ปริมาณรังสี ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย - วิธีคำนานปริมาณรังสี
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอมขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ กิ๊ฟไม่ใช่ตุ๊กตา เว็บไซต์ Pantip.com , สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
จากข่าวสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นรั่วไหลออกมา หลังอาคารโรงไฟฟ้าเกิดการระเบิดขึ้น ก็ทำให้หลายคนสงสัยว่า สารกัมมันตรังสีดังกล่าวจะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพบ้าง และหากได้รับรังสีเข้าไปสะสมในร่างกายเป็นปริมาณมาก ๆ จะมีอาการอย่างไร วันนี้กระปุกดอทคอม มีความรู้ดี ๆ จาก คุณ กิ๊ฟไม่ใช่ตุ๊กตา เว็บไซต์ Pantip.com และ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มาบอกต่อกันค่ะ อย่างไรก็ตาม ใครที่อ่านบทความนี้ก็ไม่ต้องตื่นตระหนกไป เพราะโอกาสที่จะได้รับรังสีในปริมาณมากถึงขนาดส่งผลขั้นรุนแรงมีน้อยมากค่ะ
ก่อนอื่นมารู้จักคำว่า "สารกัมมันตรังสี" กันก่อน โดย "สารกัมมันตรังสี" คือ ธาตุที่มีการสลายตัวและปล่อยรังสี ซึ่งเป็นพลังงานรูปหนึ่งออกจากตัวเองตลอดเวลา จนกว่าจะหมดอายุ โดยมีครึ่งอายุเฉพาะตัวต่าง ๆ กัน เช่น ไอโอดีน-131 มีครึ่งอายุ 8 วัน แร่ซีเซียม-137 มีครึ่งอายุ 30 ปี ทั้งนี้ สารกัมมันตรังสีบางชนิดมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น แร่เรเดียม-226,ยูเรเนียม-238 ฯลฯ แต่ที่มีใช้ในวงการแพทย์ปัจจุบันเป็นสารที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น โคบอลท์-60, ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 เป็นต้น
สำหรับการเกิดอันตรายจากรังสีต่อมนุษย์ อาจแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ


การกระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุ้งไปในอากาศ น้ำ มนุษย์อาจได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจฝุ่นละอองของรังสีเข้าไป , กินของที่เปรอะเปื้อนเข้าไป หรือการกิน, การฝังสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในร่างกายจะแผ่รังสีออกมา ทำอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนกว่าจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายจนหมด และยังสามารถแผ่รังสีไปทำอันตรายคนที่อยู่ใกล้เคียงได้
แต่หากใครที่ได้รับรังสีในปริมาณมาก ๆ อาจกลายเป็นอาการ "ความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน (Acute Radiation Syndrome, ARS)" ซึ่งเป็นความผิดปกติทางร่างกาย อันเป็นผลมาจากการได้รับรังสีปริมาณสูง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย หรือเกือบทั้งร่างกายในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ผู้ป่วยจากการได้รับรังสีจากระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ หรือผู้ป่วยจากการได้รับรังสีแกมมาจากวัสดุกัมมันตรังสีโคบอลต์-60 ที่สมุทรปราการ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา โดยต่อไปนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะกรณีที่ได้รับรังสีสูงเฉียบพลัน คือ "ความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน (Acute Radiation Syndrome, ARS)" นะคะ
ทั้งนี้ การนำไปสู่การเกิดความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน มีข้อบ่งชี้อยู่ 5 ประการ คือ





จากข้อบ่งชี้ดังกล่าวข้างต้น การได้รับรังสีของร่างกายเพียงบางส่วน เช่น ที่แขนหรือขา หรือการรับรังสีของผู้ป่วยในทางรังสีรักษา ซี่งแม้ปริมาณรังสีที่ให้แก่ผู้ป่วยจะสูงมาก (อาจถึง 80 เกรย์) แต่ก็แบ่งการให้รังสีเป็นหลาย ๆ ส่วน (fractions) ในช่วงเวลาที่กาหนด เช่น 1–2 เกรย์ต่อวัน ติดต่อกันหลายสัปดาห์ ซึ่งการได้รับรังสีแบบนี้ มีผลในการก่อให้เกิดความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลันได้น้อย
อย่างไรก็ตาม สิ่งมีชีวิตจะมีความไวต่อรังสีแตกต่างกัน โดยพิจารณาจากค่า LD50 (การวัดความรุนแรงของสารเคมีกำจัดแมลง ใช้หน่วย Lethal dose 50% เป็นหน่วยเปรียบเทียบ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ถูกรังสีด้วย อีกทั้งอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจะมีความไวต่อรังสีไม่เท่ากัน โดยระบบการสร้างเม็ดเลือด และอัณฑะรังไข่ จะไวต่อรังสีมากที่สุด รองลงมาคืออวัยวะที่มีเยื่อบุ เช่น ช่องปาก หลอดอาหาร ลำไส้ผิวหนัง ตามด้วยตับ ปอด ไต และต่อมต่าง ๆ ส่วนอวัยวะที่ทนต่อรังสีมากที่สุดคือ ไขสันหลัง สมอง กล้ามเนื้อ และหัวใจ
นอกเหนือจากความไวที่แตกต่างกันแล้ว แต่ละอวัยวะยังมี Vitality ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นความล้มเหลวของระบบสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic syndrome) ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal syndrome) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system syndrome) จึงเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิต ของผู้ได้รับบาดเจ็บจากรังสี
สำหรับผู้ประสบเหตุทางรังสี จะมีอาการเจ็บป่วย แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ




