การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในวัยรุ่น


1,477 ผู้ชม


ครอบครัว-ชุมชนต้องรับรู้มีส่วนร่วมหาทางป้องกัน
 
            ปัญหา การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรปฏิเสธไม่ได้ว่า ย่อมมาจากครอบครัว เพราะบางครอบครัวยังไม่เข้าใจเรื่องของเพศศึกษา โดยผลักภาระหน้าที่การให้ความรู้ด้านเพศศึกษาให้ครู อาจารย์หรือคนอื่นสอนแทน เพราะห่วงการทำมาหากิน ทั้งๆ ที่เรื่องเพศศึกษานั้นผู้ปกครองเองสามารถให้ความรู้กับลูกหลานได้ใกล้ ชิดกว่าคนอื่น และเด็กจะเชื่อฟังมากกว่า
 
            เมื่อ เกิดการตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่พร้อมนั้น ปัญหาย่อมตามมาอีกมากมาย ทั้งการเสียอนาคตของทั้งฝ่ายชายและหญิง ปัญหาครอบครัวแตกแยก การเลี้ยงลูกที่ไม่ถูกวิธีเพราะตัวพ่อแม่เด็กเองไม่มีวุฒิภาวะในการอบรม เลี้ยงดู การทอดทิ้งลูกให้เป็นลูกกำพร้า ซึ่งเด็กที่ถูกทอดทิ้งนี้เองเปราะบางที่จะกลายเป็นปัญหาของาสังคมได้ในอนาคต
 
            นาย มนัส กล่าวว่า วิธีการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรนั้นจะต้องใช้การมีส่วนร่วมใน ชุมชน ให้คนในชุมชนได้รับรู้ปัญหาด้วยตัวเอง กระทั่งคิด วางแผนและแก้ปัญหาด้วยคนในชุมชนเอง เพราะคนในชุมชนย่อมรู้ถึงปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาได้ถูกจุดกว่าคนอื่น อย่างไรก็ดีในส่วนภาครัฐ หรือฝ่ายวิชาการก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือในด้านการให้ความรู้เป็นแรงเสริมเข้า ไปด้วย
 
            "ถ้า ยังไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังจากคนในพื้นที่เอง เชื่อว่าจะเป็นปัญหาแบบนี้อีกนานและแก้ปัญหาได้ล่าช้า เพราะลำพังหวังพึงการแก้ปัญหาจากภาครัฐก็จะไม่ถูกจุดถูกทาง เพราะภาครัฐมองในภาพกว้าง ไม่ได้มองและค้นหาต้นตอของปัญหาที่แท้จริง เมื่อได้รับการรายงานแล้วก็ทุ่มงบประมาณลงมาแก้ปัญหา ซึ่งมันก็ไม่ตรงจุดไม่ยั่งยืน ไม่ได้ศึกษาบริบทของพื้นที่ว่าแนวทางแก้ปัญหาแท้จริงนั้นจะทำอย่างไร ต้องให้คนพื้นที่มองปัญหาและแก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยมีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน ปัญหาจึงจะหมดไปและยั่งยืน"นายมนัส กล่าว
 
            ด้าน นพ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการบริหารแผนเปิดรับทั่วไปและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวเสริมว่า ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อันดับแรกเราต้องมาดูว่า "วัยอันควร" ใครเป็นคนกำหนด เพราะในอดีต สตรีไทยส่วนใหญ่ก็จะมีลูกตั้งแต่อายุยังน้อยด้วยกันทั้งนั้น ฉะนั้นอายุจึงไม่เกี่ยวข้องเพราะเป็นเรื่องของกายภาพ สรีระ ที่มีประจำเดือนแล้วก็สามารถมีท้องได้ แต่เรามากำหนดว่าอายุเท่านั้นเท่านี้มันไม่ถูกต้อง ต้องปรับความเข้าใจเรื่องวัยอันควรเสียใหม่ วัยอันควรต่อมาที่ต้องมาดูคือ เรื่องของวุฒิภาวะ วุฒิภาวะตรงไหนที่เหมาะสมกับการเป็นแม่คน มีหุ้นส่วนชีวิต มีคู่ครอง ที่พร้อมจะร่วมกันดูแลทายาทและสมาชิกใหม่ ก็พบว่าถูกตั้งอายุไว้ในช่วงประมาณ 25-26 ปี
 
