อเวลา ตี 1.18 นาที (เวลาท้องถิ่นชวา) วันที่ 3 มิถุนายน แผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งชวา ใกล้กับทางด้านตะวันออกของร่องลึกชวาในมหาสมุทรอินเดีย แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาด 7.2 - 7.8 ตามมาตราวัดริกเตอร์ ซึ่งก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ สร้างความเสียหายให้กับชีวิตมากกว่า 200 ชีวิต และที่พักอาศัยบริเวณชายฝั่งจำนวนมาก โดยทีมสำรวจสึนามิระหว่างชาติ ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านซุนามิและวิศวกร ซึ่งมาจากอินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น ไทย และสหรัฐอเมริกา ได้เข้าสำรวจพื้นที่ของบาหลีและชวา ช่วงวันที่ 20-25 มิถุนายน 1994 ทีมสำรวจชุดนี้ได้พบว่า คลื่นสึนามิที่เข้าสู่ฝั่งชวา มีความสูงตั้งแต่ 1 -14 เมตร ในขณะที่บาหลีมีความสูงตั้งแต่ 1-5 เมตร
- 21 ก.พ.1996 บริเวณเปรู เป็นผลจากแผ่นดินไหวใต้น้ำ
- 17 ก.ค.1998 บริเวณเกาะปาปัวนิวกินี (มีผู้เสียชีวิต 3,000 คน)
บริเวณที่มักเกิดคลื่นสึนามิและเหตุการณ์ที่เกิดคลื่นสึนามิครั้งใหญ่
คลื่นสึนามินั้นสามารถเกิดขึ้นในภูมิภาคหรือในบริเวณมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ไพศาล ขึ้นอยู่กับขนาดของคลื่นและบริเวณ ที่เกิด ซึ่งคลื่นสึนามิเป็น ปรากฏการณ์ที่มักเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเนื่องจากในย่านมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นเขตที่มีแนวของการเกิด แผ่นดินไหวและภูเขาไฟใต้มหาสมุทรอยู่มาก จุดกำเนิดสำคัญของคลื่นสึนามิในแปซิฟิกก็คือบริเวณร่องลึกก้นสมุทร นอกชายฝั่งอลาสกา หมู่เกาะคูริล รัสเซียและทวีปอเมริกาใต้โดยเฉพาะในเขตแปซิฟิค ตอนกลาง (mid-pacific) บริเวณหมู่เกาะฮาวายมักจะประสบกับคลื่น สึนามิบ่อยครั้ง ร้อยละ 80 ของคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะอยู่ในบริเวณ Pacific Seismic Belt ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดคลื่น ซึ่งในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกมีโอกาสเสี่ยงที่มากกว่าในบริเวณอื่นๆ มหาสมุทรแปซิฟิกกินพื้นที่ถึงกว่า 1 ใน 3 ของผิวโลกแล้วล้อม รอบด้วยร่องน้ำลึก ก้นสมุทร อันเกิดจากแผ่นดินโลกมุดตัว บวกกับถูกกระหนาบด้วยแนวโค้งของหมู่เกาะภูเขาไฟอีก
|
|
ระบบเตือนภัยสึนามิ (TSUNAMI WARNING SYSTEM : TWS)
โครงการระบบเตือนภัยกับสึนามิ ประกอบไปด้วย สมาชิกจาก 26 ชาติซึ่งมีภารกิจในการติดตามตรวจสอบคลื่นแผ่นดิน ไหวและสถานีวัดระดับน้ำทะเลในบริเวณเขตแปซิฟิก เพื่อใช้ประเมินศักยภาพการเกิดคลื่นสึนามิและใช้สำหรับให้ข้อมูลข่าวสาร เตือนภัยเรื่องสึนามิ โดยมีศูนย์เตือนภัยสึนามิภาคพื้นแปซิฟิก (PTWC) เป็นศูนย์ปฏิบัติงานด้านสึนามิในเขตแปซิฟิกตั้งอยู่ใกล้ ฮอนโนลูลู ฮาวาย
- ศูนย์เตือนภัยสึนามิ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความช่วยเหลือระหว่างชาติในการช่วยรักษาชีวิตและปกป้องทรัพย์สินซึ่งหน่วยงาน NOAA และหน่วยงาน ให้บริการข้อมูลอากาศระหว่างชาติดำเนินการรับผิดชอบ 2 ศูนย์ คือ
