หลักในการเลือกมหาวิทยาลัย
การ เลือกมหาวิทยาลัยที่จะไปศึกษาต่อนั้นเป็นช่วงที่สำคัญมาก ช่วงหนึ่งในการกำหนดอนาคตทางการศึกษาของน้อง จะเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดที่น้องๆได้เลือกนั้นอาจไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อ เสียงอันดับต้นๆ แต่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีแขนงวิชาที่น่าสนใจและเกี่ยงข้องกับปัจจัยอื่นๆที่ สัมพันธ์กัน โดยน้องๆสามารถประเมินได้จากขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญในการเลือกมหาวิทยาลัย ตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 Self Evaluation (การประเมินด้วยตนเอง) มีหลักการประเมินดังนี้
A : หาเหตุผลและคำตอบที่ชัดเจนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศ
* แรงจูงใจที่เกิดจากเป้าหมายในอาชีพ หรือลักษณะงาน ความน่าสนใจในเนื้อหาวิชาที่จะเรียน
* อะไรที่น้องๆสนใจเป็นพิเศษ
* ความต้องการบุคลากรในตลาดแรงงาน
คำตอบที่ได้จะทำให้น้องๆสามารถนำไปพิจารณาร่วมกับ Course ที่ทางมหาวิทยาลัยเปิดรับ ถ้าน้องต้องการค้นคว้าในเรื่องเจาะจงเฉพาะทาง น้องก็ควรสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีคณะหรือภาควิชาที่เปิดสอนในวิชาที่ น้องสนใจ หรือหากน้องสนใจที่จะหาประสบการณ์จริงในวงการธุรกิจ น้องก็ควรเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใกล้ย่านธุรกิจหรือในตัวเมือง สำคัญทางการค้าใหญ่ๆ
B : การประเมินตนตามความเป็นจริงในเรื่องของความสามารถทางการศึกษา
* น้องเรียนเก่งหรือไม่? น้องเป็นคนขยันหรือขวนขวายหรือไม่?
* เกรดเฉลี่ยที่ผ่านเป็นอย่างไรบ้าง?
* น้องมีประสบการณ์การทำงาน หรืองานค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่น้องต้องการเรียน
หรือไม่?
* น้องเคยมีประสบการณ์ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่อยากเรียนต่อหรือไม่?
สำหรับน้องๆที่ได้เกรดเฉลี่ยสูงจะมีโอกาสในการเลือกสมุครเข้ามหาวิทยาลัยได้ มากกว่าน้องที่ได้เกรดเฉลี่ยระดับกลางๆ ซึ่งอาจจะสามารถสมัครในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในอันดับต้นๆได้ โดยไม่ติดขั้นในเรื่องของเกรดเฉลี่ย แต่สำหรับน้องๆที่มีเกรดเฉลี่ยระดับกลางก็ควรเลือกสมัครมหาวิทยาลัยที่อยู่ ในระดับกลางๆ เพราะจะมีโอกาสมากกว่า ถ้าน้องเลือกสมัครในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมาก เรามีโอกาสถูกปฏิเสธได้ค่ะ
C : การค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในสาขาที่ต้องการจะเรียน
* น้องเคยได้คุยกับอาจารย์ หรือได้อ่านบทความในหนังสือพิมพ์ในสาขาที่น้องจะเรียนหรือ
สาขาอื่นๆหรือไม่
การศึกษาต่อในต่างประเทศนั้นแตกต่างจากการเรียนต่อในบ้านเรา ในเรื่องของระบบที่ค่อนข้างยืดหยุ่น นักศึกษาสามารถเลือกหลักสูตรที่มุ่งเน้นโดยตรงและเจาะจงไปในตัววิชาที่น้อง สนใจ
D : การพิจารณาด้านการเงิน
* น้องได้รับทุนจากทางมหาวิทยาลัยหรือไม่?
* ครอบครัวของนักศึกษาสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเรียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆได้
หรือไม่?
* นักศึกษาได้รับทุนจากสถาบันในต่างประเทศหรือไม่?