            ทุก วันนี้เมื่อโลกเปลี่ยน ทุกอย่างเป็นเรื่องใกล้ตัว จับต้องได้เข้าถึงได้ง่าย ฉะนั้นวัยอันควร จึงต้องวัดกันที่ สรีระและวุฒิภาวะของคนๆ นั้นเป็นรายบุคคลไป เพราะบางคนอาจจะเหมาะสมกับการตั้งครรภ์ในวัยเด็กหรือบางคนก็เหมาะสมกับการ ตั้งครรภ์ช่วงอายุที่มากขึ้น ซึ่งแล้วแต่ความพร้อมของแต่ละบุคคล
 
            ครอบ ครัวหรือคนใกล้ชิดสามารถแก้ปัญหาและป้องกันได้อย่างไร นพ.บัญชา ตอบว่า การแก้ปัญหาต้องมอง 3 ระดับ คือ 1.เจ้าตัวต้องพยายามขัดเกลาให้ตัวเองมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม รู้จักการยับยั้งอารมณ์ การมีสติ 2.ผู้แวดล้อม ต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา และบ่มเพาะวุฒิภาวะให้กับเด็กและเยาวชน และ 3.ภาครัฐ ต้องช่วยดูแลในเรื่องนี้ โดยเฉพาะสื่อลามกอนาจาร สถานที่ล่อแหลม การปล่อยให้มีสิ่งยั่วยุมีอย่างกลาดเกลื่อนทั่วประเทศ สิ่งเหล่านี้เข้าถึงเด็กได้อย่างรวดเร็วกว่าอดีต รัฐจะต้องกวาดล้างและลงโทษอย่างจริงจัง การบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดและจริงจัง
 
            อีก ทั้งไม่ต้องโทษ หรือไปรณรงค์ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในช่วงงานช่วงเทศกาลต่างๆ เพราะไม่ว่าจะมีงาน มีเทศกาลไหน เด็กก็สามารถมีเพศสัมพันธ์กันได้ทุกเมื่อ นั่นเพราะรัฐสนับสนุนการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องง่ายโดยไม่รู้ตัว โดยจะเห็นได้จาก ตามร้านสะดวกซื้อจะมีการวางจำหน่ายถุงยางอนามัยในที่ๆ เด็กหยิบจับได้ง่าย เราเผลอที่ว่า ถุงยางอนามัยส่งเสริมการใช้เพื่อป้องกันเอดส์และการตั้งท้อง แต่เราปล่อยเกินไป เพศสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กเกินไป ไม่มีประเทศไหนในโลกที่จำหน่ายถุงยางอนามัยแบบบ้านเราที่หยิบจับได้ง่าย ประเทศอื่นจะเก็บไว้อย่างมิดชิด ซึ่งแบบนี้เป็นการบ่งชี้ว่ารัฐส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์เสียเอง กลายเป็นการส่งเสริมเพศสัมพันธ์โดยไม่รู้ตัว
 
            "ปัญหา นี้โทษเด็กไม่ได้ ปัญหาเกิดจากเพราะผู้ใหญ่ไม่ล้อมคอก เราต้องมาตระหนักและย้ำคิดกันให้ถ้วนถี่ว่า จะให้เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ พังเพราะเงื้อมมือของผู้ใหญ่เลยหรืออย่างไร" นพ.บัญชา กล่าวทิ้งท้าย
 
 
 
ที่มา  www.thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด