โฮมทิป ระวังไว้ก่อนปลวกบุกบ้าน หาวิธีป้องกันปลวกเข้าบ้าน


1,167 ผู้ชม

อันดับแรกเราต้องมาทำความรู้จักกับ ’ปลวก’ ให้ ดีเสียก่อน คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าปลวกนั้นชอบกินเนื้อไม้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปลวกไม่ได้พิสมัยเนื้อไม้สวยๆ นี้เลยแม้แต่นิดเดียว


ระวังไว้ก่อนปลวกบุกบ้าน

โฮมทิป ระวังไว้ก่อนปลวกบุกบ้าน หาวิธีป้องกันปลวกเข้าบ้าน+ สาเหตุที่ทำให้ปลวกบุกบ้าน

          อันดับแรกเราต้องมาทำความรู้จักกับปลวกให้ ดีเสียก่อน คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าปลวกนั้นชอบกินเนื้อไม้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปลวกไม่ได้พิสมัยเนื้อไม้สวยๆ นี้เลยแม้แต่นิดเดียว สิ่งที่มันชอบคือเซลลูโลส (Cellulose) ในเนื้อไม้ต่างหากที่เป็นอาหารอันโอชะของมัน 
          ดังนั้นไม่เพียงแต่ไม้ที่จะต้องผุพังกลายเป็นกากอาหารของปลวกแล้ว แต่ยังรวมไปถึงอะไรก็ตามที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ ผ้า หนังสัตว์ พรม หนังสือ และสิ่งของอีกมากมายหลายชนิดที่สามารถหาพบได้ในบ้านทั่วไป
 

+
เปิดตัวปลวก มารร้ายตัวจิ๋ว
          ปลวกที่จัดว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจสำหรับบ้านเรือนของเราก็คือ ปลวกใต้ดิน (Sub-Terranean Termites) พวกนี้ถือเป็นศัตรูโครงสร้าง (Structural Pests) ที่ทำความเสียหายสูงสุดถึง 95% ของ ความเสียหายทั้งหมด โดยอาณาจักรของปลวกพวกนี้อยู่ใต้ดิน และอาศัยร่วมกันตามแบบฉบับของสัตว์ที่เรียกว่าแมลงสังคม ในรังปลวกใต้ดินจะเต็มไปด้วยประชากรปลวกนับล้านๆตัว
          โดยแบ่งแยกหน้าที่กันตามประเภทของมัน คือ ปลวกนางพญาและราชา ทำหน้าที่วางไข่เพิ่มประชากร ปลวกทหาร ทำหน้าที่ป้องกันรังและต่อสู้ศัตรูผู้บุกรุก ปลวกงาน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้าง ซ่อม ขยายรังและทางเดิน และปลวกขยายพันธุ์ ทำหน้าที่ขยายพันธุ์ ซึ่งเราเห็นปลวกชนิดนี้อยู่บ่อยครั้งในรูปของแมลงเม่า และอาจกล่าวได้ว่าวงจรชีวิตของปลวกใต้ดินนั้น เริ่มต้นมาจากแมลงเม่านี่เอง


+ เตรียมรับมือกับพวกปลวก

          วิธีป้องกันปลวกที่ดีก็คือการป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ โดยกำจัดแหล่งสร้างรังของมัน ทำลายทางขึ้นลง หรือเส้นทางลำเลียงพล พร้อมกับการสร้างแนวป้องกันสำหรับการบุกรุกใหม่ในอนาคต ซึ่งวิธีป้องกันปลวกง่ายๆ มีดังนี้

