โรคหอบหืด คือ ภาวะผิดปกติที่หลอดลมแคบเล็กลง และกลับสู่ปกติในระยะเวลาอันสั้นโดยการดำเนินการของโรคเอง หรือโดยการ รักษา คนที่เป็นโรคหอบหืดพบว่า หลอดลมจะมีลักษณะไว้ต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากกว่าคนปกติทั่วไป โรคหอบหือจากการทำงานเป็นโรคที่เกิดจากการหายใจเอาสิ่งกระตุ้นเข้าไปขณะที่ทำงานทำให้เกิดอาการหอบหืดได้แก่ 1.ตัวก่อโรค ซึ่งเป็นสารที่หายใจเข้าไปแล้วทำให้ผู้ที่ไม่เคยเป็นหอบหืด เกิดอาการหอบหืดได้ ทั้งนี้เพราะสานนั้นไป ทำลายเยื่อบุของหลอดลม เกิดการอักเสบ และไวต่อสิ่งที่มากระตุ้น เช่น สารเคมีที่อยู่ในรูปของก๊าซ ไอระเหย ที่มีคุณสมบัติทำให้ เกิดการระคายเคือง และสารอื่นที่หายใจเข้าไปและทำให้เกิดภูมิแพ้ ตัวอย่าง ฝุ่น แป้ง ฝุ่นไม้ 2.ตัวกระตุ้นอาการ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดเกิดอาการหอบหืดขึ้น ตัวอย่างเช่น อากาศเย็น การออกกำลังกาย เป็นต้น ทั้งตัวก่อโรคและตัวกระตุ้นอาการ ทำให้เกิดโรคหอบหืดจากการทำงานได้การป้องกันต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ประกอบการและผู้ทำงานผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการลดปริมาณสารที่เจือปนอยู่ในอากาศให้มีปริมาณต่ำสุดด้วย การจัดให้มีระบบการระบายอากาศที่เหมาะสม จัดให้มีมาตรการดูแล การใช้สารเคมี การจัดเก็บ การเคลื่อนย้ายที่ถูกต้องปลอดภัย ส่วนผู้ปฏิบัติตามากฎความปลอดภัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับตัวกระตุ้นอาการ ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรคหอบหืด การอักเสบของ หลอดลม และลดความไวของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้นด้วย |