https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
เรื่องน่าสนใจ ถ้าเกิดแผ่นดินไหวเราจะต้องทำอย่างไร MUSLIMTHAIPOST

 

เรื่องน่าสนใจ ถ้าเกิดแผ่นดินไหวเราจะต้องทำอย่างไร


1,014 ผู้ชม

คง จะยังจำเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ประเทศเฮติ ได้นะครับ เหตุการณ์นั้นเป็นโศกนาฏกรรมและเป็นมหันตภัยใกล้ตัวมนุษย์เราที่เกิดจากแผ่น ดินไหวที่มีความรุนแรงมากถึง 7.0 ริกเตอร์


การป้องกันตนเองจากภัยแผ่นดินไหว
ผศ.ดร.อนุเทพ ภาสุระ
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี

          ท่านผู้ฟังที่เคารพคงจะยังจำเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ประเทศเฮติ ได้นะครับ เหตุการณ์นั้นเป็นโศกนาฏกรรมและเป็นมหันตภัยใกล้ตัวมนุษย์เราที่เกิดจากแผ่น ดินไหวที่มีความรุนแรงมากถึง 7.0 ริกเตอร์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดขึ้นห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศไปราว 25 กิโลเมตร และยังพบอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกไม่น้อยกว่า 25 ครั้ง ซึ่งมีความแรงอยู่ที่ประมาณ 5 - 8 ริกเตอร์ หน่วยงานกาชาดสากลได้รายงานว่ามีมากกว่า 3 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ และมีคนเสียชีวิตมากกว่า 300,000 คน และประเมินว่าแผ่นดินไหวที่เฮตินี้ถือเป็นหายนะครั้งรุนแรงที่สุดเท่าที่ องค์กรสหประชาชาติเคยประสบมา
          ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว มีสาเหตุมาจากพลังงานที่สะสมอยู่ในเปลือกโลก ซึ่งสามารถที่จะดัน ดึง ผลัก หรือกระทำต่อหินชั้นแข็งภายในโลก ทำให้เกิดแนวแตกร้าวขึ้น แนวแตกร้าวนี้จะมีการเคลื่อนตัว ขยับตัว หรือปรับตัว เสียดสีกันตลอดเวลา ทำให้ปล่อยพลังงานออกมา สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ ถ้าหากการเคลื่อนตัวหรือการปรับตัวของแนวแตกร้าวเป็นไปโดยสม่ำเสมอ และค่อยเป็นค่อยไปก็จะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ซึ่งตามปกติแล้วจะมีการเกิดแผ่นดินไหวที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายประมาณ 1,000 ครั้ง/วัน แต่ถ้าเปลือกโลก มีการปรับตัวผิดปกติไปอย่างรุนแรงหรือเกิดขึ้นทันทีทันใด ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมหาศาลได้ดังเช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญๆ ของโลก
          วันนี้ผู้เขียนจึงอยากจะเล่าถึงข้อปฏิบัติและป้องกันตนเองเมื่อเกิดแผ่นดิน ไหว อันจะเป็นการผ่อนหนักให้เป็นเบาในกรณีที่ผู้ฟังประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหว สิ่งที่ควรปฏิบัติ ได้แก่
          1. ควรมีไฟฉาย นกหวีด และกระเป๋ายาเตรียมพร้อมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนในบ้านทราบว่าอยู่ที่ไหน เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินทุกคนจะหยิบเอามาใช้งานได้ทันที
          2. ควรศึกษาวิธีการปฐมพยาบาลขั้นต้นเพื่อใช้งานยามฉุกเฉิน และมีรายชื่อสถานพยาบาลพร้อมโทรศัพท์ติดต่อเมื่อมีผู้ป่วยมากจะได้จัดส่งไป รักษาพยาบาลได้ทันที
          3. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วแก๊ส ตำแหน่งสะพานไฟสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า เพื่อที่จะปิดวาล์วดังกล่าวได้ทันทีเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน
          4. อย่าวางของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูงๆ เพราะเมื่อมีอาการสั่นไหวสิ่งของอาจตกลงมาทำให้บาดเจ็บได้
          5. ผูกเครื่องใช้ให้แน่นกับพื้นและยึดเครื่องประดับบ้านที่หนักๆ เช่น ยึดตู้ถ้วยชามไว้กับฝาผนัง
          6. อยู่อย่างสงบ ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ ถ้าอยู่ในบ้าน ก็ขอให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ขอให้หาที่หลบภัย ส่วนใหญ่คนที่ได้รับบาดเจ็บเป็นเพราะวิ่งเข้าและออกจากบ้าน ถ้าอยู่ในบ้านให้อยู่ในส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรงอยู่ห่างจากหน้าต่างและ ประตูกระจก ถ้าอยู่ในอาคาร ควรออกห่างจากอาคารสูงให้ไกลที่สุด เพราะกระจกผนังจะแตกกระเด็นไกลมาก
          7. ถ้าอยู่ในที่โล่งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ เช่น ป้ายโฆษณาใหญ่ๆ ที่อาจตกลงมา อาจทำให้เกิดอันตรายได้
          8. อย่าใช้เทียนไข ไม้ขีดหรือสิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะบริเวณนั้นอาจมีแก๊สรั่วระเหยอยู่
          9. ถ้ากำลังขับรถยนต์ ให้หยุดรถชิดขอบถนนและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนหยุดลง
          10. ห้ามใช้ลิฟท์ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว เพราะไฟฟ้าดับลิฟท์จะติด
          11. ควรรีบออกไปจากตึกที่เสียหาย เพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับซึ่งอาจเกิดขึ้นภายหลังได้
          12. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็น ควรเก็บแบตเตอรีสำหรับโทรศัพท์ไว้รับ-ส่งข่าวที่สำคัญเท่านั้น
          13. อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจว่าสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบาย หรืออาจมีแก๊สถูกแรงดันขึ้นมา
          14. สวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษแก้วและสิ่งหักพังทิ่มแทงที่เท้า
          15. หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แล้ว จะมีแผ่นดินไหวย่อยๆ ตามมาอีกมากมาย อาจถึงหลายสิบถึงหลายร้อยครั้ง แรงสั่นสะเทือนอาจจะอยู่ในระดับที่คนรู้สึกหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ความรุนแรง และอาจมีอาคารถล่มหลังจากที่ความรู้สึกสั่นไหวสงบไปแล้ว
บรรณานุกรม
สุพรรณี ชะโลธร. (2548). ธรณีวิทยาแผ่นดินไหว. วารสารเกษมบัณฑิต. 7(1), 1-11.
พัชรพิมพ์ เสถบุตร. (2550). แผ่นดินไหว ใกล้หรือไกลตัวเรา. ผู้จัดการ. 25(290), 150-154. /

ที่มา www.uniserv.buu.ac.th

อัพเดทล่าสุด