อาการไมเกรนเป็นอย่างไร และจะ รักษาไมเกรน ยังไง!! (มีคำตอบ)


1,039 ผู้ชม


ปวดศีรษะไมเกรน
สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน
สาเหตุที่แท้จริงของปวดศีรษะไมเกรนยังไม่มีใครทราบ
แต่เชื่อว่าสมองของผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนมีการไวในการตอบ สนองต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะอยู่นอกร่างกาย หรืออยู่ภายในร่างกายทำให้หลอดเลือดมีการอักเสบเมื่อหลอดเลือดขยายจึงปวด ศีรษะ
อาการ
    * ปวดศีรษะมักจะปวดข้างเดียว อาจจะสลับซ้ายขวาได้ ลักษณะปวดเป็นแบบตุ๊บๆๆๆ น้อยรายที่จะปวดพร้อมกันสองข้าง ปวดมากจนทำงานไม่ได้
    * ปวดศีรษะมากจนทำงานไม่ได้ บางคนปวดจนน้ำตาไหล ส่วนใหญ่ปวด 4-72 ชั่วโมง
    * ปัจจัยที่ทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นคือการเคลื่อนศีรษะ
    * หลังปวดศีรษะอาจมีอาการคลื่นไส้ ถ้าเป็นมากจะอาเจียน
    * โดยมากจะมีสิ่งที่กระตุ้นทำให้ปวดศีรษะได้แก่ แสงจ้า เย็นหรือร้อนจัด เสียงดัง
    * โดยมากเป็นในอายุน้อย
อาการปวดศีรษะมักจะเริ่มช่วงวัยรุ่นเมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดศีรษะจะดีขึ้น บางครั้งผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนอาจจะมีอาการนำ aura เช่นเห็นแสงแลบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเราเรียก classic migrain อาการปวดมักปวดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร อาการปวดมักปวดข้างใดข้างหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียก common migrain  ไม่เกรนเป็นโรครักษาไม่หายขาดแต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถทำให้ควบคุมโรคได้
ไมเกรนกับคุณผู้หญิง
ผู้หญิงและผู้ชายเป็นไมเกรนได้ทั้งสองเพศแต่ผู้หญิงจะเป็นบ่อยกว่า บางคนปวดขณะมีประจำเดือนและหายไปเมื่อตั้งครรภ์ ผู้ป่วยบางคนเมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและถี่ขึ้น บางคนไม่เคยเป็นไมเกรนแต่หลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดก็เกิดอาการปวดศีรษะไม เกรน ทั้งนี้เนื่องจากยารักษาไมเกรนแต่ละชนิดจะมีส่วนผสมของเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนระดับต่างๆกัน อาจจะแก้ไขโดยการเปลี่ยนชนิดของยาคุมกำเนิดหรือใช้ยี่ห้ออื่น และเมื่อพบว่ายาคุมทำให้คุณปวดศีรษะเพิ่มขึ้นคุณควรไปปรึกษาแพทย์
สำหรับไมเกรนที่มีอาการนำเช่น ตาเห็นแสง ชาตามมุมปาก ตามนิ้วไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิด สำหรับคนที่ไม่เคยมีอาการดังกล่าวหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดแล้วเกิดอาการนำดังกล่าวให้ปรึกษาแพทย์
ชนิดของไมเกรน
นอกจากไมเกรน 2 ชนิดดังกล่าว ยังมีไมเกรนอีกหลายชนิดดังนี้
    * Hemiplegic migraine มีอาการอ่อนแรงของแขนขาข้างหนึ่งเป็นระยะเวลาช่วงสั้นๆหรือบางคนอาจจะมีเวียนศีรษะ หลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงจะมีอาการปวดศีรษะตามมา
    * ophthalmoplegic migraine ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะร่วมกับหนังตาตก เห็นภาพซ้อน
    * Basilar artery migraine ก่อนอาการปวดศีรษะผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้ เห็นภาพซ้อน
    * Status migrainosus ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะนานกว่า 72 ชั่วโมงและมีอาการมากกว่าปกติ