ทั้งนี้ ผู้ป่วยแต่ละคนจะเกิดทั้ง 4 ขั้นแบบนี้ แต่สำหรับขั้นที่สามจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับ 3 ระบบของร่างกาย คือ ไขกระดูก , ทางเดินอาหาร , ทางเดินโลหิต ซึ่งจะเกิดกับระบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ได้รับปริมาณรังสีกี่เกรย์ โดยเปรียบเทียบจากตารางข้างล่างนี้
ตารางแสดงปริมาณรังสีที่ได้รับ จะส่งผลต่อระบบใดบ้าง
สำหรับความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลันนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มอาการ คือ

หรืออาจเรียกว่า ความผิดปกติอันเกี่ยวข้องกับระบบผลิตเลือด (hematopoietic syndrome) ความผิดปกติแบบนี้ สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลันทั่วทั้งร่างกายที่ปริมาณรังสี 0.7 เกรย์ โดยอาจปรากฎอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อยเมื่อได้รับรังสีปริมาณ 0.3 เกรย์ โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ป่วย กลุ่มนี้ คือ การติดเชื้อและการเสียเลือดอันเนื่องมาจากไขกระดูกถูกทำลาย

ความผิดปกติ โดยสมบูรณ์จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสีเฉียบพลันทั่วร่างกายสูงเกิน 10 เกรย์ โดยความผิดปกติแบบอ่อน ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสีประมาณ 6 เกรย์ ทั้งนี้ อัตราการรอดชีวิตเมื่อได้รับรังสีสูงระดับนี้มีน้อย หากระบบทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลง ได้รับความเสียหาย จะทำให้เกิดการติดเชื้อ เสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ โดยผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์

ความผิดปกติโดยสมบูรณ์จะเกิดขึ้น ถ้าได้รับรังสีโดยเฉียบพลันทั่วร่างกายสูงเกินกว่า 50 เกรย์ โดยความผิดปกติของระบบ CV และ CNS จะเริ่มปรากฎให้เห็นเมื่อได้รับรังสีสูงถึง 20 เกรย์ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 3 วัน อันเนื่องมาจากความล้มเหลวของระบบการไหลเวียนโลหิต และแรงดันที่สูงขึ้นภายในโพรงกะโหลก อันเนื่องมาจากการสะสมของของเหลวที่มีสาเหตุมาจากการบวม หรือการอับเสบของ หลอดเลือดและเยื่อหุ้มสมอง (Meningitis)
ผลกระทบต่อร่างกาเทียบกับปริมาณรังสีที่ได้รับ (หน่วยมิลลิซีเวิร์ต)
เมื่อเซลล์ในชั้นล่างของผิวหนังถูกทำลายด้วยรังสีจะปรากฎอาการอักเสบ เป็นผื่นแดง หรือตกสะเก็ดของผิวหนัง ในบางครั้ง ถ้ารากของเส้นขนถูกทำลายอาจเป็นผลให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นขนขึ้นได้ ภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง อาจเกิดอาการเป็นผื่นแดงร่วมกับอาการคันของผิวหนังขึ้น หลังจากนั้น อาการเหล่านี้อาจหายไปเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 2-3 วัน ถึงหลายสัปดาห์ จากนั้นผิวหนังจะมีอาการแดงมากขึ้น และตามมาด้วยการแตกและอักเสบเป็นแผลของผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสี
ส่วนผู้ที่รอดชีวิต อาจต้องเผชิญกับผลของรังสีในอวัยวะอื่น ๆ เช่น การเป็นหมัน , แท้ง , ผมร่วง , ปอดอักเสบ และรังสีสามารถก่อให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมาภายหลังได้ เช่น เกิดต้อกระจก และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในอีกหลาย ๆ ปีต่อมา
และนี่ก็คือความร้ายกาจของรังสี ที่หากมนุษย์รับเข้าไปมากจนเกินไป ก็ส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะไม่ว่าประเทศไหนที่นำ "รังสี" มาใช้วินิจฉัยตรวจรักษาโรค และการวิจัยต่าง ๆ รวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็ล้วนแต่ต้องทำตามระบบควบคุมป้องกันรังสีอย่างเคร่งครัด ดังนั้นแล้ว เทคโนโลยีทางรังสีจึงมีความปลอดภัยมาก เว้นเสียแต่ว่าเกิดอุบัติเหตุทางรังสี ซึ่งมีไม่บ่อยนักนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

