กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ระเบิดที่ เชอร์โนบิล


1,040 ผู้ชม


กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ระเบิดที่ เชอร์โนบิล


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิล
เชอร์โนบิล
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิล
เชอร์โนบิล
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิล
เชอร์โนบิล

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก youtube.com , ไทยโพสต์, abovetopsecret.com, aboutmyplanet.com
 
          หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีความรุนแรงถึง 9 ริกเตอร์ จนทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูงถึง 10 เมตรซัดเข้าประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนประชากรในพื้นที่แล้ว ยังส่งผลกระทบไปถึงเตาปฏิกรณ์ หมายเลข 1 ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ที่เกิดระเบิดขึ้น จนทำให้กัมมันตรังสีและสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมา ทำให้ทั่วโลกวิตกกังวลว่าเตาปฏิกรณ์ฟุกุชิมาในญี่ปุ่นจะเกิดขึ้นซ้ำรอยกับ เชอร์โนบิลหรือไม่ ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นแม้จะผ่านมาแล้ว 25 ปี แต่หลายคนยังจำมันได้ดี และวันนี้เราจะพาย้อนกลับไปดูอุบัติภัยนิวเคลียร์ที่เคยเกิดขึ้นที่เชอร์โน บิลกันอีกครั้ง

          ย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2529 หรือ 25 ปี ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุสะเทือนขวัญที่ถือว่า เป็นอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของโลก เมื่อเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเป็นเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 1 ใน 4 ของโรงงานไฟฟ้าเชอร์โนบิล ที่ตั้งอยู่ที่นิคมเชอร์โนบิล ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ ใกล้เมืองพริเพียต จังหวัดเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส (ในขณะนั้นยูเครนและเบลารุสยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) ได้เกิดระเบิดขึ้น หลังการทดลองผิดพลาด ทำให้มีเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิตจำนวน 31 คน มีผู้บาดเจ็บทางกัมมันตรังสี 203 คน  และทำให้สารกัมมันตรังสีเกือบทั้งหมดแพร่กระจายสู่บรรยากาศ และขยายขอบเขตปกคลุมทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,000 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน 
         ซึ่งอุบัติภัยในครั้งนั้น  ถูกประเมินว่า มีความรุนแรงยิ่งกว่าการทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มนางาซากิและฮิโรชิมาในญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2488 ถึง 200 เท่า และตามรายงานของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ และองค์การอนามัยโลก ระบุว่า แม้ว่าเชอร์โนบิลจะปิดตัวลงแล้ว แต่ก็ยังคงมีสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศ ทำให้ประชาชนอีก 5.5 ล้านคน ที่ยังคงอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตภาพรังสีที่ยังมีปนเปื้อนอยู่
       
          แต่มาวันนี้ ความวิตกังวลถึงอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งใหม่กำลังจะเกิดขึ้นอีกครา เมื่อประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 54 แห่งในประเทศ ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวขนาด 9  ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา จนทำให้เกิดคลื่นสึนามิที่พัดเข้าใส่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ จนทำให้เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด ขึ้นมาในวันที่ 12 มีนาคม  และขณะนี้ เตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ซึ่งมียูเรเนียมอยู่จำนวนมาก  ได้เกิดระเบิดขึ้นแล้ว เนื่องจากระบบหล่อเย็นไม่ทำงานหลังเกิดสึนามิ  ทำให้ทางการญี่ปุ่นมีคำสั่งเร่งอพยพประชาชนกว่าแสนคนที่อาศัยอยู่ภายในรัศมี 20 กิโลเมตรออกไป เบื้องต้นมีผู้บาดเจ็บ 4 ราย เสียชีวิต 1 ราย และสูญหายอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งมีกัมมันตภาพรังสีรั่วออกมาบางส่วนแล้ว   และมีความเป็นไปได้ที่โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์จะเกิดการระเบิดขึ้นอีก ครั้ง     
 
          จากอุบัติเหตุด้านนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น  ทำให้นานาประเทศต่างหันมาทบทวนนโยบายด้านพลังงานนิวเคลียร์กันอย่างกว้าง ขวาง โดยที่เมืองสตุ๊ตการ์ต ประเทศเยอรมนี กลุ่มต่อต้านนิวเคลียร์ราว 60,000 คน ออกมาเดินขบวนต่อต้านโครงการเพิ่มโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ และที่ออสเตรเลีย กลุ่มต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ในนามมูลนิธิอนุรักษ์ออสเตรเลีย ได้เร่งรณรงค์ให้ตระหนักถึงภัยที่เกิดในญี่ปุ่น รวมถึงบทเรียนจากอุบัติภัยร้ายแรงด้านนิวเคลียร์ที่เคยเกิดจากโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ระเบิดนั้น ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วมากกว่า 1 ครั้ง ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้
       
          28 มีนาคม 2522 : เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ รัฐเพนซิลเวเนีย ของสหรัฐฯ สาเหตุอุบัติภัยครั้งนั้นเกิดจากแกนเตาปฏิกรณ์ถูกหลอมละลาย ทำให้เกิดการปนเปื้อนรังสี แต่โชคดีที่สารกัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระะจายเฉพาะพื้นที่ภายในโรงงานเท่านั้น ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ความร้ายแรงของเหตุการ์ดังกล่าวอยู่ในระดับ 5 จาก 7 อันดับความร้ายแรงทางนิวเคลียร์ ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ
          เดือนสิงหาคม 2522 : เกิดการรั่วไหลของยูเรเนียมในโรงงานนิวเคลียร์ลับ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเออร์วิน รัฐเทนเนสซี สหรัฐฯ มีพลเรือนปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีไปกว่า 1,000 คน
          เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม 2524 : โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สึรุกะของญี่ปุ่นเกิดเหตุรั่วไหลของรังสี 4 ครั้งติดต่อกัน  มีผู้ปนเปื้อนสารพิษถึง 278 คน
      
          26 สิงหาคม 2529 : อุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของโลกอุบัติขึ้น เมื่อเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด หลังการทดลองผิดพลาด มีผู้ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีขั้นร้ายแรงราว 203 คน ในจำนวนนี้มี 31 คน เสียชีวิตภายใน 3 เดือน เรื่องราวถูกเปิดเผยในเวลาต่อมา หลังมีกลุ่มเมฆกัมมันตรังสีขนาดใหญ่ลอยอยู่เหนือน่านฟ้าแถบยุโรปเหนือ  โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศระบุว่า เป็นอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งนี้อยู่ในระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
       
          เดือนเมษายน 2536 : โรงงานแปรสภาพเชื้อเพลิงลับใน เขตตอมสค์-7 ทางตะวันตกของไซบีเรียได้ปล่อยกลุ่มก๊าซกัมมันตภาพรังสี ซึ่งประกอบไปด้วยยูเรเนียม-235 พลูโตเนียม-237 และวัสดุฟิสไซล์ หรือวัสดุธาตุนิวเคลียร์ออกมา ทว่าไม่มีการเปิดเผยถึงจำนวนผู้บาดเจ็บ ล้มตาย
       
          เดือนพฤศจิกายน 2538 : มีการรายงานเหตุปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีขั้นร้ายแรงในเมืองเชอร์โนบิลอีก ครั้ง ระหว่างการเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์ตัวหนึ่ง แม้มีความพยายามปกปิดเรื่องดังกล่าว แต่ในที่สุดก็ข่าวก็แดงออกมา
       
          11 มีนาคม 2540 :
การทดลองในโรงงานนิวเคลียร์ เมืองโทไกมูระ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ต้องหยุดชะงัดชั่วคราว เมื่อเกิดเหตุระเบิด และเพลิงไหม้ ซึ่งมีผู้เคราะห์ร้ายปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี 37 คน
       
          30 กันยายน 2542 : มีผู้เสียชีวิต 2 คนจากอุบัติเหตุในโรงงานผลิตยูเรเนียม เมืองโทไกมูระ ญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่อุบัติภัยเชอร์โนบิล สาเหตุครั้งนี้เกิดจากเจ้าหน้าที่เติมยูเรเนียมลงในถังตกตะกอนมากเกินไป จากความมักง่าย เพื่อต้องการประหยัดเวลา โดยมี เจ้าหน้าที่เสียชีวิต  2 คน ซึ่งทั้ง 2 คนเป็นต้นเหตุของปัญหาในครั้งนี้ ทั้งพบผู้ปนเปื้อนสารพิษมากกว่า 600 คน และรัฐบาลสั่งให้ประชาชนอีกกว่า 320,000 คนห้ามออกจากบ้านมากกว่า 1 วัน 
       
          9 สิงหาคม 2547 : เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หนึ่งในสามตัวของโรงงานนิวเคลียร์มิฮามะ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว 350 กิโลเมตร หยุดทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น ก่อนที่ความร้อนสูงจะรั่วไหลจนอาจทำให้แกนกลางหลอมละลาย คนงาน 4 คนเสียชีวิต และอีก 7 คนถูกเพลิงไหม้ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากการรั่วไหลไอน้ำที่ไร้สารกัมมันตภาพรังสีอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นภัย นิวเคลียร์ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดของญี่ปุ่น
          จากเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดหลายแห่ง และล่าสุดเกิดที่ประเทศญี่ปุ่น  ทำให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ออกมาเปิดเผยถึงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยว่า หลังจากที่มีการศึกษาทั้งข้อดี และข้อเสียของการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยนั้น พบว่า นอกจากปัญหาเรื่องต้นทุนที่ค่อนข้างจะสูงกว่าจากที่เคยประเมินมากแล้ว ยังมีเรื่องของระบบความปลอดภัยที่เรายังต้องศึกษากันอีกค่อนข้างมาก จึงคิดว่า อาจต้องยืดเวลาในการดำเนินการออกไปอีกจนกว่าเราจะมั่นใจว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะขนาดประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่า มีความพร้อมในการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งยังเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ในการรับมือภัยพิบัติแล้วก็ยังประสบปัญหา เรื่องโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด จึงเป็นเรื่องที่ไทยต้องทบทวนให้ดีก่อนที่จะมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
         
         ถึงแม้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมีประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ก็มีโทษต่อโลกเราได้เช่นกัน ดังที่เคยเกิดอุบัติเหตุที่โรงงานไฟฟ้าเชอร์โนบิล ในสหภาพโวเวียต และที่เกิดอยู่ที่โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ของประเทศญี่ปุ่นในขณะนี้


ภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฟุกุชิมะ ระเบิด
ภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฟุกุชิมะ ระเบิด

เจ้าหน้าที่ตรวจกัมมันตภาพรังสี หลังเหตุการณ์เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด



 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    

อัพเดทล่าสุด