ขับรถหน้าฝน ขับยังไง? ดูแลรถยังไง?


1,103 ผู้ชม

ช่วงนี้เป็นหน้าฝนเพื่อน ๆ หลายคนคงต้องลุยน้ำท่วม เลยอยากให้ดูแลเอาใจใส่รถให้มาก ๆ ครับ




ช่วงนี้เป็นหน้าฝนเพื่อน ๆ หลายคนคงต้องลุยน้ำท่วม เลยอยากให้ดูแลเอาใจใส่รถให้มาก ๆ ครับ

 

ขับรถอย่างไร ? ดูแลรถอย่างไร ? ในการลุยน้ำหน้าฝน

 

       สำหรับคนในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ฤดูฝนเป็นฤดูที่สาหัสสากรรจ์กันไม่น้อย ทั้งผู้มีรถใช้ส่วนตัว หรือ ต้องพึ่งพารถ สาธารณะ รถติดดูจะเป็นปัญหาที่ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป สำหรับผู้ใช้รถ เพราะปราชญ์ เขากล่าวไว้ว่า ปัญหาใดที่แก้ไขไม่ได้ ก็ไม่นับว่า เป็นปัญหา ซึ่งในขณะนี้ก็ได้ย่างกลายเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว การเรียนรู้ศาสตร์ และศิลป์การขับรถลุยน้ำท่วม ก็จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่ เดินทางไปภาคใต้บ่อย ๆ ซึ่งมีฝนตกชุก หรือบางครั้งเราก็อาจเจอแจ็คพ็อตน้ำท่วมในฤดูที่ไม่ควรจะมีน้ำท่วมก็ได้

  ข้อแนะนำก่อนการลุยน้ำ...  

      ผู้ที่มีรถส่วนตัวไว้ใช้งาน แม้ว่าจะดูสะดวกสบายกว่าคนที่ไม่มี แต่ใน ฤดูฝนนี้ เป็นเรื่องไม่สบายนัก คุณควรตรวจตราดูรถยนต์ที่ใช้งานประจำวัน เตรียมให้พร้อมสำหรับหลีกเลี่ยงการจอดตายกลางฝน โดยเฉพาะท่าน สุภาพสตรีที่ต้องขับรถคนเดียว ถ้าเป็นรถใหม่ ๆ ก็ไม่กระไรนัก เพียงแต่ต้อง ใช้ความสามารถกันมากหน่อย ใจเย็นกันมากขึ้นในการขับรถลุยน้ำ หรือ ฝ่าสายฝน ก่อนเข้าหน้าฝนอย่างจริงจัง ก็น่าจะเตรียมรถให้พร้อม โดยเฉพาะท่าน สุภาพสตรี ควรเตรียมรองเท้ายางลุยน้ำสัก 2 คู่ คู่หนึ่งเตรียมไว้สำหรับ ตัวเอง อีกคู่หนึ่งสำหรับผู้ที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือคุณ....
     สายพ่วงแบตเตอรี่ดีๆ สัก 1 ชุด ไฟฉายกระบอกโตที่ใช้งานได้ง่ายๆ ร่มกันฝน และเสื้อกันฝน ก็ไม่น่าที่จะเป็นภาระมากนัก เครื่องมือประจำรถที่มีมาควรตรวจตราดูให้พร้อมใช้งานไม่จำเป็นต้องหาเพิ่มเติม น้ำยาไล่ความชื้นสัก1กระป๋องเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอ สำหรับเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะถ้าเป็นสุภาพสตรีแล้ว การที่รถเสียกลางถนนที่จมน้ำ สิ่งที่ทำได้ก็คือการรอคอยความ ช่วยเหลือ อุปกรณ์ที่กล่าวมา จะเป็นสิ่งที่ให้ความสะดวกสำหรับผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือ ไม่ใช่ว่ารถเสียแล้ว อะไรก็ไม่มี มีมาแต่ตัวค่ะ....!!


 

     ควรจะตรวจตราดูประสิทธิภาพของการชาร์จไฟด้วย ในยามฝนตก รถติด โดยเฉพาะกลางคืน ระบบไฟฟ้าทุกระบบ จะทำงานหมด ไฟหน้า ปัดน้ำฝน แอร์ วิทยุ เทป ซีดี พวกนี้จะกินกระแสไฟ ประกอบกับการใช้รอบ เครื่องที่ต่ำ การชารจ์ไฟทำได้ไม่เต็มที่ ขั้วหลอดไฟ หลอดไฟ แผงฟิวส์ ใบปัดน้ำฝน ต้องตรวจตราให้อยู่ในสภาพร้อยเปอร์เซ็นต์ กระป๋องฉีดน้ำ กระจก มีน้ำให้เต็มอยู่เสมอ ใช้น้ำยาล้างจาน หรือ แชมพูสระผม ผสมลงไป สักหนึ่งช้อนชา จะทำให้ใบปัดน้ำฝนทำความสะอาดกระจกได้สะอาดขึ้น

