สมาคมโรคเต้านมฯ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแนวใหม่ ลดปัญหาเรื่อง แขนบวมหลังผ่าตัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ให้สามารถได้รับการรักษาอย่างมีมาตรฐานที่ดีมากขึ้นอย่างเท่าเทียมกันทั่ว ประเทศ มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่จัดการรักษาได้ในทุกระยะของโรค และรักษาให้หายขาดได้ประมาณ 80-90% หากตรวจพบและทำการรักษาตั้งแต่ระยะที่เริ่มเป็น ข้อมูลทางสถิติของโรคมะเร็งในเพศหญิงของประเทศไทย พบว่ามะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ มะเร็งเต้านม ในขณะที่ข้อมูลจากทั่วโลกพบมะเร็งเต้านมได้บ่อยสุด และมะเร็งปากมดลูกพบน้อยกว่า เนื่องจากในปัจจุบันมีข้อมูลด้านมะเร็งปากมดลูกที่มากพอและยังมีวัคซีน ป้องกันมะเร็งปากมดลูก สำหรับมะเร็งเต้านมนั้นถึงแม้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งชนิดนี้เพียงพอแต่ ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกัน พันเอกพิเศษ นพ.วิชัย วาสนสิริ แพทย์ประจำกองศัลยกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า กล่าวว่า การผ่าตัดมะเร็งเต้านมแนวใหม่ที่เรียกว่า การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล (Sentinel lymph node dissection) นั้นเป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้ในการวินิจฉัยการกระจายของมะเร็งมายังบริเวณ ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้โดยพิสูจน์ว่า ต่อมน้ำเหลืองต่อมแรกที่จะตรวจพบการแพร่กระจายของมะเร็ง ที่เรียกว่าต่อมน้ำเหลือง Sentinel นั้นมีการกระจายของเซลล์มะเร็งมาหรือไม่และหากพิสูจน์ได้ว่ายังไม่มีการ กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองนี้ก็ไม่มีความจำเป็นในการเลาะต่อมน้ำ เหลืองที่อยู่ในระดับลึกลงไป ในอดีต การผ่าตัดมะเร็งเต้านมจะเอาก้อนเนื้องอกของมะเร็งเต้านม พร้อมทั้งต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกพร้อมๆ กันซึ่งเป็นวิธีมาตราฐาน ต่อมาในระยะหลังมีการผ่าตัดแบบเก็บเต้านมเอาไว้ แต่ก็ยังต้องผ่าต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เนื่องจากมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองก่อนที่จะไปที่ อื่น ๆ ปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบใหม่ คือ การผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง Sentinel (Sentinel Lymph Node Biopy) โดยใช้สีหรือใช้สารกัมตภาพรังสี จากทฤษฎีที่ว่ามะเร็งที่เต้านมก่อนที่จะกระจายไปที่อื่น เชื่อว่าจะไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ก่อน ต่อมน้ำเหลืองจะเป็นตัวคอยเก็บกักเซลล์มะเร็งไว้ก่อนที่จะกระจายไปที่อื่น ถ้าสามารถจะหาต่อมน้ำเหลืองต่อมนี้ไปตรวจได้ก่อน เพื่อหาเซลล์มะเร็งว่ามีหรือไม่มีโดยการฉีดสี ก็จะทำให้สามารถทำนายได้ว่าต่อมน้ำเหลืองที่อื่นๆ จะมีการกระจายหรือไม่ ถ้าตรวจแล้วที่ต่อม Sentinel ไม่พบการกระจายของเซลล์มะเร็งก็เชื่อได้ว่าต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ ที่รักแร้ไม่น่าจะมีเซลล์มะเร็ง แต่ถ้าตรวจแล้วพบว่ามีเซลล์มะเร็ง เซลล์มะเร็งนั้นอาจจะกระจายไปต่อมน้ำเหลืองตัวอื่นๆได้ จึงต้องมีการนำต่อมน้ำเหลืองไป เพื่อวินิจฉัยว่ามีเซลล์มะเร็งกระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ วิธีนี้สามารถบอกได้ว่าจะมีการกระจายหรือไม่ สำหรับวิธีการผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง Sentinel มีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศัลยแพทย์จะฉีดสีพิเศษหรือสารกัมมันตรังสีเข้าไปที่บริเวณเต้านม เพื่อศึกษาทางเดินน้ำเหลืองว่ามะเร็งจะเคลื่อนที่ไปตามทางเดินน้ำเหลืองทิศ ใดบ้างและ ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ขั้นตอนที่ 2 ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดด้วยแผลขนาดเล็กที่รักแร้เพื่อตัดต่อมน้ำเหลือง ที่ติดสีหรือตรวจพบกัมมันตรังสี ที่เรียกว่าต่อมน้ำเหลือง Sentinel 1-2 เม็ด ส่งให้พยาธิแพทย์ตรวจทางห้องปฏิบัติการว่ามีการกระจายของเซลล์มะเร็งมาใน ต่อมน้ำเหลืองที่ตัดออกมาหรือไม่ ซึ่งจะทราบผลในเวลา 30-40 นาที (ระหว่างการผ่าตัด) ถ้าพยาธิแพทย์ตรวจไม่พบเซลล์มะเร็ง ศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเลาะต่อมน้ำเหลืองที่ เหลืออยู่ในระดับลึกลงไปออก ข้อดีของการผ่าตัดลักษณะนี้ จะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แบบเดิมเช่น อาการแขนบวม, ชาใต้ท้องแขน, ต้องค้างสายระบายน้ำเหลืองนานๆ และภาวะหัวไหล่ติดได้ และลดค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและพักฟื้นของผู้ป่วยด้วย พันเอกพิเศษ นพ.วิชัย วาสนสิริ กล่าว ว่า การกระจายของมะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลืองเป็นตัวบอกพยากรณ์โรคที่ดีที่สุดที่จะ ช่วยบอกระยะโรคว่าระยะที่เท่าไหร่ ซึ่งส่วนใหญ่ถ้ามีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองแล้วจะเป็นระยะที่ 2 ขึ้นไป นอกจากนี้ การกระจายของเซลล์มะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลืองยังใช้ในการตัดสินใจในการให้การ รักษาเสริมหลังการผ่าตัด และถ้ามีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลืองการผ่าตัดรอบต่อมน้ำ เหลืองก็เป็นการเอามะเร็งที่รักแร้ออกไปเป็นการรักษาไปในตัว แต่วิธีนี้ก็มีผลข้างเคียง เช่น อาการชาใต้ท้องแขน อาการแขนบวม นอกจากนี้ผลข้างเคียงอื่นๆ ก็มี เช่น หัวไหล่ติด ด้านพลตรี นพ.สุรพงษ์ สุภาภรณ์ นายก สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแนวใหม่ ที่เรียกว่าการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล กับแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 8 จังหวัด อาทิ เช่น จังหวัดเชียงราย, พิษณุโลก, นครสวรรค์ ,อุดรธานี, อุบลราชธานี,นครราชสีมา, สุราษฏร์ธานีและหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม สามารถได้รับการรักษาอย่างมีมาตรฐานที่ดีมากขึ้นอย่างเท่าเทียมกันทั่ว ประเทศ "ปัจจุบันพบว่าโรคมะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงไทย และเป็นอันดับแรก ๆ เทียบเท่ากับมะเร็งปากมดลูก และจากข้อมูลการรักษาในปัจจุบันพบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยที่มาพบแพทย์และได้ผลการรักษาที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากพบภาวะมะเร็งช้าเกินไป หรือตรวจพบแต่ไม่ยอมมาปรึกษาแพทย์ ดังนั้น ทางสมาคมฯ จึงแนะนำให้หญิงไทยทั่วไป เริ่มตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป และควรตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมและตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปเพื่อให้ได้รับการรักษาได้เร็วที่สุดในกรณีที่พบว่าเป็นมะเร็ง" นายแพทย์สุรพงษ์กล่าว |
ที่มา www.meedee.net |