คมความคิด เกาะติดสถานการณ์
มุสลิมไทย
โพสต์
หน้าแรก
ข่าวเด่น
ข่าวโลกมุสลิม
ข่าวเจาะประเด็นโลก
ข่าวโลกอาหรับ
ข่าวกรรมการกลางฯ
ข่าวมุสลิมไทย
คอลัมนิสต์
ผู้หญิง
ปัตตานีดารุสลาม
ประเด็นร้อน
รูปภาพ
คลิป
เวลาละหมาด
คลังความรู้
อิสลามศึกษา
คลังความรู้
คลังสุขภาพ
ร้านอาหาร
แหล่งท่องเที่ยว
แฟชั่นมุสลิม
กูรูมุสลิมไทย
อัลกุรอาน
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อสำนักข่าว
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลัก
อาหารและยา
การปลูกผักไอโอดีน และกิน ไข่ไอโอดีน ช่วยให้ไม่เอ๋อ ได้จริงๆ
1,304
ผู้ชม
การปลูกผักไอโอดีน
ไข่ไอโอดีน
นวัตกรรมป้องกัน"เอ๋อ" "ผัก-ไข่ ไอโอดีน"ห่วงโซอาหารในชุมชน
นวัตกรรมป้องกัน"เอ๋อ" "ผัก-ไข่ ไอโอดีน"ห่วงโซอาหารในชุมชน
"โรค เอ๋อ"และภาวะการขาดสารไอโอดีน (IODINE) ของคนไทย เป็นปัญหาสาธารณสุขและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ แม้ว่าจะมีความพยายามในการแก้ไขเรื่องนี้มาเป็นเวลานานและต่อเนื่อง แต่กลับมีข้อมูลบ่งชี้ที่สะท้อนออกมาว่า...
การแก้ปัญหาการขาดสารไอโอดีนยังมีประสิทธิผลไม่เพียงพอ !!
ช่วงที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำผลการตรวจคัดกรองระดับ Thyroid Stimulating Hormone หรือ TSH ของทารกแรกเกิดทั่วประเทศ โดยแบ่งตามภาคมาใช้ประเมินระดับความรุนแรงของภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนในแต่ละ พื้นที่ ตั้งแต่ปี 2546 - 2552 พบว่า ประเทศไทยทุกจังหวัดมีภาวการณ์ขาดสารไอโอดีน
โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานที่มีความรุนแรงและเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี...
จากการสำรวจเชิงรุกในพื้นที่อุดรธานี - หนองคาย ในปี 2549 โดยเจาะไปที่กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 15 - 45 ปี จำนวน 904 ราย มีระดับ median urine iodine (จากปัสสาวะ) เฉลี่ยเพียง 5.32 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร (ug/dl) จากเกณฑ์ปกติ ควรมีอย่างน้อย 10 - 20 ug /dl ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ( World Health Organization : WHO)
ส่วน การเก็บตัวอย่างเกลือจากครัวเรือนและร้านค้า พบเกลือได้มาตรฐานหรือมีไอโอดีนมากกว่า 30 ppm (Part Per Million หรือ มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) เพียงร้อยละ 8.9 และตัวอย่างน้ำปลาจากครัวเรือนและร้านค้า 910 ตัวอย่าง/32 ยี่ห้อ ไม่พบปริมาณสารไอโอดีนทุกตัวอย่าง...
แล้วผลจากการขาดภาวะไอโอดีน ส่งผลอะไร ?
ดร.วิยะดา เจริญศิริวัฒน์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมและชีวเคมี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข อธิบายว่า "ผลกระทบร้ายแรงจะมีความชัดเจนในทารกตั้งครรภ์ จนถึงอายุ 2-3 ปี ซึ่งไอโอดีน มีผลต่อพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์สมอง - ใยสมอง หากขาดไอโอดีนอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในแม่ อาจทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ส่วนเด็กที่คลอดออกมาแล้วจะมีผลทำให้พัฒนาการของทารกไม่เป็นไปตามวัย ลดความเฉลียวฉลาด และลดการพัฒนาสติปัญญาของเด็ก"
หากขาดไอโอดีน อย่างรุนแรง อาจมีภาวะสมองพิการมาแต่กำเนิด เป็นใบ้ ช่วยตนเองไม่ได้ เชื่องช้า เซื่องซึม ร่างกายแคระแกน พุงป่อง สมองทึบ สาเหตุสำคัญของภาวะ "ปัญญาอ่อน" หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "โรคเอ๋อ"
ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงเป็นที่มาของ "โครงการนวตกรรมแก้ปัญหาโรคเอ๋อและภาวะขาดสารไอโอดีนในพื้นที่อย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่อุดรธานี และหนองคาย" ที่เน้นส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ..!!
