หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้อากาศของโลกเราร้อนระอุเช่นทุกวันนี้ คือ ก๊าซมีเทน ที่เกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติและจากฝีมือมนุษย์เรา และเป็นตัวการที่ให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างที่ได้สัมผัสกันอยู่ทุกวัน
VOCS นี้หรือคืออะไร
คงจะเคยได้ยินได้เห็นคำนี้ VOCS กันมาบ้างไม่มากก็น้อยบางคนอาจจะรู้จักดีว่าคืออะไร บางคนก็อาจจะยังงงๆ สงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่ บ้านใกล้เรือนเคียงจึงขอขันอาสามาไขความกระจ่างให้เข้าใจกันอย่างทั่วถึง
วีโอซี คือสารประกอบอินทรีย์ระเหย หรือสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ที่แปลตรงๆ ตัวคำต่อคำมาจากภาษาอังกฤษที่ว่า
Volatile = ระเหยได้ง่าย
Organic = สารอินทรีย์ (ที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนกับไฮโดรเจนเป็นหลัก เช่น แป้ง น้ำตาล ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น)
Compounds = สารประกอบ
สารพวกนี้ในอุณหภูมิปกติโดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นของเหลว มีกลิ่นฉุน ระเหยได้ง่าย และไวไฟ เช่น เบนซีน (คนละตัวกับน้ำมันเบนซินเติมรถยน์) โทลูอีน ไซลีน บิวทาไดอีน ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ คลอโรฟอร์ม แอลกอฮอล์ อะซีโตน และ ฟอร์มมาลิน เป็นต้น ซึ่งพบได้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เช่น ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน สีและกาว เครื่องหนัง ยากำจัดศัตรูพืช เครื่องสำอาง น้ำหอม สเปรย์ดับกลิ่น ยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบได้ในชีวิตประจำวัน ที่ร้านซักแห้ง จากการสูบบุหรี่ และจากควันไอเสียรถยนต์อีกด้วย
สารวีโอซีสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้ทั้งทางผิวหนังทางปาก และจากการสูดดม ซึ่งก็จะมีอาการแตกต่างกันไปตามปริมาณมากน้อยและระยะเวลาสั้นยาวที่ได้รับ อาจจะเกิดผื่นคัน แสบตาน้ำตาไหล หายใจมาสะดวก มึนงง ปวดศีรษะ แสบร้อนในปากในท้อง ซึ่งถ้าได้รับนิดหน่อยร่างกายจะสามารถขับทิ้งไปเองได้ ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด อาจจะแค่พอรำคาญ ก็รักษาอาการตามปกติโดยทั่วไป คือถ้ามีผื่นก็ล้างน้ำสะอาด แสบตาก็ล้างตา คันคอก็ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ (แต่ถ้ามีอาการมากๆ ก็ควรจะไปพบแพทย์โดยเร็ว) นอกจากนี้ถึงแม้จะได้รับสารในปริมาณน้อยแต่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดมะเร็ง หรืออวัยวะภายในถูกทำลายได้
เรามีวิธีป้องกันให้พ้นจากผลกระทบจากสารวีโอซีได้ง่ายๆ คือระมัดระวังไม่ให้สัมผัสกับสารเหล่านี้ แต่ถ้าจำเป็นก็ต้องสวมถุงมือและหน้ากาก เก็บสารวีโอซีไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด ไม่ให้โดนแดดหรือใกล้ไฟ หรือใกล้กับสารเคมีอื่นๆ อ่านวิธีใช้และปฏิบัติตามฉลากกำกับสารต่างๆ อย่างเคร่งครัด และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้สำหรับอุตสาหกรรมผู้ใช้หรือมีสารวีโอซีเกิดขึ้นในการผลิต ก็ข้อกำหนดกฎระเบียบกำกับไว้ชัดเจนว่า การเก็บและการขนส่งต้องปิดมิดชิด มีระบบอุปกรณ์สูบถ่ายที่ป้องกันรั่วไหล และต้องมีอุปกรณ์ดักจับไม่ให้ปล่อยสารวีโอซีออกสู่ที่สาธารณะ เมื่อทุกคนรู้จักและปฏิบัติตามหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องระมัดระวัง ก็ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องอันตรายจากสารวีโอซีแต่อย่างไร
ภายใต้ความร่วมมือจากวารสารบ้านใกล้เรือนเคียง กับวิชาการดอทคอม
https://www.pttplc.com/TH/Default.aspx