หมอก คือเมฆที่ลอยอยู่ใกล้พื้นดิน ดังนั้น หมอกจึงแตกต่างจากเมฆตรงที่เมฆลอยสูงเหนือพื้นโลก หมอกโดยทั่วไปในที่ต่างๆ มีความหนาแน่นไม่เท่ากัน
เรื่องน่ารู้ของ "หมอก"
หมอก คือเมฆที่ลอยอยู่ใกล้พื้นดิน ดังนั้น หมอกจึงแตกต่างจากเมฆตรงที่เมฆลอยสูงเหนือพื้นโลก หมอกโดยทั่วไปในที่ต่างๆ มีความหนาแน่นไม่เท่ากัน ในบางที่หมอกจะอยู่กันหนาทึบ แต่ในบางที่หมอกจะมีลักษณะเป็นไอบางๆ นักอุตุนิยมวิทยาจึงแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างหมอกทั่วไปกับไอหมอกว่า ถ้า ทะเลละอองน้ำนั้นทำให้คนเห็นได้ไกลไม่เกิน 1 กิโลเมตร นั่นคือ หมอก แต่ถ้าคนสามารถเห็นผ่านทะเลละอองน้ำได้ไกลเกิน 2 กิโลเมตร สิ่งนั้นคือ ไอหมอก
การสำรวจเชิงอุตุนิยมวิทยาทำให้เรารู้ว่า บริเวณชายฝั่ง Grand Banks ของเกาะ Newfoundland ในแคนาดา เป็นดินแดนที่มีหมอกหนาแน่นมากที่สุดในโลก เพราะสถานที่นี้มีกระแสน้ำเย็น Labrador จากทางเหนือไหลปะทะกระแสน้ำอุ่น Gulf Stream จากทางใต้ แต่ถ้าจะเอ่ยถึงบริเวณที่มีหมอกบ่อยที่สุดแล้ว เมือง Argenlia ใน Newfoundland มีหมอกบ่อยกว่า 200 วันในแต่ละปี
โดยทั่วไปหมอกจะเกิดเมื่อใดก็ตามที่ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าสูงถึง 100% และเมื่อบริเวณนั้นมีหมอก ความสามารถในการเห็นของผู้คนที่สัญจรไปมาจะลดลงหมอกในทะเลจะทำให้เรือเดิน สมุทรเหมือนเรือตาบอด ดังนั้น กัปตันจึงต้องอาศัยเรดาร์ในการนำเรือ หรือถ้าเป็นกรณีหมอกบนถนนรถยนต์ก็ต้องแล่นช้าลง ส่วนที่สนามบินถ้ามีหมอกจัดเจ้าหน้าที่ต้องกำจัดหมอกให้หมดไปอย่างรวดเร็ว เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร เพราะหมอกเกิดได้ในหลายสถานที่ ดังนั้นชนิดของหมอกจึงมีหลากหลายตามสถานที่ๆ มันอยู่ อาทิเช่น
หมอกรังสี ซึ่งเกิดในเวลาเย็นที่แผ่นดินเย็นตัวลง การมีอุณหภูมิต่ำทำให้อากาศชื้นที่ลอยอยู่เหนือพื้นดินนั้นกลั่นตัวเป็นหยด น้ำ เพราะอากาศชื้นจะถ่ายเทความร้อนที่มีในตัวมันไปสู่พื้นดินในวันที่สงบ หมอกที่เกิดจากกระบวนการนี้อาจมีความหนาแน่นน้อย หมอกรังสีเกิดในเวลากลางคืน และจะมีจนถึงเวลาฟ้าสาง โดยเฉพาะในฤดูใบไม่ร่วงหรือฤดูหนาว
หมอกภูเขา ที่เกิดตามบริเวณยอดเขา หมอกชนิดนี้เกิดเวลากระแสลมพัดขึ้นเนินเขา และเมื่อลมชื้นเย็นตัวลง เพราะบริเวณยอดเขามีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นที่มีในลมจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆ ลอยเป็นแพในบริเวณนั้น จนมีสภาพเหมือนทะเล
หมอกหุบเขา ที่มักพบเหนือหุบเขาในฤดูหนาว หมอกชนิดนี้มักเกิดเวลาอากาศเย็นในหุบเขา และอากาศร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า พัดไปเหนืออากาศเย็น หมอกชนิดนี้อาจปรากฏในหุบเขานานหลายวัน ถ้าสภาพอากาศทั่วไปไม่แปรปรวนมาก
หมอกน้ำแข็ง เป็นหมอกอีกชนิดหนึ่งเกิดในบริเวณขั้วโลก ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำมากถึง -35 องศาเซลเซียส จนหยดน้ำและละอองน้ำเล็กๆ กลั่นตัวเป็นเกล็ดน้ำแข้งเล็กๆ ลอยแน่นจนเป็นหมอก หรือเราอาจพบเห็นหมอกชนิดนี้ในเมืองที่มีการสัญจรโดยยานยนต์หนาแน่น ในฤดูหนาวเวลาไอน้ำที่ถูกขับออกมาจากท่อไอเสียและจากการจราจรคับคั่ง หมอกน้ำแข็งก็จะมีความหนาแน่นและตกค้างอยู่ในพื้นที่นั้นนาน จนกระทั่งบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น หมอกน้ำแข็งจึงจะสลาย
หมอกเทียม เป็นหมอกที่เกิดจากการประดิษฐ์ (คือมิได้เกิดจากธรรมชาติ) เวลาพ่นน้ำหรือของเหลวที่ได้จากสารประกอบพวก glycol หรือ glycerine เช่น เวลาใส่วัสดุที่มีอุณหภูมิสูงทำให้ของเหลวนี้ระเหยอย่างรวดเร็ว และเมื่อไอของเหลวปะทะอากาศเย็น ไอน้ำจะกลายเป็นหมอก
หมอกทะเล เกิดตามบริเวณชายฝั่ง เวลาลมทะเลที่มีไอน้ำและความชื้นพัดเข้าสู่บกแล้วปะทะอากาศร้อน ทำให้ละอองน้ำในลมนั้นหดตัว ถึงแม้ว่าตาคนมองหมอกทะเลนี้แทบไม่เห็น แต่คนที่ขับรถจะเห็นเพราะกระจกหน้ารถจะมัวขึ้น จนต้องใช้ที่ปัดน้ำฝนปัดกระจกไปมาอากาศที่ทำให้เกิดหมอกชนิดนี้อาจจะมีความ ชื้นสัมพัทธ์ไม่ถึง 100% ก็ได้ และถ้าอากาศนั้นมีธุลีเกลือ เกลือนี้ก็จะทำหน้าที่เป็นนิวเคลียสให้หยดน้ำกลั่นตัวจับ และเงื่อนไขอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดหมอกทะเลคือ อุณหภูมิของลมนั้นต้องต่ำ เพื่อให้ลมมีความชื้นสัมพัทธ์สูง
ดังนั้น เราจะเป็นได้ว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดหมอกมีหลากหลายอุณหภูมิ ความชื้นจุดน้ำค้าง ความเร็วลม ทิศการพัดของลมและบริเวณที่ลมพัดผ่าน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละตัวต่างก็มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดหมอกแต่ละชนิด สำหรับการทำลายหมอกนั้น อาจทำได้โดยการพ่นความร้อนหรือฉีดพ่นเกลือใส่ก็เป็นวิธีที่ให้ผลดีพอสมควร
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากMy firstbrain