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยไมเกรนอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเท่านั้นการเจาะเลือด หรือการตรวจ x-ray เป็นเพียงช่วยวินิจฉัยแยกโรคเท่านั้น แพทย์จะซักประวัติเพื่อวินิจฉัย
    * แพทย์จะซักเกี่ยวกับอาการปวด ตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ ระยะเวลาที่ปวด
    * แพทย์จะซักอาการร่วมเช่น ไข้ อาการชัก อ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง
    * แพทย์จะซักประวัติโรคประจำตัง การใช้ยา
    * แพทย์จะตรวจร่างกายโดยละเอียด
อาการดังต่อไม่นี้ไม่ควรคิดถึงไม่เกรน
    * ผู้ป่วยปวดศีรษะหลังอายุ50 ปี
    * อาการปวดศีรษะปวดขึ้นทันที โดยมากเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก
    * อาการปวดศีรษะเป็นบ่อยขึ้น รุนแรงขึ้นนานขึ้น
    * อาการปวดศีรษะพบร่วมกับ ไข้ คอแข็ง ผื่น
    * มีอาการทางระบบประสาทอื่น เช่น ชัก อ่อนแรงของแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง
การวินิจฉัยไมเกรนอาศัยเพียงประวัติเท่านั้นดังนั้นมีเกณฑ์ดังนี้
   1. จะต้องมีอาการปวดศีรษะ (ตามข้อ2-4) อย่างน้อย 5 ครั้ง
   2. ปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมง
   3. ลักษณะปวดศีรษะต้องประกอบด้วยลักษณะอย่างน้อย 2 ประการ
    * ปวดข้างเดียว
    * ปวดตุ๊บๆๆ
    * ปวดมากจนทำงานประจำไม่ได้
    * ขึ้นบันไดหรือเคลื่อนไหวทำให้ปวดมากขึ้น
   4. ขณะปวดศีรษะจะต้องมีอาการข้างล่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
    * คลื่นไส้หรืออาเจียน
    * แสงจ้าหรือเสียงดังทำให้ปวดศีรษะ
   5.
      ประวัติและการตรวจร่างกายปกติ
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะแบบดังกล่าวไม่จำเป็นต้องตรวจ computer เพื่อการวินิจฉัย
การรักษาไมเกรน
การรักษาไมเกรนให้ได้ผลดีผู้ป่วยจะต้องทราบถึงสาเหตุที่กระตุ้นให้ปวดศีรษะ และมีส่วนร่วมในการรักษาโดยมีสมุดจดบันทึกปัจจัยชักนำให้ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะเป็นอย่างไรหลังจากหลีกเลี่ยงปัจจัยชักนำ การปรับยาของแพทย์ทำให้ปวดศีรษะดีขึ้นหรือไม่ ควรไปตามนัดทุกครั้งเพื่อประเมินผลการรักษา แบ่งการรักษาเป็นสองหัวข้อคือ ควบคุมปัจจัยชักนำ และการรักษาด้วยยา
   1. การควบคุมปัจจัยชักนำ
ปัจจัยชักนำมิใช่สาเหตุแต่เป็นเพียงปัจจัยเริ่มที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะมีปัจจัยชักนำไม่เหมือนกัน
    * อาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์โดยเฉพาะไวน์แดง ผงชูรส อาหารที่มี tyramine เช่น เนย นม ชอคโกแลต กล้วยหอม ผงชูรส ผลไม้ประเภทส้ม กาแฟและชา
    * การนอน ควรนอนให้เป็นเวลาและนอนให้พอ ตื่นให้เป็นเวลา
    * ฮอร์โมน ผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้นอาการจะปวดดีขึ้น การตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกปวดศีรษะจะเป็นมากระยะหลังตั้งครรภ์อาการปวดจะดีขึ้น การรับประทานยาคุมกำเนิดจะทำให้ปวดศีรษะมากขึ้น
    * ความเครียด พยายามควบคุมความเครียด หาเวลานั่งพักหลับตาหยุดคิดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
    * ปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว
   2. การรักษาไมเกรนด้วยยา
การรักษาด้วยยาแบ่งออกเป็นการรักษาเมื่อมีอาการปวดศีรษะ [acute treatment] และการรักษาเพื่อป้องกัน [preventive treatment] จะใช้ในกรณีที่ปวดศีรษะรุนแรงและบ่อย
   1. acute treatment ยาแก้ปวดศีรษะมีด้วยกันหลายชนิดควรรับประทานทันทีที่เริ่มมีอาการปวดศีรษะไม่ควรรับประทานยาบ่อย หรือมากกว่าที่แพทย์สั่ง
