|
งานหอบหืดบูรณาการ ศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก (การดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด) ในวันที่ 29 ตุลาคม 2552 กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว ได้จัดการอบรมเสริมทักษะและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องระบบการดูแลรักษาผู้ ป่วยโรคหอบหืดในศูนย์สุขภาพชุมชน โดยมี นพ.รัฐภูมิ ชามพูนท แพทย์ประจำกลุ่มงานอายุรกรรมเป็น ผู้ให้ความรู้และวางแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืด การจัดระบบส่งต่อในการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ซึ่งเจ้าหน้าที่จากศูนย์สุขภาพชุมชนเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก ทั้งหมด 25 แห่งและเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลบางกระทุ่ม,โรงพยาบาลพรมพิรามเข้าร่วมรับ การอบรมในครั้งนี้ หมอรัฐภูมิได้ถ่ายทอดความรู้ต่างๆให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนได้ อย่างดีเยี่ยม เข้าใจง่าย นำไปใช้ได้ง่าย อย่างแรกที่เน้นต้องจำให้ได้ นั้นคือต้องรู้ เป้าหมายในการรักษาผู้ป่วย 1. Controlled Asthma 2.NO AE 3.คุณภาพชีวิต 4.ลดผลข้างเคียงจากยา 5. ลดอัตราตาย หรือจำง่ายๆ คือ ควบคุมอาการ ให้สงบ ทำให้มีชีวิต เป็นปกติสุข และมีสมรรถภาพปอด ในระยะยาวให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ซึ่งหนทางนำไปสู่เป้าหมาย....
- chronic - AE 5.Effective system 6. Special case หากเรารักษาแล้วผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นสักที..ซึ่งเรามักจะเจอคำถามจากผู้ป่วยหรือญาติบ่อยๆว่า...." ทำไมอาการถึงไม่ดีขึ้นเลย! ” ซึ่งสาเหตุของการไม่ตอบสนองต่อการรักษา นั้นต้องพิจารณาตามนี้ก่อน
ดังนั้นทางทีมเจ้าหน้า PCU ต้องพิจารณา หาข้อมูลของผู้ป่วยทั้ง 4 ข้อนี้ก่อน หากการรักษาไม่ได้ผล ควรส่งมาพบแพทย์โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก เมื่อ 1. คิดว่าไม่ใช่,ไม่แน่ใจ ส่งมายืนยันการวินิจฉัย 2. รักษาเต็มที่แล้วยังไม่ดีขึ้น ( Budesonide Inhaler (200) 3*2 สูดก่อนแปรงฟัน ) 3. มี AE งานนี้ต้องขอขอบคุณนพ.รัฐภูมิเป็นอย่างมากที่ท่านได้ถ่ายทอดความรู้ให้เรา อย่างมากมาย อาจารย์สอนเข้าใจง่าย มองเห็นภาพการดูแลรักษาที่ชัดเจนนำไปใช้ได้ หลังจากนั้นพี่สมพร มีมะโน พยาบาล วิชาชีพประจำคลินิกโรคหอบหืด เป็นวิทยากรท่านต่อซึ่งพี่สมพร ได้ให้เราทราบหลักการประเมินและการลงข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืดต่างๆ เช่น การใช้แบบประเมินการควบคุมโรคหืด ( Asthma Control Test ) หรือแรก สั้นๆว่า ACT การทดสอบสมรรถภาพปอด ( วัด Peak Flow Meter ) เพื่อ * การประเมินความรุนแรง * ช่วยบอกการควบคุมอาการหืดได้ดีมากน้อยเพียงใด * ช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคหืด ซึ่ง เราต้องทราบค่า PEFR ปกติก่อน เพราะแต่ละคนไม่เท่ากัน ค่า PEFR ขึ้นกับ เพศ ส่วนสูง อายุ , ต้องทราบค่า % predicted PEFR เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของอาการ, ต้องบอกเป้าหมายการเป่า ( AIM PEFR ) การประเมินความรุนแรงจากการวัด PEFR >80%-100% หอบไม่รุนแรง > 60% - 80% หอบรุนแรงปานกลาง < 60% หอบรุนแรงมาก พี่สมพรฝากเน้นย้ำ หากเจ้าหน้าที่PCUจะส่งตัวผู้ป่วยมารักษาโรคหอบหืดต่อที่ตึกผู้ป่วยนอกแผนก อายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช นั้น ให้เขียนใบส่งตัวลงข้อมูลผู้ป่วยให้ชัดเจนและส่งมาในวันที่มีคลินิกโรคหอบ หืด คือวันจันทร์ พบ นพ.ขจร สุนทราภิวัฒน์, วันพุธ พบ นพ.รัฐภูมิ ชามพูนท,วันพฤหัสฯ พบ พญ.สุนี จิรสมิทธาและวันศุกร์ พบ นพ.สมบูรณ์ ตันสุภสวัสดิกุล งานนี้ต้องขอบคุณพี่สมพรเป็นอย่างมากที่เป็นแนวร่วมสำคัญในการจัดระบบต่างๆ ส่วนเรื่องสุดท้ายในการอบรมนั้นเป็นส่วนของคุณพี่มณีวรรณ (พี่ตุ๋ม ) ..วันนี้ พี่ตุ๋มได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องของการจัดตั้งคลินิกและการจัดตั้งชมรมคนปลอดบุหรี่ในชุมชน ซึ่งหากเราจะดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดนั้นถ้าเรายังไม่สามารถตัดสาเหตุการ กระตุ้นหอบกำเริบได้การรักษาก็ไม่ได้ผลดีอย่างต่อเนื่องแน่นอน ดังนั้นเราจึงคิดว่าสาเหตุการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้การ รักษาหอบหืดไม่ได้ผล ถ้าผู้ป่วยยังสูบบุหรี่อยู่เช่นเดิม...เราจึงคิดถึงการจัดตั้งชมรมคนปลอด บุหรี่ขึ้นในชุมชน ซึ่งในปี 2553 ศูนย์สุขภาพชุมชนนำร่องในการตั้งชมรมฯคือ ศูนย์สุขภาพชุมชนสมอแขและบ้านป่า ...พี่ตุ๋มได้พูดถึงการใช้ทักษะการสื่อสารกับบุคคล ,การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพ อย่างไรก็ตามหากชมรมมี การรวมกลุ่มที่ชัดเจนงานนี้ก็ต้องของเชิญวิทยากรคนเก่งของเรา (พี่ตุ๋ม) เจ้าเดิมลงชุมชนกับทีมเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนด้วยนะคะ |
ที่มา gotoknow.org |