แพทย สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย เผยวิธีรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันว่าก้าวหน้าไปมากในสองทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบคงความสวยงามของเต้านมไว้ ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ป่วยหญิงหลังผ่าตัด และอยู่โรงพยาบาลน้อยลง ตลอดจนแนวโน้มใหม่ในการเลือกสูตรยาเพื่อรักษาผู้ป่วยโดยใช้ข้อมูลระดับ โมเลกุลของเซลล์มะเร็ง ทำให้เลือกสูตรที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆ มากขึ้นกว่าในอดีต นอกจากนี้ ยังจัดให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ป่วยในห้วข้อ “ก้าวใหม่ในการรักษามะเร็งเต้านม” เพื่อสร้างความรู้ให้ประชาชนหันมาใส่ใจการตรวจเต้านมเพิ่มขึ้น ที่โรงแรมสยามซิตี พล.ต.น.พ.สุรพงษ์ สุภาภรณ์ นายกสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงอยากรณรงค์ให้ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปใส่ใจมารับการตรวจค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่ม จะทำให้การรักษาทำได้ง่ายไม่อันตรายค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่สูง และผลการรักษาจะดีมาก ไม่มีการกลับมาของโรคอีกต่อไป และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมเพื่อเป็นแกนหลักให้การพัฒนาขีดความสามารถ ของแพทย์ไทยในการรักษามะเร็งเต้านมไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือ รักษาด้วยยาเท่าเทียมกับต่างประเทศ ตลอดจนการส่งเสริมการวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในประเทศไทย ผศ.พ.ญ.เยาวนุช คงด่าน อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรรมการสมาคมฯ กล่าวว่า การ รักษามะเร็งเต้านมแบบคงความสวยงามของเต้านมเป็นแนวโน้มใหม่ในการรักษามะเร็ง เต้านม โดยคำนึงถึงความสวยงามของเต้านมทั้งข้างที่เป็นมะเร็งและข้างที่ไม่เป็น มะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นการเอาเนื้อเต้านมออกเพียงบางส่วนหรือการตัดเต้านมแล้วนำไขมัน และกล้ามเนื้อจากหลังหรือท้องน้อยของผู้ป่วยเองมาทำเต้านมใหม่ ในบางรายอาจมีการตกแต่งเต้านมใหม่ทั้งสองข้างโดยการผ่าตัด วิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นน้อยลงกว่าวิธีการเดิม กลับบ้านได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยยังคงความสวยงามของเต้านมได้อยู่เหมือนคนปกติธรรมดาทั่วไป พ.อ.พิเศษน.พ.วิชัย วาสนสิริ แพทย์ประจำกองศัลยกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า ปัจจุบันความรู้ในระดับโมเลกุลของมะเร็งเต้านมก้าวหน้าขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของตัวรับฮอร์โมน ตัวรับเฮอร์ทู ซึ่งเมืองไทยสามารถตรวจได้ทั่วไป และข้อมูลที่ก้าวหน้าขึ้นในเรื่องของยีนที่จะบ่งบอกถึงโอกาสการดื้อยาต่างๆ ทำให้แพทย์มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรยาต่างๆ ได้ถูกต้องกับภาวะของคนไข้มากขึ้นกว่าในอดีต คนไข้มะเร็งเต้านมที่อยู่ในระยะเดียวกัน หรือมีขนาดก้อนใกล้เคียงนั้นอาจได้รับการรักษาที่ไม่เหมือนกันก็ได้ เรียกว่า “การรักษาแบบเฉพาะราย”และถ้าสงสัยควรสอบถามแพทย์ผู้รักษาหรือส่งคำถามมายังสมาคมที่ตู้ป.ณ. 28 ปณฝ. กรมโรงงานอุตสาหกรรม กทม. 10413 สุดท้าย น.พ. อาคม ชัยวีระวัฒนะ แพทย์ประจำกลุ่มงานศัลยกรรม สถา บันมะเร็งแห่งชาติ กรรมการสมาคมฯ กล่าวว่า สมาคมโรคเต้านมแห่งประ เทศไทย เตรียมจัดบรรยายให้ความรู้และสร้างความเข้าใจสำหรับโรคมะเร็งเต้านม โดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านมจากสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรงพยาบาลรามาธิบดี วชิรพยาบาล ในหัวข้อ “ก้าวใหม่ในการรักษามะเร็งเต้านม” ในวันที่ 21 สิงหาคม เวลา 13.30-15.30 น. ที่ห้องจตุรทิศ ชั้น 3 โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพฯ (พระราม 9) ภายในงานมีการบรรยายในหัวข้อที่หลากหลายซึ่งเป็นความกังวลที่ผู้หญิงกลัว เช่น ผู้หญิงส่วนใหญ่มักกังวล ไม่อยากตัดเต้านมออก ไม่ผ่าตัดจะได้หรือไม่ หรือผ่าให้น้อยที่สุดได้หรือไม่ ผู้ป่วยจะเจ็บมากไหม ถ้าเป็นแผลเป็นจะช่วยได้อย่างไร การรักษามะเร็งเต้านมน่ากลัว หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรทราบและหาวิธีปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดปัจจัย เสี่ยง บางคนครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งควรรีบมาตรวจเต้านม วิธีตรวจที่นิยมและได้ผลแม่นยำที่สุดมี 3 วิธี คือการตรวจร่างกายโดยแพทย์ การทำแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์ และการนำชิ้นเนื้อมาตรวจ หากตรวจทั้ง 3 อย่างร่วมกันจะมีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคประมาณ 99-100% ซึ่งสูงกว่าการตรวจอย่างใดอย่างหนึ่ง ขอขอบคุณข้อมูลจาก |
women.kapook.com |