 

     สำหรับรถเก่า (ตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป) ต้องเอาใจใส่มากหน่อย ถ้าเป็นไปได้ ถอดพรมในรถออก ตรวจตราดูตะเข็บ รอยเชื่อม ปลั๊กยาง (พลาสติก) อุดพื้นตัวถัง อยู่ในสภาพเรียบร้อยดีหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจก็จัดการอุด ปะ เปลี่ยนใหม่ เพื่อป้องกันน้ำเข้ามาในตัวถัง ในปีที่ ฝนตกหนัก และน้ำท่วมมาก หากไม่แน่ใจก็ควรจะถอดพรมออกเก็บไว้ และหาพลาสติคมาปูแทนชั่วคราว เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเงิน ซักพรม หรือ ดมกลิ่นอันไม่สุนทรี จากพรมที่ดูดซับน้ำเอาไว้ ทั้งจากรอยรั่ว หรือ การขึ้น-ลงที่ติดมากับรองเท้า เมื่อหมดฝน ก็จะใส่กลับ เข้าไปใหม่ แผงขอบประตู ยางขอบกระจก ตรวจตราดูรอย รั่วฉีกขาดที่จะทำให้น้ำเข้าได้หรือไม่ แบตเตอรี่ ถ้าใช้มานานแล้ว ก็ควร เปลี่ยนเพราะรถติดๆ จะขับด้วยความเร็วรอบที่ต่ำๆ ประสิทธิภาพในการชาร์จไฟ ก็จะน้อยลง และถ้าเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้มานานแล้ว แผ่นธาตุ หรือ คุณสมบัติในการเก็บไฟ อาจจะน้อยลงไปแล้ว ไดชาร์จ หรือ อัลเตอร์เนเตอร์



     ในกรณีที่รู้ตัวก่อนว่าจะต้องขับรถลุยน้ำท่วม และรู้ว่าน้ำนั้นลึกพอจะลุย ผ่านไปได้ ให้เตรียมกระสอบ กระดาษแข็ง ๆ หรือที่ดีที่สุด ก็คือยางปูพื้นรถ กันฝุ่นนำไปผูกไว้ที่กระจังหน้ารถกันน้ำไม่ให้ไหล เข้าห้องเครื่องยนต์ อันอาจจะทำให้เครื่องยนต์ดับ อยู่กลางน้ำ นอกจาก นั้นต้องระวังท่อไอเสียด้วย เพราะหากท่อนี้จมอยู่ใต้น้ำจะทำให้เครื่องดับควรหาท่อหรือสายยางโต ๆ มาครอบเอาไว้ และยกขึ้น ให้เหนือน้ำ นอกจากนั้นก่อนที่จะผ่านบริเวณน้ำท่วมจะต้องรู้แนวจราจรว่าไปในทาง ใด รู้ว่าน้ำลึกเท่าใด ไม่ควรเสี่ยงขับผ่านไปโดยที่ไม่รู้อะไรเลย เพราะอาจ ตกลงไปในหลุมบ่อหรือคูน้ำข้าง ๆ ควรจอดรอจนกว่าจะเห็นเจ้าถิ่นผู้ชำนาญทางผ่านไปก่อน ให้เขาไปลุยสำรวจทางก่อนแล้วเราขับตาม หากไปคนเดียวก็จอดรถไว้ แล้วลงไปลุยสำรวจด้วยตัวเอง ทำ อย่างนี้ไปเป็นระยะ จนกว่ารถจะพ้นบริเวณน้ำท่วม



วิธีการขับรถลุยน้ำ (ท่วม)


     การบังคับรถยนต์ลุยน้ำ ที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรนัก เพียงแต่ ต้องมีสมาธิ และใจเย็นเพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อยในการ เลี้ยงรอบ เครื่องยนต์ให้อยู่ ในระดับที่พอดี ไม่ควรเร่งรอบเครื่องยนต์ให้สูงนัก พยายามให้รอบเครื่อง คงที่อยู่ที่ 1500- 2000 รอบ ก็เท่ากับ ใช้เกียร์ 2 คลานไปเรื่อย ๆ ทิ้งระยะ ห่างจากคันหน้าอย่างน้อย หนึ่งช่วงตัว

