ข้อสังเกต อาการตั้งครรภ์ และ พัฒนาการ ของเด็กในครรภ์ !


1,175 ผู้ชม


               ตลอด เวลา 9 เดือน คุณสัมผัสลูกน้อยในท้องผ่านความรู้สึกเวลาลูกดิ้นหรือสะอึกเท่านั้น การเริ่มต้นของชีวิตเล็กๆนี้ เกิดขึ้นหลังจาก 2 สัปดาห์ที่มีการปฏิสนธิ ซึ่งเชื้ออสุจิของเพศชายเข้ามาฝังตัวกับไข่ของคุณ และตลอด 40 สัปดาห์จนกระทั่งคลอดคุณจะพบกับเรื่องน่าพิศวงแทบจะทุกวินาทีเลยทีเดียว
           
     
         หลัง จากที่อสุจิกับไข่ผสมกันกลายเป็นเซลล์ตัวอ่อนงอกอยู่ในเยื่อบุโพลงมดลูกจาก เพียง 1 เซลล์ เพิ่มจำนวนเป็น 150 เซลล์ภายใน 7 วัน ตัวอ่อนเจริญเติบโตได้โดยอาศัยหลอดเลือดของแม่เป็นตัวลำเลียงออกซิเจนและ สารอาหารผ่านเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ตัวอ่อน ส่งผ่านของเสียต่างๆผ่านเข้าสู่ระบบ
*** พออายุ 5 สัปดาห์ลูกจะมีลำตัวยาว 7 มิลลิเมตร ขนาดเท่าเมล็ดถั่ว
           
     
         ทารก เริ่มมีลักษณะรูปร่างชัดเจนขึ้น มีส่วนหัวโตกว่าส่วนอื่นๆ รูปหน้า มือและเท้า ปรากฎให้เห็น กล้ามเนื้อเริ่มเติบโต มีขนงอก ช่วงปลายเดือนถ้าัอัลตราซาวด์จะเห็นการเคลือนไหวและจับการเต้นหัวใจได้ รวมทั้งมองเห็นสายรก ซึ่งรกนี้ทำหน้าที่แทนอวัยวะทารกที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นปอดแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนจากแม่ ทำหน้าที่เป็นลำไส้โดยดูดสารอาหารจากเลือดแม่ ทำหน้าที่เป็นไตกรองของเสียทำหน้าที่แทนตับโดยเก็บธาตุเหล็กจากเม็ดเลือดแดง ของแม่ และทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อ เพื่อสร้างฮอร์โมน
           
     
         ทารก มีลักษณะคล้ายมนุษย์มากขึ้น ตัวลอยอยู่ในน้ำคร่ำภายมดลูก ซึ่งน้ำคร่ำนี้เองทำหน้าที่ปกป้องและห่อหุ้มทารกไม่ให้ได้รับความกระทบ กระเทือน ตัวทารกเริ่มมีนิ้วมือนิ้วเท้าขึ้นมาในสภาพติดกันแล้วค่อยแยกออก ช่วงกลางเดือน หัวใจจะเป็นรูปเป็นร่างเต็มที่ เห็นหูชัดเจนตอนปลายเดือนอวัยวะสำคัญ เช่น อวัยวะเพศ จะเริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นเพศไหน สิ่งที่คุณแม่พึงระมัดระวังคือ ช่วง 3 เดือนแรกนี้ มีอัตราเสี่ยงในการแท้งค่อนข้างสูง ต้องดูแลตัวเองอย่างมาก และระมัดระวังเรื่องยาที่รับประทาน ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน
*** พอทารกอายุได้ 12 สัปดาห์ ลูกจะมีน้ำหนัก 14 กรัม และมีลำตัวยาว 3 นิ้ว
     
     
         ตอน นี้อวัยยวะภายในของทารกเริ่มสมบูรณ์ขึ้นมาก เล็บก็เริ่มงอกแล้ว แต่ตัวยังผอมเพราะยังไม่มีชั้นไขมัน ช่วงปลายเดือนเริ่มมีเส้นขนละเอียดขึ้นทั้งตัว ผิวบางจนมองเห็นเส้นเลือด เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน รกมีขนาดโตมากขึ้นจากช่วงแรกซึ่งใหญ่กว่าตัวอ่อนเพียงเล็กน้อย สามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้น เริ่มมีไตที่ทำงานได้เหมือนผู้ใหญ่ นอกจากนี้ทารกยังมีจำนวนเส้นประสาทและกล้ามเนื้อมากกว่าเดือนที่แล้วถึง 3 เท่า สามารถเตะ งอนิ้วมือนิ้วเท้า กลอกตาได้อวัยวะเพศพัฒนามากขึ้นจนสามารถบอกได้ว่าเป็นเพศใด
*** จาก 18 สัปดาห์ เป็นต้นไป เสียงดังๆจะทำให้ลูกในท้องสะดุ้ง
     
     
     
