อาการตั้งครรภ์เริ่มแรก ของ การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นอย่างไร


5,720 ผู้ชม


การตั้งครรภ์นอกมดลูก
อาการตั้งครรภ์เริ่มแรก ของ การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นอย่างไร

โดย  นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล และทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก และผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
การตั้งครรภ์นอกมดลูกคืออะไร
การ ตั้งครรภ์นอกมดลูกคือภาวะที่ตัวอ่อนที่มีปฏิสนธิแล้วไปเจริญเติบโตที่อื่น นอกจากในโพรงมดลูก ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ (95%) มีส่วนน้อยเกิดขึ้นที่อื่น ๆ  เช่นที่รังไข่ ที่ปากมดลูกและในช่องท้องเป็นต้น โอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกมีประมาณ 1-2 % ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด

อันตรายที่เกิดจากการตั้งครรภ์นอก มดลูกคือ อวัยวะที่มันไปฝังอยู่จะแตกและมีเลือดออกในช่องท้อง สมัยก่อนศตวรรษที่ 19 คนที่ตั้งครรภ์นอกมดลูกจะเสียชีวิต 50% แต่ปลายศตวรรษที่ 19 อันตรายจากภาวะดังกล่าวลดลงเหลือเพียง 5 % เท่านั้น เพราะมีการรักษาโดยการผ่าตัด แต่สมัยนี้มีการวินิจฉัยได้เร็วขึ้นมาก อัตราการตายจึงลดลงเหลือน้อยกว่า 5 ต่อ 10,000
อะไรทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
ปัจจัย เสี่ยงแรกที่ทำให้เกิดตั้งครรภ์นอกมดลูก คือต้องมีประวัติตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน มีประวัติอักเสบในอุ้งเชิงกราน เคยผ่าตัดเกี่ยวกับท่อนำไข่ เป็นโรคเยี่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ เป็นเนื้องอกมดลูก มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน และตั้งครรภ์ขณะที่มีห่วงคุมกำเนิดอยู่ในมดลูก จึงต้องคอยระมัดระวังสำหรับคนที่มีอาการดังกล่าวมาแล้วนี้

บรรดาความ เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกมากที่สุด  คือ เคยมีประวัติตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อนเพราะมีโอกาสเกิดซ้ำถึง 15 % หลังจากเป็นครั้งแรกและถึง 30 % หลังจากเคยเป็น 2 ครั้ง แล้ว
รองลง มาคือ หลังจากมีอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งมักจะเกิดจากเชื้อกามโรคหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อหนองใน  เชื้อหนองในเทียม เป็นต้น การอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นสาเหตุได้ ได้แก่ ไส้ติ่งอักเสบที่หนองแตกกระจายเข้าไปในท้อง
การอักเสบที่ทำให้เยี่อ บุท่อนำไข่เสียหาย ตัวอ่อนเดินทางเข้าไปในมดลูกไม่ได้ จึงค้างอยู่ที่ท่อนำไข่ ปกติภายในท่อนำไข่จะมี เฃลล์ ที่คล้ายนิ้วมือเล็ก ๆ คอยโบกให้ตัวอ่อนเคลื่อนตัวเข้าไปในมดลูก เมื่อเยื่อเหล่านี้เสียหายก็ทำให้การเคลื่อนตัวของตัวอ่อน เป็นไปไม่ได้จึงเกาะและเจริญที่ท่อนำไข่แต่ท่อนำไข่เล็กและบางมาก จึงแตกออกและมีเลือดไหล เมื่อตัวอ่อนโตมากขึ้น
การเกิดเยื่อบุโพรง มดลูกที่ขึ้นผิดที่หรือเนื้องอกมดลูกหรือพังผืดก็ทำให้ท่อนำไข่ถูกเบียดให้ ตีบได้ หลังการผ่าตัดแก้ไขท่อนำไข่ที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากหรือการผ่าตัด แก้หมันก็ทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ 5 %
ตัวเลขที่ฟังแล้วน่า ตกใจคือ คนที่ตั้งครรภ์ขณะมีห่วงคุมกำเนิดในมดลูกจะเป็นท้องนอกมดลูกถึง 50% แต่ความจริงแล้ว เกิดได้น้อยมาก เพราะโอกาสตั้งครรภ์ขณะมีห่วงคุมกำเนิดมีน้อยมาก
อาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
อาการ เริ่มแรกของการตั้งครรภ์นอกมดลูกมักไม่ค่อยชัดเจน แต่มักมีประวัติขาดประจำเดือนมาก่อน แล้วมีอาการปวดท้อง มีเลือดออกทางช่องคลอด อาการปวดเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ร้าวไปหัวไหล่และอาการอ่อนเพลีย อาการมักรุนแรงที่ข้างใดข้างหนึ่งของท้องมากกว่าอีกข้างมีอาการอ่อนเพลีย เพราะเสียเลือด แต่อาการเหล่านี้ก็มีได้กับคนที่มีถุงน้ำในรังไข่ คนแท้งบุตรที่ตั้งครรภ์ในมดลูก แต่ถ้าเป็นมาก ๆ  คนไข้จะมีอาการเสียเลือด คือใจสั่น เป็นลมเวลายืน ซีด เพราะการเสียเลือดเข้าไปในท้อง

การวินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูก
สิ่ง แรกคือการซักประวัติและการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  แพทย์อาจตรวจคลำได้ก้อนที่มีอาการเจ็บในท้องน้อย การตรวจเลือดหาฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ การทำอัลตราซาวด์ การขูดมดลูก และการผ่าตัดส่องกล้องตรวจในช่องท้องก็ช่วยในการวินิจฉัย ถ้ามีอาการมาก ๆ ชัดเจน การตรวจพบก็เร็วขึ้น  ถ้ามีอาการน้อย  ๆ อาจต้องใช้เวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์กว่าจะวินิจฉัยได้

การตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมนของการตั้งครรภ์
ใน กรณีที่มีอาการน้อย ๆ จะช่วยการวินิจฉัยที่ถูกต้องได้ดี และรวดเร็ว โดยใช้หลักการว่า ฮอร์โมนการตั้งครรภ์(bHCG)  จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในกระแสเลือดจากการตั้งครรภ์ ถ้ามีการเพิ่มขึ้นไม่เป็นตามธรรมชาติของการตั้งครรภ์ อาจเกิดจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก
การทำ Ultrasound ขณะตั้งครรภ์โดยไม่เห็นถุงตัวอ่อนในมดลูก การขูดมดลูกโดยได้เนื้อออกมาไม่มีลักษณะของเนื้อเยื่อจากการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นของตัวอ่อนออกมาให้เห็น  เหล่านี้ก็อาจจะเป็นตั้งครรภ์นอกมดลูก
การ ทำผ่าตัดส่องกล้องในท้อง คือสอดกล้องเล็ก ๆ ผ่านผนังหน้าท้องตรงสะดือ เข้าไปดูในท้องก็จะเห็นได้ชัดเจน ถ้าเป็นท้องนอกมดลูกและมีเลือดออก วิธีนี้จะเป็นวิธีที่รักษาได้ในเวลาเดียวกันได้เลย
อันตรายของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
ครรภ์ นอกมดลูกในบางคนที่เป็นแล้วสลายตัวไปเองโดยไม่ทำให้เกิดอาการอะไรรุนแรง ก็จะหายไปเองได้โดยการสังเกตอาการไม่ต้องให้การรักษาอะไร แต่แพทย์จะกลัวเรื่องการมีอันตรายจากเลือดออกในท้องมากกว่า เพราะถ้าปล่อยให้เลือดออกในท้อง กว่าจะทราบว่าถึงขั้นอันตรายก็เป็นมากแล้ว และโดยทั่วไปเลือดที่ไหลออกมาจะระคายเคืองเยื่อบุช่องท้องหรืออวัยวะภายใน ช่องท้องทำให้มีอาการปวดมากจนคนไข้จะทนไม่ได้

