ไอโอดีน คือ อะไร และ คุณสมบัติของไอโอดีน เป็นอย่างไร


5,900 ผู้ชม


สารไอโอดีนคืออะไร

      สารไอโอดีน เป็นธาตุเคมีที่ เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่ไม่สม่ำเสมอ และมีมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ พบมากในดินและแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชายทะเล และทะเลซึ่งเป็นผลให้พืชผักและสัตว์จากทะเลมีสารไอโอดีนมากด้วย ไอโอดีน คือ อะไร และ คุณสมบัติของไอโอดีน เป็นอย่างไร
ประโยชน์ของสารไอโอดีน
      สารไอโอดีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ใช้ในการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าสู่กระแสเลือดทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่างของร่างกายให้ ดำเนินไปอย่างปกติ โดยกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะระบบสมองและ ประสาท นอกจากนี้ยังมีผลต่อการสร้างโปรตีนของกล้ามเนื้อของร่างกาย และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและวิตามินอีกด้วย
ความต้องการสารไอโอดีน
  • ในคนปกติต้องการประมาณวันละ 150-200 ไมโครกรัม
  • หญิงตั้งครรภ์หญิงให้นมบุตร ต้องการประมาณวันละ 175-200 ไมโครกรัม
  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนต้องการวันละ 40-90 ไมโครกรัม
แหล่งอาหารที่มีสารไอโอดีน

ที่เหมาะสมที่สุดคือ อาหารที่มาจากทะเลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เช่น

ไอโอดีน คือ อะไร และ คุณสมบัติของไอโอดีน เป็นอย่างไร

  • ปลาทะเล 100 กรัม มีสารไอโอดีนประมาณ 50 ไมโครกรัม
  • สาหร่ายทะเล 100 กรัม มีสารไอโอดีนประมาณ 200 ไมโครกรัม
  • โรคขาดสารไอโอดีน
         โรคขาดสารไอโอดีน หมายถึงภาวะร่างกายได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเป็น ประจำ ซึ่งมีผลต่อการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมนทำให้เกิดการเสียสมดุลย์ในการควบคุมการ ทำงานของต่อมไทรอยด์
    ผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีน
    1. คอพอก (Goitre) ถ้าโตมากๆจะไม่สวย กดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก ไอ สำลักถ้ากดหลอดอาหารจะกลืนลำบาก
    2. ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมน ต่ำ (Hypothyroidism) ร่างกายมีธัยรอยด์ฮอร์โมนไม่เพียงพอ ทำให้มีอัตราการเผาผลาญอาหารลดลง การนำสารอาหารไปใช้ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายหยุดชะงักหรือเติบโตช้าได้
      - ในผู้ใหญ่มีอาการเกียจคร้าน อ่อนเพลีย เชื่องช้า ง่วงซึม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผิวหนังแห้ง ท้องผูก เสียงแหบ ทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้
      - ในเด็กนอกจากอาการที่กล่าวมาแล้ว ยังพบอาการเชื่องช้าทาจิตใจและเชาว์ปัญญาด้วย
      - ในทารกแรกเกิด มีความสำคัญ และรุนแรงมาก จะมีอาการทางสมองทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ไม่สามารถแก้ไขได้เรียกว่า "ภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำในทารกแรกเกิด"
    3. โรคเอ๋อ หรือ คริตินนิซึม (Critinnism) แม่ที่ขาดไอโอดีนในระหว่างตั้งครรภ์ ลูกที่ออกมาจะมีภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำตั้งแต่แรกเิกิด ถ้าแม่มีการขาดไอโอดีน รุนแรงอาจทำให้ทารกตายได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือพิการแต่กำเนิด แม่ที่ได้รับสารไอโอดีนน้อยกว่า 20 ไมโครกรัมต่อวันจะพบว่าทารกที่คลอดออกมาเป็นโรค "เอ๋อ" ซึ่งจะแสดงอาการผิดปกติทางร่างกายติดต่อไปจนเป็นผู้ใหญ่มี 2 ลักษณะ
      1. มีความผิดปกติทางระบบประสาทเด่นชัด (Neurological cretinnism) จะมีสติปัญญาต่ำรุนแรง  หูหนวกเป็นใบ ท่าเดินผิดปกติ ตาเหล่ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
      2. เตี้ยแคระแกรน (Myxedematous) เจริญเติบโตช้า สติปัญญาต่ำมากผิวหนังแห้งหนา บวม กดไม่บุ๋ม เคลื่อนไหวช้า หูไม่หนวก ไม่เป็นใบ้ โดยทั่วไปต่อมธัยรอยด์ไม่โต
      ผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีนในร่างกาย อาจจะไม่ได้เกิดอาการ ครบหมดทุกอย่าง อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่มีการขาดรุนแรงกว้างขวาง จะพบเห็นผู้ที่มีอาการผิดปกติจำนวนมาก

    ไอโอดีน คือ อะไร และ คุณสมบัติของไอโอดีน เป็นอย่างไร

    ที่มา  nutrition.anamai.moph.go.th

    อัพเดทล่าสุด