- ศูนย์เตือนภัยสึนามิอลาสกา (ATWC) ใน PALMER, อลาสกา ครอบคลุมเขตรับผิดชอบแถบอลาสกา บริติช โคลัมเบีย วอชิงตัน โอเรกอนและแคลิฟอร์เนีย
- ศูนย์เตือนภัยสึนามิเขตแปซิฟิก ใน EWA BEACH, ฮาวาย ครอบคลุมบริเวณฮาวายและแปซิฟิก
เนื่องจากความสูงของคลื่นสึนามิเพียงเล็กน้อยในขณะที่เคลื่อนตัวในน้ำลึก ระบบที่ใช้ตรวจจับคลื่นยักษ์นี้ยังไม่ได้ถูกพัฒนา เท่าที่ควรศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิกในฮาวายเป็นศูนย์ที่ให้ข้อมูลข่าวสาร ในยานแปซิฟิก ซึ่งจะมีแถลงการณ์ที่ออกประกาศถึงการเกิด คลื่นสึนามิ 2 แบบคือ การเฝ้าระวังและการเตือนภัย การแถลงข่าวการเฝ้าระวังเรื่องสึนามิจะออกอากาศเมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้นขนาด 6.75 ตามมาตราวัดริคเตอร์ หรือมากกว่านั้น ส่วนการแถลงการณ์ เตือนภัยนั้นจะกระทำต่อเมื่อได้ข้อมูลจากสถานีวัดระดับน้ำ ซึ่งบ่งชี้ ถึงศักยภาพที่สามารถก่อให้เกิดสึนามิได้ สถานีวัดระดับน้ำจะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ น้ำรอบ ๆ สถานี และจะประกาศเตือนเมื่อ คุณสมบัติของข้อมูลตรงกับศักยภาพของการเกิดคลื่นสึนามิ แต่ช่างโชคไม่ดีที่ระบบนั้นไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ จากสถิติ ร้อยละ 75ของการ เตือนภัยทั้งหมดตั้งแต่ปี 1948 เป็นต้นมานั้นผิดพลาด ดังตัวอย่างเหตุการณ์ปี 1948 ที่ฮอนโนลูลูซึ่งมีประกาศเตือนภัยทำให้ต้องอพยพผู้คนซึ่งเป็นการเตือนภัยที่ ผิดพลาด เนื่องจากเหตุการณ์นั้นไม่เกิดขึ้น ทำให้สิ้นค่าใช้จ่ายกว่า 30 ล้านดอลล่าร์
การบรรเทาภัยคลื่นสึนามิ
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อคลื่นสึนามิจะพุ่งเข้าสู่ฝั่งมาหาคุณ พื้นแผ่นดินจะสั่นสะเทือนโดยรู้สึกได้ใต้เท้าของคุณหรือคุณอาจได้รับ คำเตือน แจ้งให้ผู้คนวิ่งหา พื้นที่ๆ สูง เพื่อที่ให้ทราบถึงวิธีการปกป้องตัวเองจากคลื่นสึนามินั้น หัวข้อต่าง ๆ ที่พึงทราบมีดังต่อไปนี้
- ต้องทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ
- หากเกิดคลื่นสึนามิขึ้น จะมีวิธีการบรรเทาภัยอย่างไร กรณีที่อยู่บนพื้นดินและอยู่บนเรือ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสึนามิ สรุปได้ดังต่อไปนี้
- คลื่นสึนามิจะเข้าปะทะฝั่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกและมักจะเกิดจากแผ่นดินไหวโดยที่แผ่นดินไหวบางครั้งเกิดไกลหรือใกล้ จากบริเวณที่ผู้คนพักอาศัย
- คลื่นสึนามิบางครั้งจะใหญ่มาก ในบริเวณชายฝั่ง คลื่นอาจมีความสูงถึง 30 ฟุตหรือมากกว่า (บางครั้งอาจเกินกว่า 100 ฟุต) และเคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่งได้ไกลหลายร้อยฟุต
- ชายฝั่งที่มีพื้นลาดต่ำสามารถถูกคลื่นสึนามิพัดถล่มได้ง่าย
- คลื่นสึนามิประกอบด้วยคลื่นหลายๆ คลื่น รวมเป็นชุดของคลื่น ซึ่งคลื่นลูกแรกนั้น มีบ่อยครั้งที่มักจะไม่ใช่ลูกที่ใหญ่ที่สุด
- คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนตัวได้เร็วกว่าคนวิ่ง
- บางครั้งคลื่นสึนามิเป็นสาเหตุให้กระแสน้ำบริเวณชายฝั่งถดถอยหรือถอยร่นไป แล้วไปโผล่ที่พื้นสมุทร