ดร.วิยะดา วิเคราะห์ว่า พฤติกรรมของคนไทยไม่ชอบการบังคับ เช่น จะบอกให้แต่ละวันต้องรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนจำนวนเท่านี้ เท่านั้น มักจะไม่ได้ผล จึงกลับมาคิดว่าหากเอาชุมชนมาเป็นจุดศูนย์กลาง โดยเริ่มจากการบอกให้ประชาชนทราบก่อนว่าสิ่งที่ชุมชนเผชิญอยู่มีความเสี่ยง และมีผลต่อสติปัญญาลูกหลานซึ่งเป็นอนาคตของเรา
"จากนั้นได้ร่วมมือกับ เกษตรอำเภอ สสจ. อบต. นักวิจัย อสม. และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 อุดรธานี ที่มีความรู้ทางวิชาการและเทคนิคในการทำให้พืชผักและไข่ที่ชาวบ้านบริโภคกัน อยู่ทุกวันมีสารไอโอดีน โดยเลือกพื้นที่เสี่ยงทางภาคอีสาน ที่บ้านโพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย จำลองพื้นที่การเกษตรตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีแปลงผัก และการเลี้ยงไก่ไข่ไอโอดีน" ดร.วิยะดา กล่าว
จินตนาการและสมมติฐานในการเติมเต็มคุณภาพอาหารไอโอดีนให้กับประชาชนกำลังจะเป็นจริงในพื้นที่แห่งนี้
ทนพญ. จินตนา ว่องวิไลรัตน์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 อุดรธานี บอกว่า การเพิ่มสารไอโอดีนในระบบห่วงโซ่อาหาร และผลผลิตทางการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาการขาดสารไอโอดีน ในพื้นที่บ้านโพธิ์ตาก จะทำกับผักพื้นบ้านและพืชผักที่ท้องถิ่นนิยมบริโภค เช่น ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง ผักกาดหอม คะน้า ต้นหอม กระเพรา สะระแหน่ โหระพา ฯลฯ ด้วยการฉีดพ่นใบพืชด้วยสารละลายโปแตสเซียมไอโอเดท ในอัตราส่วนที่เหมาะสมก่อนการเก็บเกี่ยวจำนวน 1 - 2 ครั้ง
ผักที่ปลูกจะนำธาตุไอโอดีนไปสะสมในส่วนต่างๆ ของพืช และเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในรูปของสารประกอบทางอินทรีย์ ซึ่งมีความคงตัวและไม่เสื่อมสลายเมื่อถูกความร้อน แสงแดด หรือปรุงเป็นอาหาร
"สารไอโอดีนที่สะสมในพืชผักสดจะมีปริมาณเพียงพอกับร่างกายคนเรา โดยผักปริมาณ 1 - 2 ขีด สามารถให้สารไอโอดีนได้สูงถึง 240 - 250 ไมโครกรัม" ทนพญ.จินตนา กล่าวและบอกถึงความต้องการไอโอดีนของคนเราในแต่ละวัน ว่า เด็กเล็กถึงวัยเรียน ควรได้รับไอโอดีน 90 - 120 ไมโครกรัม (mg) ต่อวัน เยาวชนและคนสูงวัย ควรจะได้รับสัก 150 mg/วัน ขณะที่หญิงมีครรภ์ควรได้รับไอโอดีนถึง 250 mg/วัน แม้ว่าใน 1 วัน คนเราได้ปริมาณในปริมาณที่มาก ก็จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด เพราะไอโอดีนจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะอยุ่แล้ว
นอกจากนี้ การให้แม่ไก่ไข่กินอาหารที่ผสมสารโปแตสเซียมไอโอไดด์ที่มีความเข้มข้นสูง จะทำให้ไข่ไก่มีไอโอดีนเพิ่มสูงขึ้นถึง 97.76 ไมโครกรัม/ฟอง โดยจุดเด่นของนวตกรรมนี้ คือ ความคงตัวของธาตุไอโอดีนในเซลล์ของไข่แดง ที่ไม่เสื่อมสลายเมื่อต้องผ่านกระบวนการต้มให้สุข
นางมณีวรรณ ทิพย์สมบัติ กรรมการกลุ่มไก่พันธุ์ไข่ บ้านโพธิ์ตาก เล่าว่า ชาวบ้านกว่า 30 ครัวเรือน ตระหนักถึงปัญหาการขาดสารไอโอดีน จึงได้ร่วมกันตั้งกลุ่มฯ โดยมีพันธุ์ไก่ 393 ตัว จากการระดมหุ้นละ 100 บาท (ไม่เกิน 500 หุ้นต่อครอบครัว) นำร่องเลี้ยงไก่ไข่ ในอัตราส่วนอาหารไก่ 100 กิโลกรัมต่อหัวอาหารไก่ไข่ผสมไอโอดีนเข้มข้นชนิดผง 1 ถุง โดย 5 วันจะผสม 1 ครั้ง ป้องกันไอโอดีนจางหายไม่ได้ผล ซึ่งไก่ 1 ตัวจะให้อาหารประมาณ 110 - 120 กรัมต่อวัน เพราะหากไก่กินมาก จะทำให้อ้วน ซึ่งจะมีผลต่อการไข่ที่ลดลง โดยเฉลี่ยไก่ 10 ตัวจะให้ไข่ไก่ได้ถึง 7 - 12 ฟอง ปัจจุบันนี้ 1 ครัวเรือนก็จะเก็บไว้กิน 3 - 5 ฟอง ส่วนที่เหลือก็นำมาขายที่กลุ่ม ซึ่งไข่ที่นี้จะมีตราประทับ IQ ที่รับรองมาตรฐานไข่ไอโอดีนจากศูนย์วิทย์ฯ อุดรธานี และจะมีการสุ่มตรวจไข่ปีละ 2 - 3 ครั้ง
