เรื่องน่ารู้ ศัพท์บัญญัติ ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า (ตอนที่ 4)


2,939 ผู้ชม

ยังมีประเด็นข้อพิจารณาในการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานอีกว่า ศัพท์วิชาการภาษาอังกฤษคำต่างกัน


เรื่องน่ารู้ ศัพท์บัญญัติ ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า (ตอนที่ 4)

ยังมีประเด็นข้อพิจารณาในการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานอีกว่า ศัพท์วิชาการภาษาอังกฤษคำต่างกัน ถึงแม้จะมีความหมายโดยทั่วไปเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน ก็จะพยายามหาคำศัพท์บัญญัติภาษาไทยเป็นคำที่ต่างกันด้วย เพื่อให้เกิดความแตกต่าง บ่งถึงนัยความหมายตรงตามต้นศัพท์ หรือทำให้สืบย้อนถึงต้นคำศัพท์ภาษาอังกฤษนั้น ๆ ได้ ในที่นี้ ขอนำเสนอตัวอย่างกลุ่มคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความหมายใกล้ เคียงกัน และมักใช้กันสับสนบ่อย ๆ จำนวน 3 กลุ่มคำ ดังนี้

ศัพท์อังกฤษ

ศัพท์บัญญัติ

ตัวอย่าง

technique เทคนิค, กลวิธี numerical technique – เทคนิคเชิงตัวเลข
analytical technique – เทคนิคเชิงวิเคราะห์
method วิธี analytic method – วิธีวิเคราะห์
critical path method – วิธีวิถีวิกฤต
methodology ระเบียบวิธี research methodology - ระเบียบวิธีการวิจัย
software development methodology –ระเบียบวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์
algorithm ขั้นตอนวิธี Viterbi algorithm – ขั้นตอนวิธีวิเทอร์บี
non-deterministic algorithm – ขั้นตอนวิธีเชิงไม่กำหนด
protocol เกณฑ์วิธี cryptographic protocol – เกณฑ์วิธีเชิงรหัสลับ
network routing protocol – เกณฑ์วิธีการจัดเส้นทางโครงข่าย
process กรรมวิธี, กระบวนการ manufacturing process – กรรมวิธีการผลิต
production process – กระบวนการผลิต
procedure กระบวนงาน re-entrant procedure – กระบวนงานกลับเข้าใหม่
standard operating procedure - กระบวนงานปฏิบัติการมาตรฐาน
ศัพท์อังกฤษ ศัพท์บัญญัติ ตัวอย่าง
law กฎ Coulomb’s law – กฎคูลอมบ์
exponential law – กฎเลขชี้กำลัง
principle หลัก, หลักการ superposition principle – หลักการซ้อนทับ
shoebox principle – หลักการกล่องรองเท้า
rule หลักเกณฑ์ Simpson’s rule – หลักเกณฑ์ซิมป์สัน
chain rule – หลักเกณฑ์ลูกโซ่
ศัพท์อังกฤษ ศัพท์บัญญัติ ตัวอย่าง
data ข้อมูล discrete data – ข้อมูลวิยุต
grouped data – ข้อมูลแบ่งกลุ่ม
information สารสนเทศ information theory – ทฤษฎีสารสนเทศ
information superhighway – ทางด่วนสารสนเทศ
message สาร, ข่าวสาร short message service  – บริการสารสั้น
message digest – ข่าวสารย่อย

ขอย้ำอีกครั้งว่า หากเป็นศัพท์ทั่วไป ไม่ได้เป็นศัพท์วิชาการ คำบางคำในแต่ละกลุ่มอาจใช้สับเปลี่ยนหรือแทนกันได้ แต่หากเป็นศัพท์วิชาการ หรือมีนัยความหมายจำเพาะ เราก็ควรเลือกใช้ศัพท์ภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสม ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษเราที่ต้องการจะสื่อ ดังตัวอย่างที่ได้นำเสนอเป็นแนวคิดไว้ข้างต้น

ผู้เขียน

อ. ดร.ชนินทร์ วิศวินธานนท์

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

กรรมการบัญญัติศัพท์วิศวกรรมไฟฟ้า ราชบัณฑิตยสถาน

เรื่องน่ารู้ ศัพท์บัญญัติ ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า (ตอนที่ 4)

ที่มา www.eng.chula.ac.th

อัพเดทล่าสุด