     การรักษาระดับเครื่องที่รอบปานกลาง ค่อนข้างต่ำเอาไว้ ก็เพื่อให้รถ รักษาความเร็วได้คงที่ เพราะการใช้รอบเครื่องที่ต่ำเกินไปนั้น อาจจะทำให้ เครื่องยนต์ดับได้ง่าย และถ้าใช้รอบเครื่องที่สูงเกินไป เครื่องยนต์ก็จะทำงาน หนักขึ้น โดยเฉพาะ การดูดอากาศไปผสมกับ เชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ ถ้ารอบเครื่องยนต์สูง ๆ แรงดูดก็มากขึ้น อาจจะดูดเอาน้ำผ่านกรองอากาศ เข้าไปอัดกับลูกสูบ และถ้าเกิดขึ้นแล้ว คุณเอ๋ย เรื่องค่าซ่อมไม่ต้องพูดถึงกันล่ะ ยกเครื่อง อย่างเดียวครับผม

     แม้ในบทเรียนทั่วไปจะย้ำนักหนาว่านักขับรถที่ดี จะต้องไม่เลี้ยงคลัตช์ แต่กรณีขับรถลุยน้ำมีข้อยกเว้นโดยเฉพาะขับรถลุยน้ำ ต้องเลี้ยงคลัตช์ไว้ และเร่งเครื่องยนต์ให้รอบเครื่องสูงกว่าปกติเล็กน้อยเพื่อกันไม่ให้เครื่องดับทั้งนี้เพราะ เมื่อแช่น้ำนาน ๆ เครื่องยนต์ อาจเย็นเกินไป หรือน้ำอาจกระเซ็นเข้าจานจ่ายบ้าง แต่ก็ต้องจำไว้ด้วยว่าการเลี้ยงคลัตช์บ่อย ๆ เข้า น้ำจะเข้าคลัตช์ได้เช่นกัน



     ในการขับรถลุยน้ำนั้น ถ้าเห็นว่าน้ำนั้น ท่วมสูงถึงครึ่งคันรถ ก็ไม่ควรที่จะฝ่าเข้าไปอยู่แล้ว เนื่องจาก หากน้ำท่วมถึงกรองอากาศ น้ำจะถูกดูดเข้าห้องเผาไหม้ได้ หากเครื่องยนต์ดับกลางน้ำ และพยายาม ติดเครื่องต่อไป ก้านสูบอาจจะคดได้ จะเกิดเรื่องใหญ่ วิธีเดียว ที่ควรจะกระทำก็คือ ลาก เข็น ให้รถพ้นน้ำ ในกรณีที่น้ำท่วมไม่สูงถึง กรองอากาศ และเครื่องยนต์ดับกลางน้ำ จำเป็นต้องลาก เข็นรถให้พ้นน้ำ หากเข็นไม่ไหวเพราะตัวคนเดียวก็เล่นไม่ยาก โดยขั้นแรก ถอดหัวเทียน ออกทุกอัน เก็บหัวเทียนไว้ ให้ดีอย่าให้ตกน้ำ เข้ามาในรถแล้วเข้าเกียร์สองสตาร์ทรถ แต่ระวังอย่าสตาร์ทรถครั้งละเกิน 10 วินาที เมื่อพ้นน้ำแล้ว ค่อยหาสาเหตุ ประการแรก ให้เปิดดูไส้กรองอากาศ เปียกโชกด้วยน้ำหรือไม่ ถ้าไม่ ก็ใช้ น้ำยาไล่ความชื้น ฉีดไล่ไปตามสายไฟ ข้อต่อสายไฟ ทิ้งไว้สักพักแล้วพยายามใหม่ แต่ถ้ากรองอากาศ เปียกโชก ไปด้วยน้ำ

     ถ้าทำได้ ควรถอดหัวเทียนออกให้หมดทุกหัว แล้วสตาร์ทเครื่องยนต์ดูว่าติดขัดอะไร หรือไม่ และถ้ามีน้ำเข้าไปในกระบอกสูบ น้ำก็จะออกมาทางหัวเทียน สตาร์ทเครื่องจนแน่ใจว่าไม่มีน้ำแล้ว ใส่หัวเทียนกลับเข้าที่ แล้วลองอีกครั้ง ถ้าไม่ติด ก็ต้องพึ่งพาเพื่อน ร่วมทาง หรือช่าง ผู้ชำนาญแล้วล่ะครับ

     และเมื่อขับพ้นน้ำแล้ว สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ ทดสอบประสิทธิภาพของการเบรก (หยุดรถ) ดูให้แน่ใจเท่านี้ก็น่าจะไปกันได้ตลอดรอดถนนแล้ว ขอให้โชคดี ในหน้าฝนนี้นะครับ