การมีเลือดออกมาก ๆ ถ้าไม่เอาออก ก็ทำให้เกิดพังผืดในภายหลังได้ และรอยแผลของท่อนำไข่ตรงท้องนอกมดลูกครั้งก่อนก็เป็นสาเหตุให้เกิดตั้งครรภ์ นอกมดลูกในครรภ์ครั้งต่อไปได้
มีวิธีการรักษาครรภ์นอกมดลูกอย่างไรบ้าง

การ รักษามีตั้งแต่ การเฝ้าสังเกตอาการ การให้ยาเข้าไปทำลาย การผ่าตัดส่องกล้องช่องท้อง และการผ่าตัดช่องท้อง  การที่แพทย์จะเลือกวิธีใดก็แตกต่างกันเป็นราย ๆ  ไป รายที่มีอาการน้อยมากอาจเพียงแต่คอยเฝ้าดูอาการว่าจะหายเอง ในขณะที่ผู้ป่วยที่เสียเลือดจนช็อคก็ต้องรีบผ่าตัด
ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้วิธีผ่าตัดในการรักษา ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ
1. การผ่าตัดส่องกล้องในช่องท้อง และการเปิดแผลใหญ่ที่หน้าท้อง เพื่อเอาส่วนที่ท้องนอกมดลูกออกและหยุดเลือด
2. การผ่าตัดส่องกล้อง จะ เป็นวิธีที่นิยมมากกว่าเพราะแผลเล็กหายเร็วปลอดภัย โรคแทรกซ้อนน้อย การรักษาอาจเป็นแค่เอาส่วนของครรภ์นอกมดลูกออกทางปลายท่อหรือผ่าท่อแล้วเอา ส่วนของครรภ์นอกมดลูกออก หรือตัดท่อนำไข่ข้างนั้นเลย ขึ้นอยู่กับว่าเป็นน้อยหรือมากตามลำดับ
ในปัจจุบันที่เรามีการไปหา แพทย์ ตรวจกันเร็วขึ้นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ทำให้เราสามารถวินิจฉัยตั้งครรภ์นอก มดลูกได้ก่อนจะมีอาการแทรกฃ้อน ทำให้สามารถให้ยาเข้าไปทำลายตัวอ่อนและรกอ่อน ๆ ได้ ยานั้นคือ methotrexate ที่เรานำไปใช้รักษามะเร็งหรือภูมิแพ้บางอย่างเช่น SLE ยานี้จะไปทำลาย เฃลล์ตัวอ่อนให้สลาย วิธีนี้ได้ผลดี ปลอดภัย แต่ต้องวินิจฉัยได้เร็ว และต้องติดตามดูแล จนแน่ใจว่าหายแล้ว
เราอาจเคยได้ยินข่าวว่ามีการ ผ่าตัดเอาลูกที่ตั้งครภภ์นอกมดลูกที่ปล่อยจนโตแล้วออกมาได้ เหตุการณ์นี้ถือเป็นข้อยกเว้นเพราะโอกาสเกิดน้อยมาก
สรุป 
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก คือ การที่ตัวอ่อนไปฝังตัวที่อื่นนอกจากโพรงมดลูก เกือบทั้งหมดเกิดที่ท่อนำไข่
- สาเหตุของการตั้งครรภ์นอกมดลูกคือโรคที่ท่อนำไข่ทำให้ขัดขวางการเดินทางของตัวอ่อนเข้าไปในมดลูก
- อันตรายของครรภ์นอกมดลูกคือการเสียเลือด
- การวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกายการตรวจอัลตร้าซาวด์ ตรวจเลือด ขุดมดลูกและ/หรือการผ่าตัดส่องกล้องตรวจช่องท้อง
- การรักษามีหลายวิธีตั้งแต่ติดตามดูอาการ ให้ยา หรือผ่าตัดขึ้นอยู่กับระยะของโรคและความรวดเร็วของการวินิจฉัย




ที่มา  www.vibhavadi.com/

อัพเดทล่าสุด