         ทารก เจริญเติบโตเร็วมาก ลำตัวยาว 9 นิ้ว ร่างกายผลิตสารสีขาวข้นที่เรียกว่า เวอร์นิกซ์ ขึ้นมาเคลือบเพื่อปกป้องผิวเส้นผม คิ้วและขนตาเริ่มงอกเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัส คือ รับรู้รส ได้กลิ่น และได้ยิน ตายังปิดอยู่แต่รับรู้แสงสว่างจ้าได้ ดังนั้นเวลาคุณพูดแกจะได้ยิน หรือเวลาที่คุณลูบท้องแกก็จะรู้สึกเช่นกันตอนนี้ทารกเริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้น บิดตัว เตะเท้าอยู่ในถุงน้ำคร่ำ เวลาโก่งหรือขยับตัว แม่จะรู้สึกได้ เพราะท้องของแม่จะนูนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ช่วงปลายเดือนทารกยังเริ่มถ่ายปัสสาวะลงสู่น้ำคร่ำอีกด้วย
     
 ข    
         ร่าง กายของทารกเริ่มเติบโตช้ากว่าเดิมเพื่อให้อวัยวะภายใน เช่น ปอด ระบบย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันได้พัฒนาอย่างเต็มที่ ที่น่าอัศจรรย์คือทารกสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวทำให้คุณแม่รู้สึกได้โดย เฉพาะตอนนอนพักทารกสามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้น เสียงพูด เสียงดนตรี และสามารถตอบสนองการกระตุ้นของแม่ เช่น ถ้าแม่ขยับตัวเร็วจะดิ้นตอบ ร่างกายทารกเริ่มมีเนื้อมีหนังมากขึ้น เพราะมีไขมันมาสะสมที่ชั้นใต้ผิวหนัง ถ้าทารกคลอดออก มาตอนนี้ อาจมีโอกาสรอดชีวิตได้
*** ตอนอายุ 20 สัปดาหื ลูกเริ่มสะอึกเป็น และคุณแม่ก็รู้สึกได้ด้วย พอเข้าสู่สัปดาห์ที่ 26 ลูกจะเริ่มจำเสียงคุณแม่ได้
     
     
     
         ทารก ในครรภ์เติบโตขึ้นมาก จนไปกดอวัยวะต่างๆในช่องท้องแม่ เปลือกตาเริ่มเปิด และนัยน์ตาพัฒนาไปมากจนมองเห็นแสงที่ผ่านมาทางหน้าทองแม่ได้ เสียงดังๆทำให้ทารกเคลื่อนไหว และการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไปตามเสียงและแสงไฟ ต่อมรับรสของทารกพัฒนาไปมาก ถึงขนาดสามารถแยกรสหวานกับรสเปรี้ยวได้ แต่ดูเหมือนทารกจะติดใจในรสหวานมากกว่า ถ้าทารกคลอดออกมาตอนนี้จะมีโอกาศรอดค่อนข้างสูง เพราะอวัยวะสำคัญทั้งหลาย(ยกเว้นปอดที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่นัก) ทำงานเป็นระบบมากขึ้นสมองเติบโตมากขึ้น ร่างกายเจริญเติบโตได้สัดส่วนมากขึ้น
     
     
   
         ทารก ตัวโตมากขึ้นจนแน่นท้องคุณแม่ โดยเฉลี่ยน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 กก. มีไขมันมากขึ้นจนดูเหมือนทารกแรกเกิด การทำงานของอวัยยวะต่างๆ ประสานงานกันได้ดีขึ้น อาจอยู่ในท่ากลับหัวพร้อมที่จะคลอด แต่ขยับตัวน้อยลง เพราะพื้นที่ในท้องแม่ดูจะน้อยเกินไปเสียแล้ว น้ำดีและน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไปจะสะสมอยู่ในลำไส้ของทารกไปจนถึงคลอด ซึ่งทารกจะถ่ายของเสียนี้ออกมาเป็นอุจจาระสีเขียวแก่ เรียกว่าขี้เทา ช่วงหนึ่งเดือนก่อนคลอดคุณแม่อาจมีอาการมดลูกบีบรัดตัวซึ่งเป้นอาการที่ เรียกว่า เจ็บท้องหลอก การหดตัวรัดตัวนี้ก็เพื่อดันตัวทารก มาประชิดปากมดลุกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอดออกมานั่นเอง
     
     
     
         ใน เดือนนี้ทารกมีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 3 กก. ขึ้นไปมีชั้นไขมันหนาทำให้ดูอ้วนกลมและเก็บไว้เป็นพลังสำรองหลังคลอด ปอดทำงานได้ดี อยู่ในท่ากลับหัวเชิงกราน หัวจะกดปากมดลูกทำให้เปิดออก ช่วยให้คลอดง่ายขึ้น จากนั้นหัวจะหมุนผ่านอุ้งเชิงกานแม่ออกมา ดังนั้นคุณแม่อาจคลอดตอนไหนก็ได้ในช่วงนี้ ทารกส่วนใหญ่จะคลอดตามกำหนดหรือช้าไป 2 สัปดาห์หลังกำหนด ถ้าช้ากว่านี้แพทย์อาจต้องเร่งคลอดเพราะออกซิเจนและสารอาหารจากรกที่ทารกเคย ได้รับ เริ่มเพียงพอเสียแล้วเมื่อเทียบกับความต้องการของทารก
*** ลูกจะยังไม่มีฟันงอกออกมาจนกว่าจะอายุ 4 เดือน แต่มีฟันก่อตัวอยู่ในขากรรไกรเรียบร้อยแล้ว รอแค่เวลาโผล่ขึ้นมาเท่านั้นเอง
   
ที่มา  www.thaikidclinic.com

อัพเดทล่าสุด