  ข้อปฏิบัติในการขับรถลุยน้ำ (ท่วม)
-

ควรใช้รอบเครื่องประมาณ 1,500-2,000 รอบ/นาที เพราะรอบเครื่องที่สูงจะทำให้ สายพานตีน้ำกระเด็น เข้าห้องเครื่อง จนดับได้

-

ไม่ควรเปิดแอร์ขณะลุยน้ำลึกเกินกว่า 20 ซม. เพราะใบพัดของพัดลมคอนเดน
เซอร์แอร์อาจตีน้ำกระจายในห้องเครื่องได้ และทำนองเดียวกันใบพัดพัดลมอาจตีน้ำจนใบหักได้

-

ในการเปลี่ยนเกียร์ควรถอนคลัตซ์อย่างราบเรียบและรวดเร็วอย่าเลี้ยงคลัตซ์ เพราะอาจทำให้คลัตช์ลื่นได้ง่าย

-

ในการหยุดรถขณะรถยนต์แช่ในน้ำ ไม่ควรเหยียบคลัตช์ค้างไว้

-

ควรรีบเข้าเกียร์ว่างแล้วปล่อยคลัตซ์อย่างนิ่มนวลและรวดเร็ว เพราะถ้ามีน้ำใน
ผ้าคลัตซ์มาก อาจทำให้คลัตช์ลื่นจนรถยนต์ไม่อาจเคลื่อนตัวได้

-

ถ้าเครื่องยนต์ดับขณะลุยน้ำ ส่วนมากจะเป็นเพราะน้ำเข้าไปในระบบจุดระเบิด ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยการการฉีดสเปรย์ไล่ ความชื้น หรือใช้ผ้าแห้งเช็ดบริเวณจานจ่ายคอยส์ สายหัวเทียน จากนั้นรอสัก 2-3 นาที จึงสตาร์ทเครื่องยนต์ ถ้าสตาร์ท ไม่ติดภายในการสตาร์ท 3 ครั้ง ควรหยุดแล้วเช็ดระบบจุดระเบิดใหม่ ให้แห้งเพื่อสงวนไฟแบตเตอรี่ที่จะหมดไปในการ สตาร์ท เมื่อสตาร์ทเครื่องติดแล้ว ควรเลี้ยงรอบเครื่องแช่ไว้ที่ 1,200 รอบ/นาที (หรือเหยียบคันเร่งค้างไว้เล็กน้อย) สัก 15-20 วินาที เมื่อแน่ใจว่าเครื่องยนต์ทำงานสมบูรณ์จึงค่อยเคลื่อนรถต่อไป

-

หลังจากขับรถพ้นผิวจราจรที่มีน้ำท่วมควรเหยียบเบรคเป็นครั้งคราว เพื่อไล่น้ำจากผ้าเบรค และระบบเบรค จะทำให้ การทำงานของระบบเบรค กลับเข้าสู่สภาพเดิม

-

เบรคติด เพราะจอดทิ้งไว้หลังลุยน้ำ ติดเครื่องเข้าเกียร์ 1 ให้รถเคลื่อนจากนั้นเหยียบเบรค อย่างแรง ต่อจากนั้นเข้าเกียร์ถอย ให้รถเคลื่อน แล้วเหยียบเบรคอย่างแรงสลับกันจนกว่าเบรคจะหลุด

-

สำหรับรถเกียร์ออโตเมติกไม่ควรขับรถลุยน้ำ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังจากการลุยน้ำแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ควรนำรถเข้าตรวจ เช็คระบบเกียร์หากมีน้ำเข้าควรทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ใหม่ เพื่อให้รถ ของท่านที่ผ่านการลุยน้ำมา ใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพเหมือนเดิม

-

ในตอนเช้าหลังจากลุยน้ำมา รถยนต์ของคุณอาจมีอาการเข้าเกียร์ไม่ได้ เพราะคลัตช์ติด การแก้ไขทำได้โดยหาถนนโล่ง ๆ ประมาณ 30-50 เมตร ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้สักครู่จนถึงอุณหภูมิทำงานแล้วดับเครื่อง จากนั้นเหยียบคลัตช์เข้าเกียร์ 1 สตาร์ทเครื่องทั้ง ที่เข้าเกียร์ 1 รถจะวิ่งไปข้างหน้า เมื่อเครื่องติดรถเริ่มวิ่ง ลองดูว่าคลัตช์หลุดหรือไม่ ถ้ายังไม่หลุดให้ลอง ปฏิบัติตามข้างต้นใหม่ (วิธีนี้ค่อนข้างอันตราย ควรหาที่ "โล่ง" จริงๆ และปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง)

ข้อมูลจาก https://www.hondanon.com 

อัพเดทล่าสุด