นิสิต กับ นักศึกษา ต่างกันอย่างไร?
"นิสิต" กับ "นักศึกษา" ต่างกันอย่างไร?
'นิสิต' กับ 'นักศึกษา' ต่างกันอย่างไร
'นิสิต-นัก ศึกษา' ทำไมคนชอบใช้สองคำนี้คู่กัน หรือสองคำนี้ไม่เหมือนกัน แล้วไม่เหมือนกันอย่างไร...จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน มีการใช้คำว่า 'นิสิต' คู่กับคำว่า 'นักศึกษา' บ่อยครั้ง ความต่างและที่มาของทั้ง 2 คำ เห็นได้จากการแปลความหมาย
คำว่า 'นิสิต' เป็นภาษาบาลี แปลว่า 'ผู้อาศัยกับอุปัชฌาย์' เนื่องจากแต่เดิมสถาบันการศึกษาระดับสูงมักมีหอพักให้ผู้เรียนได้พักอาศัยใน สถาบัน ประกอบกับความนิยมภาษาบาลี จึงได้ใช้คำนี้โดยทั่วไป ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่า มหาวิทยาลัยที่มีหอพักให้ผู้เรียนในสถาบันในช่วงที่เริ่มก่อตั้งจะใช้คำว่า 'นิสิต'
ตัวอย่างเช่น จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มแรกเป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรี
สินทร มหาวชิราวุธ ได้สถาปนาขึ้นเป็น 'จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย' และใช้คำว่า'นิสิต' สำหรับนิสิตชายและคำว่า 'นิสิตา' สำหรับนิสิตหญิง แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น 'นิสิต' เพียงคำเดียว
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเริ่มจากเป็น 'โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร' ต่อมายกฐานะเป็น 'วิทยาลัยวิชาการศึกษา' นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของไทยที่สามารถ
เปิด สอนวิชาชีพครูได้ถึงระดับปริญญา มีทั้งสิ้น 8 แห่งทั่วประเทศ และทุกแห่งก็ใช้ 'นิสิต' เหมือนกันหมด ส่วนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ก่อตั้งขึ้นช่วงที่ภาษาบาลี สันสกฤตเป็นที่นิยมและมีหอพักให้ผู้เรียนในสถาบันเช่นเดียวกัน
ส่วน คำว่า 'นักศึกษา' เป็นคำใหม่ที่มีความเป็นไทยมากขึ้น เกิดขึ้นในช่วงที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเปิด ไม่มีหอพักให้ผู้เรียน คือการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง อย่างไรก็ตามพบว่ามหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นภายหลังหลายแห่ง แม้มีหอพักให้ผู้เรียนในมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่นิยมใช้คำว่า 'นิสิต' และหันไปใช้คำว่า 'นักศึกษา' เหมือนกันแทบทุกแห่ง แม้แต่มหาวิทยาลัย
สงขลา นครินทร์ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า 'นิสิต' ก็ได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า 'นักศึกษา' เช่นกัน ดังนั้นจึงเรียกได้ว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยที่เคยใช้คำ ว่า 'นิสิต' มาก่อน
ข้อมูลจากsanook.com