ประโยชน์ ไอโอดีน ของ ข้าวไอโอดีน ไทยที่ดีที่สุด!!


771 ผู้ชม


ข้าวเสริมไอโอดีน
การผลิตข้าวเคลือบสารไอโอดีน
รองศาสตราจารย์บัญญัติ สุขศรีงาม
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
        ข้าวเป็นผลผลิตทางการเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากคนไทยส่วนมากจะรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักในชีวิตประจำวัน แต่เนื่องจากข้าวที่นำมารับประทานจะเป็นข้าวที่ผ่านขบวนการขัดสีต่าง ๆ ออกไปแล้ว จึงทำให้คุณค่าทางโภชนาการข้าวต้องสูญเสียไปอย่างมาก การรับประทานข้าวจึงได้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่นำไปใช้เป็นพลังงานของ ร่างกายเป็นสำคัญ จึงทำให้มีความพยายามจะผลิตข้าวหรือผลผลิตของข้าวที่มีสารอาหารต่าง ๆ ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการหรือแก้ปัญหาการขาดแคลนสารอาหารของ ประชากรบางกลุ่ม
        สารอาหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในอาหารต่าง ๆ ประกอบด้วย 6 ชนิด ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามินและน้ำ ในสารอาหารเหล่านี้จะพบว่าคนไทยบางพื้นที่เป็นโรคขาดสารอาหารประเภทเกลือแร่ บางชนิด ได้แก่ ไอโอดีน จะพบมากในคนไทยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงทำให้เกิดปัญหาด้าน สุขภาพตามมา เพราะไอโอดีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเป็น อย่างมาก มีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองและเสริมสร้างสติปัญญาให้กับเด็กทุกวัยโดยเฉพาะ อย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงที่มีการเจริญเติบโตในครรภ์ คือตั้งแต่อายุ 3 สัปดาห์จนถึงอายุ 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีการพัฒนาสมองมากถึงร้อยละ 80 ร่างกายจะใช้ไอโอดีนในการเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์สมอง รวมทั้งสร้างใยประสาทเชื่อมต่อกัน ถ้าร่างกายได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอกับความต้องการจะปรากฏอาการต่าง ๆ แตกต่างกันไป เช่น ถ้าขาดไอโอดีนร้อยละ 10 – 30 จะทำให้ระดับสติปัญญาต่ำอย่างมาก ในลักษณะที่เรียกว่า ปัญญาทึบ การขาดไอโอดีนจึงส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ถ้าหากคนไทยกลุ่มใดขาดสารไอโอดีนก็จะมีผลกระทบต่อคุณภาพประชากรของประเทศ
        การแก้ปัญหาการขาดสารไอโอดีนมีหลายวิธี แต่วิธีที่น่าจะได้ผลดีก็คือ การเพิ่มสารอาหารไอโอดีนบนเมล็ดข้าวแล้วนำไปจำหน่ายในพื้นที่ที่ขาดแคลนสาร ไอโอดีนต่อไป ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ตุลยธัญ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประสบความสำเร็จในการนำแร่ธาตุไอโอดีน เหล็กและสังกะสี มาเคลือบไว้บนเมล็ดข้าว โดยใช้สารละลายโพลีเมอร์ที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมกับแร่ธาตุไอโอดีนเหล็กและ สังกะสี แล้วนำมาเคลือบให้กับเมล็ดข้าวสารเพียงครั้งเดียว จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่าเมล็ดข้าวที่เคลือบแล้วและเก็บไว้นาน ประมาณ 9 เดือน จะยังมีสารอาหารที่นำไปเคลือบ เมื่อนำมาล้างหรือแช่น้ำจะยังคงมีสารอาหารที่เคลือบเหลืออยู่ถึงร้อยละ 91 – 93 และเมื่อนำไปหุงต้มจะมีสารอาหารที่เคลือบเหลืออยู่ร้อยละ 88 – 93 ในขณะนี้ได้พัฒนาเครื่องต้นแบบผลิตข้าวเคลือบสารไอโอดีน เหล็กและสังกะสีเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถผลิตข้าวเคลือบสารนี้ได้ชั่วโมงละ 250 ชั่วโมง และคาดว่าจะมีการขยายกำลังการผลิตให้มากยิ่งขึ้นเพื่อผลิตข้าวเคลือบดัง กล่าวไปจำหน่ายให้กับประชาชน ในพื้นที่ที่ขาดแคลนสารไอโอดีนต่อไป
        ท่านผู้ฟังที่เคารพ การพัฒนาข้าวเคลือบสารไอโอดีนดังกล่าวแล้วถือเป็นความสำเร็จที่น่ายกย่องอีก ครั้งหนึ่งของนักวิจัยจากประเทศไทยของเรา เพราะผลจากการวิจัยนี้จะช่วยให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลและไม่ค่อยได้มีโอกาส ได้รับประทานอาหารทะเล ก็สามารถได้รับไอโอดีนจากการรับประทานข้าวเคลือบสารไอโอดีนจึงช่วยป้องกัน การขาดสารไอโอดีนได้เป็นอย่างดีอีกวิธีหนึ่งด้วยครับ
--------------------------------
ที่มา www.uniserv.buu.ac.th

อัพเดทล่าสุด