โฮมทิป หลอดไฟไม่ใช่เรื่องไกลตัวคุณอีกต่อไป


914 ผู้ชม

คุณเคยสำรวจดูหรือเปล่า ว่าบ้านที่คุณอยู่ใช้หลอดไฟชนิดอะไรอยู่


หลอดไฟไม่ใช่เรื่องไกลตัวคุณอีกต่อไป

หลอดไฟไม่ใช่เรื่องไกลตัวคุณอีกต่อไป

โฮมทิป หลอดไฟไม่ใช่เรื่องไกลตัวคุณอีกต่อไป

          คุณเคยสำรวจดูหรือเปล่า ว่าบ้านที่คุณอยู่ใช้หลอดไฟชนิดอะไรอยู่ ความจริงมันอาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร กับแค่เรื่องของหลอดไฟที่ให้ความสว่าง แต่จากจุดเล็กๆ ที่คุณไม่ให้ความสำคัญนี่เอง มันกลับเป็นตัวแปรสำคัญเกี่ยวกับสภาวะอากาศของโลกในปัจจุบัน


          หลอดไฟที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดตะเกียบ
 แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังใช้หลอดหลอดทังสเตนหรือหลอดไส้  ซึ่งมีกระบวนการคือใช้กระแสไฟฟ้าที่ผ่านไส้หลอด  จะทำให้ไส้หลอดร้อน  และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น หลอดชนิดนี้จะเปล่งแสงออกมาพร้อมกับความร้อน ถึงแม้ว่าหลอดไส้มีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับหลอดชนิดอื่นๆ  แต่ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานเป็นจำนวนมาก  ซึ่งจะต่างจากหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดตะเกียบ  หลอดชนิดนี้จะทำงานโดยการให้แสงสว่างที่ไม่เกี่ยวกับการให้ความร้อน  แต่เป็นการถ่ายเทประจุแทน  และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าหลอดไส้  อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า 


           ถึงแม้ว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์กับหลอดตะเกียบจะช่วยประหยัดพลังงานเหมือนกัน
 แต่หลอดตะเกียบจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า โดยหลอดไฟแต่ละประเภทจะมีหน่วยวัดเป็นวัตต์ (w: watt) ว่าแต่ละหลอดใช้ไฟกี่วัตต์ และมักจะบอกว่ามีความสว่างเทียบเท่ากับหลอดมีไส้เดิมเท่าไร เช่นหลอด 9-10 วัตต์. ความสว่างเทียบเท่าหลอดมีไส้ 40 วัตต์  หลอดตะเกียบ 15-20 วัตต์จะเทียบเท่าหลอดมีไส้ 60-100 วัตต์เป็นต้น  แต่ถ้านำหลอดตะเกียบมาเทียบกับหลอดนีออนหรือฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้กันทั่วไป ถ้าหลอดตะเกียบ 10 วัตต์สว่างเทียบเท่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ 20 วัตต์  หลอดตะเกียบ 15-20 วัตต์ก็สว่างเทียบเท่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบยาว 40 วัตต์ โดยประมาณใช้หลอดไฟแบบประหยัด เพราะมีความคงทนมากกว่าหลอดไฟธรรมดา 12 เท่า

               จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) พบว่าหากประชาชนหันมาใช้หลอดผอมใหม่เบอร์ 5 แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ T8 หรือหลอดผอมเดิม คาดว่าจะลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 4,790 ล้านหน่วยต่อปี นับตั้งแต่ปี 2555 ลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้ 1,040 เมกะวัตต์ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.1 ล้านตัน ต่อปี และหากประชาชนหันมาใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 30 ล้านหลอด ก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 800,000 ตันต่อปี เลยทีเดียว

                  ปัจจุบันจากการสำรวจ ปริมาณการใช้หลอดไฟฟ้าแสงสว่างในประเทศไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 200 ล้านหลอด แบ่งเป็นหลอดนีออนมากที่สุด 155 ล้านหลอด , หลอดตะเกียบ 15 ล้านหลอด และหลอดไส้ 30 ล้านหลอด จากปริมาณการใช้หลอดไส้ 30 ล้านหลอดนี้ ทำให้เราสร้างภาระในการผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 330 ล้านหน่วยต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึงปีละ 1,000 ล้านบาท หากเราเปิดใช้หลอดไส้ 1 ชั่วโมง ต้องเสียค่าไฟฟ้าเป็นเงิน 3 บาท เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับการใช้หลอดตะเกียบที่ค่าไฟ 3 บาทเท่ากัน เราสามารถใช้งานได้นานถึง 12 ชั่วโมง

                  ยิ่งเมื่อเทียบความคุ้มค่าแล้ว หลอดไส้มีอายุการใช้งานเพียง 1,000 ชั่วโมง ขณะที่หลอดตะเกียบมีอายุการใช้งานนานถึง 6,000 ชั่วโมง และหากเทียบการใช้พลังงานกันระหว่างหลอดไส้กับหลอดตะเกียบ หลอดไส้มีประสิทธิภาพต่ำกว่าหลอดตะเกียบถึง 5 เท่า และให้แสงสว่างเพียง 10 % เพราะไฟฟ้าที่ป้อนให้หลอดไส้จะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนกว่าร้อยละ 90 หากนำมาเทียบกับปริมาณหลอดไส้ 30 ล้านหลอดที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันแล้วเราจะสร้างปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญในการทำให้โลกร้อนมากมายขนาดไหนกัน

              คุณเห็นหรือยังว่า แค่หลอดไฟเรื่องเล็กๆ ที่คุณอาจมองข้ามไป คิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร ส่งผลเสียต่อโลกเรามากขนาดไหน หากคุณยังอยากให้โลกของเราน่าอยู่ต่อไป และช่วยลดภาวะโลกร้อน ก็ถึงเวลาที่จะหันมาเปลี่ยนใช้หลอดตะเกียบตอนนี้ยังไม่สายครับ   

ที่มา www.homepro.co.th  

อัพเดทล่าสุด