แนวทางการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน อาหาร การบริโภคอาหารที่มากเกินควรและ/หรือสัดส่วนไม่พอเหมาะจะมีผลต่อระดับน้ำตาล และการเกิดโรคแทรกซ้อน การกําหนดอาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีจุดมุ่งหมายที่สําคัญ คือ
มีการกําหนดอาหารเบาหวานโดยสมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทยและชมรมนักกำหนดอาหาร ประกอบด้วย พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต 50-60% พลังงานจากไขมัน 25% พลังงานจากโปรตีน 15-20% สิ่งสําคัญสําหรับอาหารเบาหวานคือ จํานวนแคลอรี่ทั้งหมดต่อวันจะต้องพอเหมาะไม่มากเกินไป คาร์โบไฮเดรตที่ใช้ควรจะเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้แก่ เมล็ดข้าว ธัญพืช และแป้ง ควรหลีกเลี่ยงของหวานและเครื่องดื่มรสหวานทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ของหวานที่ทานได้ควรเป็นผลไม้สดในปริมาณที่พอเหมาะ
การออกกำลังกาย การรักษาโรคเบาหวานนอกจากการรักษาด้วยยาและการควบคุมอาหารแล้ว การออกกําลังกายนับว่ามีความสําคัญและได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง การออกกําลังกายที่เหมาะสมและถูกต้องอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการควบคุมอาหารและ การใช้ยาที่เหมาะสม ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดีแต่ยังสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ่อนที่จะเกิดตามมาได้ด้วย โดยเฉพาะถ้าเริ่มออกกําลังกายแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ การได้รับความรู้ความเข้าใจในการออกกําลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันและลดอันตรายที่อาจเกิดจากการออกกําลังกายที่ไม่เหมาะสม ได้ ชนิดของการออกกําลังกาย
ในระยะแรกควรเริ่มออกกําลังนานเท่าที่จะทําได้โดยไม่เหนื่อยจนเกินไปและค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนสามารถออกกำลังได้นานอย่างน้อย 20-30 นาที แต่ไม่ควรนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรออกกําลังกาย 5 วัน ต่อสัปดาห์สําหรับผู้ที่ไม่เคยออกกําลังกายมาก่อนเลยหรือหยุดการออกกําลัง กายไปนานแล้ว โดยทั่วไปควรจะเริ่มออกกำลังกายเบาๆ ก่อน ต่อไปจึงค่อย ๆ เพิ่มความหนักให้มากขึ้นทีละน้อย การออกกําลังกายที่เหมาะสมร่วมกับรับประทานอาหารที่ถูกหลักสมดุลและรับ ประทานยาอย่างสม่ำเสมอนอกจากจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติแล้ว ยัง ทําให้ผู้ป่วยสามารถดํารงชีวิตอย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ |
ที่มา www.yaandyou.net |