โรคต้อหินเกิดจาก และ ต้อหิน สาเหตุ มาจากอะะไร บ้าง


1,212 ผู้ชม


ต้อหิน สาเหตุ
เมื่อก่อนเด็กที่สายตาสั้นต้องใช่แว่น มักจะอายไม่กล้าใส่แว่น เพราะถูกเพื่อนล้อ
และ คนที่สวมแว่นตาก็มักจะถูกเพื่อนๆ เรียกว่า "เจ้าแว่น" เพราะมีคนที่มีปัญหาทางสายตาไม่มาก ต่างกับปัจจุบันที่โดยสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะความแรงของแสงแดดที่พาเอารังสีความร้อนลงมาสู่โลกมากขึ้น เพราะโอโซนที่เป็นตัวกรองแสงถูกทำลายลง ทำให้เรามีปัญหาทางสายตากันมากขึ้น
ว่า ที่ พ.ต.อ.นายแพทย์คำนูณ อธิภาส จักษุแพทย์ คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา เล่าว่า ปัญหาเรื่องสายตาที่พบในคนไทย เริ่มมาจากการที่คนไทยยังมีการตรวจสายตาน้อยมาก ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งจำเป็น ประการหนึ่งเพื่อตรวจหาโรคร้ายที่อาจจะแฝงอยู่ เช่น ต้อหิน ซึ่งกว่าจะรู้ก็สายเกินไปเสียแล้ว
"ตอนนี้ปัญหาเกี่ยวกับสายตาของคน ไทยที่ถือเป็นระดับสาธารณสุข มีความถี่สูงกว่า 1 ในร้อย คือ "ต้อหิน" ซึ่งในจำนวนประชากรกว่า 60 ล้านคน เป็นต้อหิน 1-2% คือเป็นหลายแสนคน
ที่ สำคัญคือ "ต้อหิน" เป็นโรคที่ถ้าไม่ได้รับการตรวจจะไม่ทราบ เพราะคนที่เป็นต้อหินตาจะมีการเห็นเหมือนคนปกติ ไม่เจ็บไม่ป่วยไม่บวมไม่แดง ยังคงมองเห็นได้ชัด เพียงแต่ "ลานสายตา" หรือช่องการมองเห็นจะค่อยๆ แคบลงจนกระทั่งมองไม่เห็นในที่สุด"
 
"ต้อหิน" เกิดจากการเสื่อมของจอประสาท อันเนื่องมาจากความดันในลูกตาสูงขึ้น และไปกดดันเส้นประสาทตา เมื่อความดันสูงเกิดเป็นเวลานานเข้าๆ ประสาทตาก็จะเสื่อมทำให้สูญเสียการมองเห็น โดยจะเริ่มเกิดขึ้นที่ขอบนอกของลานสายตา การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆ เป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว โดยมากมักจะเป็นสองข้าง หรืออาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อนก็ได้
เหนืออื่นใดคือ "ต้อหิน" เป็นโรคที่ไม่ย้อนกลับ คือ แม้จะได้รับการผ่าตัดแล้ว แต่ก็ไม่สามารถจะทำให้ลานสายตากว้างได้เหมือนเดิม คือแคบแล้วแคบเลย การผ่าตัดช่วยได้เพียงไม่ให้ลานสายตาแคบลงกว่าเดิมเท่านั้น ซึ่งต่างจาก "ต้อกระจก" ที่สามารถรักษาหายได้เมื่อได้รับการผ่าตัด
ฉะนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจสายตาอย่างน้อย 3-5 ปีต่อครั้ง โดยเฉพาะคนที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวเคยเป็นโรคต้อหิน เพราะโรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม
รวมทั้งคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคต่อมธัยรอยด์ คนที่ใช้ยาสเตียรอยด์ และคนที่มีสายตาสั้นมาก ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อหิน
ทั้งนี้ นอกจากโรคต้อหินแล้ว ยังมีโรคเกี่ยวกับสายตาอีกหลายโรค เช่น "ตาบอดสี" ซึ่งแม้จะเกิดกับผู้หญิงน้อย แต่ก็มีโอกาสที่จะเป็น
หมอคำนูญ อธิภาส
 