     1. ก่อน อื่นต้องรู้จักพฤติกรรมของปลวก ปลวกจะชอบอยู่ในพื้นที่ชื้นและมืดทึบ ดังนั้น เราจึงควรหมั่นตรวจสอบบ้าน โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความชื้นและมืดทึบเป็นพิเศษ เช่น ห้องใต้ดิน พื้นที่ใต้บันได ฝ้าเพดาน ตามขอบบัวพื้น ผนัง ช่องผนัง ที่ฝังท่อระบายน้ำ และผนังไม้ที่กรุสองชั้น อย่างสม่ำเสมอ
     2. ควรเก็บเศษวัสดุก่อสร้าง เช่น เศษไม้ เศษสิ่งปฏิกูลต่างๆ ทิ้งหรือทำลายให้หมดในขณะที่ทำการป้องกันปลวก และหลังการก่อสร้าง
     3. ก่อนก่อสร้าง ให้อัดเคมีลงดินรอบแนวคานด้านใน-นอก และฉีดเคลือบผิวดินในทุกๆ ตารางนิ้ว รวมทั้งโดยรอบของตัวอาคาร 1 เมตรและบริเวณที่มีความชื้นสูง
     4. หากตรวจพบกองดินหรือทางเดินของปลวกให้พยายามค้นหาให้ถึงจุดที่ปลวกขึ้นมา แล้วทำลายทิ้งโดยใช้สเปรย์ฆ่าปลวกฉีดทิ้งไว้สัก 1-2 วัน แล้วจึงตรวจสอบดูอีกครั้ง หากยังมีอยู่ให้ขุดดินลงไปแล้วฉีดยาซ้ำ
     5. ผสมน้ำยากันปลวกลงในซีเมนต์ก่อนเทพื้นบ้าน
     6. ราดน้ำยาผ่านระบบท่อใต้อาคาร (วิธีนี้ควรทำตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง) ระบบ ท่อจะเดินตามคานและเจาะรูที่ท่อเป็นระยะๆ แต่ท่อจะไม่สัมผัสกับดินเนื่องจากจะทำให้ท่ออุดตัน ซึ่งระบบนี้จะสะดวกสบายกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องเข้าไปในตัวบ้าน ไม่ต้องทุบพื้นหรือเจาะรูเพื่ออัดน้ำยาให้ตัวบ้านหลังจากอัดน้ำยาในครั้งแรก หมดอายุ
     7. การเลือกไม้ในการปลูกสร้างบ้าน ควรเลือกไม้ที่มีความทนทานต่อการทำลายของปลวก อย่างไม้สัก ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้ชิงชัน และไม้ประดู่ แต่ถ้าจำเป็นต้องเลือกใช้ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยาง หรือไม้สน ควรอาบน้ำยาป้องกันเสียก่อน
     8. ฉีด เคมีเคลือบโครงไม้ โดยให้ซึมเข้าไปยังเนื้อไม้และเน้นตามรอยเลื่อนรอยต่อ ทั้งนี้เป็นการป้องกันการเกิดขึ้นใหม่ของปลวก มอด ด้วง รวมถึงเชื้อราต่างๆ
     9. ไม่ ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ใกล้บ้าน เพราะรากจะเป็นช่องทางให้ปลวกเข้าสู่ตัวบ้านได้ นอกจากนี้ควรหมั่นดูแลต้นไม้ต่างๆ ที่อยู่บริเวณบ้าน หากพบว่ามีต้นไม้ตายไป ควรกำจัดทิ้ง
     10. พยายามป้องกันไม่ให้แมลง เม่าบินเข้ามาในบ้าน เพราะแมลงเม่าก็คือปลวกเจริญพันธุ์นั่นเอง เมื่อเข้ามามันจะหาที่สร้างรังและวางไข่ซึ่งกลายเป็นปลวกได้ในอนาคต ช่วงเวลาที่ควรจะระมัดระวังแมลงเม่าเป็นพิเศษคือช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือน มิถุนายน และระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ถ้าพบว่ามีแมลงเม่าหลุดเข้ามาในบ้าน ควรพ่นละอองน้ำใส่มันแล้วกวาดรวมกัน ฉีดด้วยยาฆ่าแมลง ถือเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม

เมื่อรู้ที่มาที่ไปและวิธีกำจัดป้องกันแล้ว ปลวก ก็ไม่ใช้สิ่งหน้ากลัวอีกต่อไปเมื่อปลวกขึ้นบ้าน

ที่มา www.homepro.co.th

อัพเดทล่าสุด