ปิดท้ายที่ นายสามารถ สุทธิดี กำนัน ต.โพธิ์ตาก กล่าวว่า ที่ผ่านมาข่าวสารการประชาสัมพันธ์มาไม่ค่อยถึงพื้นที่มากนัก แต่เมื่อแกนนำและชาวบ้านมีความรู้ถึงปัญหาไอโอดีน ทุกวันนี้เราจึงไม่มองข้ามการบริโภคไอโอดีน ที่ต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก และหญิงตั้งครรภ์ โดยอาศัยความเข้มแข็งของชุมชนมาสร้างต้นแบบการปลูกผักและเลี้ยงไก่ไข่ ไอโอดีน และนำมาบริโภค ภาพที่เห็นได้ชัดเจน คือ พฤติกรรมการบริโภคของคนในชุมชนเปลี่ยนไป และหันมาบริโภคพืชผักที่เราปลูกเอง เลี้ยงเองตามหลักเศรษฐกิจพิเพียง และเชื่อว่าปัญหาหารขาดสารไอโอดีนจะลดลง และหายไปจากพื้นที่ของเรา
นับเป็นต้นแบบนวัตกรรมแก้ปัญหาการขาดสารไอโอดีนในระดับชุมชน...
การมีส่วนร่วมของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี เพื่อการแก้ไขปัญหาโรคเอ๋อและปัญหาการขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านต่างๆ ของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ที่มา www.socialwarning.m-society.go.th
มาแรงรอบสัปดาห์
อัพเดทล่าสุด
พีระมิดเบ็นเบ็น พีระมิดหินดำ ที่ทำนักวิทย์งงงวยมานาน
พีระมิดเบ็นเบ็น ทำให้นักวิทยาศาสตร์งงงวยมานานหลายปี
เคล็ดลับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
ความรู้ : เคล็ดลับบางส่วนสําหรับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้น
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้นแบบง่ายๆ
7 วิธีดื่มน้ำช่วยให้ผอมได้จริง
รู้หรือไม่ว่าการดื่มน้ำ สามารถช่วยสาว ๆ ลดน้ำหนักได้! แต่ต้องดื่มให้ถูกวิธีนะ
เรื่องของแป้ง แป้งทำขนม แป้งทำอาหาร
แป้งที่ใช้ทำอาหารและแป้งทำขนมในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์
10 สิ่ง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
10 ส่ิง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
วิธีเพิ่มเครื่องคิดเลขบน iPad แบบไม่ติดโฆษณา โหลดแล้วใช้ได้เลยฟรี!
แอปเครื่องคิดเลขบน iPad เป็นหนึ่งสิ่งที่หลายคนรอคอยมากที่สุด เพราะเวลาที่เราต้องการใช้เครื่องคิดเลข
พักโรงแรมไม่ควรมองข้าม “หลอนใต้เตียง” แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
ใต้เตียงโรงแรมที่ไม่ควรมองข้าม แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่ วิชาภาษาไทย
ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง บทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ฟรีบทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
รวบรวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 สามารถดาวน์โหลดได้
รวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 โดยในแบบฝึกหัดนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ภาษาไทยต่อยอดจากเรื่องที่เรียนมา
ทฤษฎีบทเศษเหลือ (Remainder Theorem)
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ทฤษฎีบทเศษเหลือ ม.3 คณิตศาสตร์
อย่ากังวลไปเลย สำหรับคนที่ไม่มีคู่ เพราะคู่ของคุณ ก็ยังไม่มีใครเหมือนกัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ม.3 วิทยาศาสตร์