- แรงกระทำที่คลื่นสึนามิกระทำนั้นค่อนข้างรุนแรง หินก้อนใหญ่ๆ อาจถูกคลื่นสึนามิหอบขึ้นมาทับเรือหรือแม้แต่เศษซากปรักหักพังอื่นๆ สามารถเคลื่อนย้ายเข้าสู่ฝั่งไปได้เป็นระยะหลายร้อยฟุตโดยการกระทำของคลื่นสึนามิ บ้านเรือนหรือตึกรามบ้านช่องอาจถูกทำลาย ซึ่งเศษวัตถุต่างๆ และมวลน้ำเคลื่อนตัวด้วยแรงมหาศาล และสามารถทำให้ผู้คนบาดเจ็บและเสียชีวิตได้
- คลื่นสึนามิเกิดได้ทุกเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน
- คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนตัวสู่แม่น้ำที่เชื่อมต่อทะเลและมหาสมุทรได้
หากคุณอยู่บนแผ่นดิน
- ให้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลื่นสึนามิที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งนี้จะสามารถช่วยชีวิตได้และบอกกล่าวเรื่องราวนี้ต่อไปถึงญาติมิตรหรือเพื่อนพ้องของคุณ ซึ่งจะช่วยชีวิตพวกเขาได้
- หากได้รับสัญญาณเตือนภัยข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ควรเคลื่อนย้ายครอบครัวและตัวคุณออกจากพื้นที่ที่เสี่ยงภัย และปฏิบัติตามคำ แนะนำของเจ้าหน้าที่
- หากอยู่บริเวณชายหาด และรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหว ให้รีบหนีไปอยู่บริเวณที่สูงเพื่อหลบภัยทันทีและให้อยู่ห่างจากแม่น้ำหรือคลองที่ ต่อเชื่อมลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทร
- หากเกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรที่ห่างไกล ก็มีเวลาเพียงพอที่จะหาบริเวณที่สูงสำหรับหลบภัยได้ แต่สำหรับคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นประจำในท้องถิ่น เมื่อรู้สึกถึงแผ่นดินไหว ก็จะมีเวลาเพียง 2 -3 นาทีเท่านั้นสำหรับหาที่หลบภัยได้
- สำหรับตึกสูง หลายชั้นและ มีโครงสร้างเสริมความแข็งแรง ชั้นบนของตึกสามารถใช้เป็นที่หลบภัยคลื่นสึนามิได้ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอใน การหาที่สูงหลบภัย
หากอยู่บนเรือ
- หากคลื่นซุนามิกำลังโถมเข้าปะทะฝั่ง ควรจะถอยเรือห่างจากฝั่งไปยังบริเวณพื้นที่น้ำลึกเนื่องจากคลื่นสึนามิจะทำให้ระดับน้ำบริเวณ ใกล้ฝั่งหรือท่าเรือเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
บทส่งท้าย
ภัย ธรรมชาติต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติโดยความเป็นจริงแล้วภัยพิบัติจำนวนมากมีสาเหตุ มาจาก สภาพลมฟ้าอากาศที่แปรปรวนซึ่งยังความเสียหายต่อชีวิตมนุษย์และทรัพย์สิน อย่างมหาศาล ภัยที่เกิด จากธรรมชาติเหล่านี้ได้แก่วาตภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม คลื่นพายุซัดฝั่ง เป็นต้น แต่มนุษย์เราก็มี ส่วนร่วมมีบทบาทเกี่ยวข้องอยู่ด้วยถึงกระนั้นก็ตามภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น แล้วได้นำความสูญเสียทั้งแก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน และของประเทศเป็นอันมาก จึงควรที่ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมกันช่วยเหลือในการ หาความรู้และระดมความคิดเพื่อวางแผนป้องกัน แก้ไขและหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ส่งผลกระทบน้อยลง ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแต่ละปีทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตอย่างมากมาย ทั้งๆที่วิทยาการสมัยใหม่ในยุคปัจจุบัน ได้เจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว แต่มนุษย์ก็ยังไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้และมักเชื่อกันว่า ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในขณะที่มนุษย์ไม่อาจยับยั้งภัยพิบัติธรรมชาติได้ แต่สิ่งที่เราสามารถกระทำได้คือ การบรรเทาความสูญเสียให้น้อยที่สุดอันเนื่องมาจากธรรมชาติเหล่านี้ ซึ่งต้องอาศัยการพยากรณ์ที่แม่นยำและการเตือนภัยที่มีประสิทธิ ภาพเพียงพอ มาตรการการป้องกันและเตรียมพร้อม พร้อมทั้งความร่วมมือจากทุกฝ่าย แม้มนุษย์จะไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดคลื่นสึนามิได้ แต่ก็สามารถบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้หากมีการเตรียมพร้อมกับ มือที่ดีดังนั้นความไม่ประมาทและการเตรียมพร้อมจึงเป็นเรื่องดีและไม่ก่อให้ เกิดผลเสียด้านการท่องเที่ยวหากมีการไห้ความรู้แก่ประชาชน อย่างถูกต้องมิใช่ให้ข้อมูลแต่เพียงบางด้านหรือให้ไม่ครบถ้วนซึ่งอาจก่อให้ เกิดความตื่นตระหนกแก่สาธารณชนได้ สำหรับคลื่นสึนามินั้นการเตือนภัยคลื่นสึนามิล่วงหน้านั้นทำได้ยากกว่าการ ตรวจจับแผ่นดินไหวซึ่งเป็นสาเหตุของมันนักวิทยาศาสตร์มักทำได้แค่ชี้ว่าตรง ไหนมีโอกาสจะเกิดคลื่นสึนามิได้บ้าง โดยดูตามประวัติที่มีบันทึกไว้ และกว่าจะระบุได้ว่าเจ้าคลื่นยักษ์ใต้ สมุทรนี้ มีความเร็วสักเท่าไร ก็ต้องรอตรวจจับแผ่นดินไหวได้ก่อนเป็นลำดับแรก ฉะนั้นหากเกิดแผ่นดินไหวใกล้แผ่นดินอย่างในกรณีที่ เพิ่งอุบัติขึ้นที่นิวกินี คลื่นสึนามิก็จะพุ่งเข้าถล่มชายฝั่งในเวลาแค่ไม่กี่วินาทีให้หลังจึงเป็นไป ไม่ได้ที่ใครจะหนีทันวิธีสังเกตขณะคลื่นสึนามิ กำลังจะเข้าสู่ฝั่งคือเมื่อระดับน้ำที่ชายหาดลดต่ำกว่าระดับน้ำลงต่ำสุดตาม ปกติเป็นอย่างมากจนมองเห็นแนวชายฝั่งออกไปได้ไกล ผิดหูผิดตา หากรู้สึกว่าแผ่นดินไหวหรือพื้นดินสั่น สะเทือนขณะอยู่ใกล้ชายหาด จงวิ่งสุดฝีเท้าย้อนขึ้นไปให้ไกลจากน้ำทะเลที่สุดเท่าที่จะ ไปไหว
บุรินทร์ เวชบันเทิง.เอกสารวิชาการความรู้เบื้องต้นเรื่องคลื่นสึนามิ. กรุงเทพมหานคร : กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงคมนาคม.
สง่า สรรพศรี.2533.ภัยธรรมชาติในประเทศไทย.ในการประชุมวิชาการประจำปี 2533 เรื่อง ภัยธรรมชาติในประเทศไทยจัดโดย สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย 12-14 พฤศจิกายน 2533 ณ ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ.
คณะอนุกรรมการวิชาการสาขางานด้านแผ่นดินไหวในคณะกรรมการวิชาการด้านวิศวกรรมโยธา กฟผ. กรุงเทพมหานคร:การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Blij H.J. De and Peter O. Mullen.1987. Physical Geography of the Global Environment. New York : John Willey & Sons.
Hamblin W.Kenneth.1989.The Earth's Dynamic Systems. 5 th. Ed. New York : Macmillan Co.
https://observe.ivv.nasa.gov/exhibits/tsunami/
https://www.cnn.com