"ตาบอด สีเป็นปัญหากับคนวัยเรียนเท่านั้น โดยเฉพาะตอนเลือกสาขาเข้ามหาวิทยาลัย เนื่องจากเป็นอุปสรรคของบางอาชีพ เช่น อาชีพตำรวจ ทหาร มัณฑนากร หรือกับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพหลายๆ สาขาที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสี
ตาบอดสีเกิดจากเซลล์รับสีทำงาน ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีปัญหาเรื่องการแยกสี ซึ่งถ้าเป็นมากอาจจะไม่สามารถแยกสีไฟเขียวไฟแดงของไฟจราจรได้"
อย่าง ไรก็ตาม หมอคำนูณบอกว่า แม้ว่าตาบอดสีจะรักษาไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะใช้ชีวิตให้เหมาะกับสภาพการมองเห็นได้ เพียงแต่ต้องรู้ตัว เพราะคนภายนอกจะไม่ทราบว่าใครเป็นตาบอดสี นอกจากเจ้าตัวซึ่งมีไม่น้อยที่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเนื่องจากตาบอดสีไม่ได้ เป็นปัญหากระทบต่อการดำเนินชีวิตโดยทั่วไป
การได้รับการตรวจเช็ค สุขภาพตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งโดยปกติแล้วทารกตั้งแต่แรกเกิดจะมีกุมารแพทย์ตรวจหาความผิดปกติของสายตา แต่หลังจากนั้นอยู่ที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กที่จะต้องพาเด็กมาตรวจสาย ตากับจักษุแพทย์
"ปัญหาเด็กวัยเรียนคือ ไม่ได้ถึงมือหมอ ไม่ว่าจะเป็นคนวัยไหน ถ้าจะตัดแว่นคู่แรก ควรจะได้รับการตรวจสายตาจากแพทย์ แต่ถ้ามีการทำซ้ำ คือตัดแว่นใหม่จะทำที่ร้านไหนก็ได้
ทั้งนี้ เพราะมีโรคอยู่โรคหนึ่งที่ยิ่งพบเร็วยิ่งเป็นการดี โดยเฉพาะกับเด็กอายุก่อน 9 ขวบ นั่นก็คือโรค "ตาขี้เกียจ" (Lazy eyes)"
ตาขี้เกียจคืออะไร?
อธิบาย ได้ด้วยหลักง่ายๆ ก็คือ อะไรที่ขี้เกียจ ไม่ค่อยยอมทำงาน ประสิทธิภาพก็ด้อยลง สายตาก็เช่นกัน เด็กคนไหนที่ใช้สายตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ จะทำให้สายตาข้างที่ไม่ค่อยได้ใช้แม้ว่าจะรับภาพได้ แต่สมองกลับไม่ยอมรับสัญญาณจากภาพนั้น ทำให้สายตาข้างนั้นพร่ามัวลงเรื่อยๆ ที่สุดคือใช้ไม่ได้
"ถ้าตรวจพบก่อนอายุ 9 ขวบ ยังสามารถจะรักษาได้ แต่ถ้าหลังจากนั้นรักษาได้ยากมาก"
หมอ คำนูณบอกต่อไปว่า จำนวนผู้ป่วยด้วยโรค "ตาขี้เกียจ" แม้จะมีไม่มากนัก แต่ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะตาของเขาน่าจะใช้ได้เป็นปกติ และใช้การได้ดี เพราะโรคนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้
และแม้ว่าจะไม่ถึง กับทำให้ตาบอด แต่จะใช้สายตาข้างนั้นได้ไม่ถนัด เหมือนกับการเขียนหนังสือด้วยมือซ้าย แม้จะอ่านรู้เรื่อง แต่ก็ไม่คมชัด

ที่มา  www.ranthong.com/

อัพเดทล่าสุด