* นักศึกษาได้รับสิทธิ์ในการขอกู้ยืมเงินในการศึกษาต่อหรือไม่?
การคำนวณค่าใช้จ่ายในกระบวนการสมัครเรียน การสอบ จะอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 20,000 บาท ส่วนเรื่องค่าเรียน ค่าครองชีพและค่าที่อยู่พักอาศัยขึ้นอยู่กับค่าเงินของแต่ละประเทศ ใน การขอวีซ่านักศึกษาต้องเตรียมหลักฐานทางการเงินให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่ จะเกิดขึ้นทั้งหมดตลอดช่วงระยะเวลาที่เรียนอยู่ในประเทศนั้นๆ
ขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนนี้จะช่วยให้น้องๆสามารถหาข้อสรุปในการเลือกมหาวิทยาลัยได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น น้องๆลองดูตามหัวข้อในการพิจารณาและหาคำตอบของตัวเองได้เลยนะคะ
* หาหลักสูตรที่เปิดสอน เช่น BA , BS , MS , MBA , MA , Ph.D ., etc ยิ่งหลากหลายก็ยิ่ง
แสดงว่ามหาวิทยาลัยนั้นมุ่งเน้นทางด้านสายวิชานั้นๆ
* หาจุดเด่นของตัว Program ที่เป็นสายเฉพาะทางที่น้องสนใจ
* ดูอันดับ Ranking ของมหาวิทยาลัย
* ระยะเวลาที่เรียนของหลักสูตรนั้นๆ
* ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายทั้งหมด
* ดูว่ามหาวิทยาลัยนั้นๆให้ความช่วยเหลือด้านการเงินกับนักเรียนต่างชาติหรือไม่
* คุณสมบัติในการตอบรับเข้าของแต่ละมหาวิทยาลัย
* ผลสอบที่ต้องมี เช่น IELTS , TOEFL , GMAT , SAT etc. แต่ละมหาวิทยาลัย จะมีเกณฑ์
ตัดสินเรื่องของผลสอบภาษาที่แตกต่างกันออกไป
* พิจารณาว่ามหาวิทยาลัยนั้นๆมีโปรแกรมที่เรียกว่า Direct Entry หรือไม่ เพื่อเป็นตัวช่วยให้
น้องสามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
* พิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขจำนวนนักศึกษาต่างชาติที่กำลังเรียนอยู่ หรือดูค่าโดยประมาณ ของการได้รับการคัดเลือกให้นักศึกษาไปฝึกงาน
* จำนวนนักเรียนที่รับในสาขานั้นๆ จำนวนนักเรียนทั้งหมด ขนาดและรูปแบบของที่เรียน
* สถานที่ตั้งของสถาบัน ที่พัก รวมถึงอากาศ สภาพแวดล้อมด้วย โดยคำนึงถึง Lifestyle ของ ตนเองเป็นหลักว่าชอบอยู่ในเมือง หรือชอบแบบชนบท
* สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีให้นักเรียน เช่น ห้องสมุด ที่พัก คอมพิวเตอร์ ชมรมต่างๆ หรือ หน่วยงานที่ช่วยเหลือดูแลนักศึกษาต่างชาติ
* ลักษณะของสถาบัน ว่าเป็นของเอกชนหรือรัฐบาล
จากหลักในการเลือกสถาบันหรือมหาวิทยาลัยข้างต้น น้องๆลองเลือกมหาวิทยาลัยมาสัก 10 ที่ แล้วลองพิจารณาดูว่าที่ไหนมีคุณสมบัติตามเกณฑ์มากที่สุด และน้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่สถาบันกำหนดไว้หรือไม่ แล้วค่อยตัดตัวเลือกอื่นๆที่ได้ตามเกณฑ์น้อยที่สุดออกไป การเลือกมหาวิทยาลัยที่เหลือก็จะง่ายมากขึ้น ขอให้โชคดีนะคะ
ขอบคุณที่มา : https://blog.eduzones.com/noknik15clab/33088