    * ยาแก้ปวดและบรรเทาอาการอื่นยาบางชนิดอาจหาซื้อได้ จากร้านขายยาเช่น paracetamol ,aspirin, ibuprofen ยา aspirin ไม่ควรใช้กับเด็ก ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานยากลุ่มเหล่านี้ก่อนพบแพทย์ แต่ถ้าไม่หายแพทย์อาจให้ยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดศีรษะ ดีขึ้น แต่ยาบางตัวอาจมีแนวโน้มที่จะเสพติด แพทย์บางท่านอาจให้ยา Nonsteroidal anti-inflammatory drugs เช่น mefenamic,diclofenac,ibuprofen แทนกลุ่มที่จะมีแนวโน้มทำให้เสพติด ผู้ป่วยไมเกรนนอกจากจะมีอาการปวดศีรษะแล้วยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วม ด้วย ดังนั้นควรได้รับยาแก้คลื่นไส้หากมีอาการคลื่นไส้มาก
    * ยาที่หยุดอาการไมเกรน ยาในกลุ่มนี้มีสองชนิดได้แก่ Ergot alkaloids และ Triptans
   2. Migraine prevention
หากอาการปวดศีรษะไมเกรนเป็นรุนแรงเป็นบ่อบแพทย์จะแนะนำยาป้องกันไมเกรน ซึ่งสามารถลดความถี่ ความรุนแรงและระยะเวลาที่ปวด และเมื่อสามารถควบคุมอาการได้แพทย์จะแนะนำให้ค่อยๆลดยาลงยาในกลุ่มนี้ได้แก่
    * Antidepressants ยาลดอาการซึมเศร้าสามารถป้องกันปวดศีรษะไมเกรนได้เช่น amitriptyline, nortriptyline, and doxepin
    * Beta-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและรักษาโรคหัวใจแต่สามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้เช่น propranolol, metoprolol, timolol, nadolol, or atenolol การจะใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากมีผลต่อความดันโลหิตและต่อการเต้นของหัวใจ
    * Calcium channel blockers เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและรักษาโรคหัวใจแต่สามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้ เช่น verapamil, diltiazem, or nifedipine.  การจะใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากมีผลต่อความดันโลหิต และต่อการเต้นของหัวใจ
    * Serotonin antagonists เช่น cyproheptadine. เป็นยาที่ทำให้อยากอาหารไม่ควรใช้ยาตัวนี้ในเด็ก
    * Anticonvulsants เป็นยากันชักใช้ได้ผลดีโดยเฉพาะ valproate ยาตัวนี้ให้ใช้กับเด็กอายุมากกว่า 10ปี
การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
มีรายงานว่าการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาก็สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะ
    * การทำสมาธิ
    * การจัดการกับความเครียด
    * การฝังเข็ม
    * การออกกำลังกาย
 หลักการที่ทำให้การรักษาไมเกรนให้ได้ผลดี
   1. การจดบันทึกอากรของโรคไมเกรนดังนี้
    * วันและเวลาทีปวด
    * ระยะเวลาที่ปวด
    * อาการอื่นที่พบร่วม เช่น คลื่นไส้อาเจียน สิ่งกระตุ้นเช่น แสง เสียง กลิ่น
    * ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ คุณผู้หญิงอย่าลืมบันทึกเกี่ยวกับรอบเดือนด้วยครับ
   2. ให้คนใกล้ชิดคอยสังเกตถึงอาการก่อนปวดศีรษะเช่น หิวข้าว หิวน้ำ หาวนอน อ่อนเพลีย ซึมเศร้า แสง เสียง หนาวสั่น ปัสสาวะ
   3. ให้พกยาติดตัวไว้อย่างน้อย 1 ชุดเสมอ
   4. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดห้ามรับประทานยาเกินแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาทันที
   5. ถ้าลืมกินให้กินยาทันทีที่นึกขึ้นได้ ห้ามรับประทาน 2 เท่า
   6. หลังจากรับประทานยา ให้หาห้องเงียบๆมืดๆนอนพักจนอาการปวดดีขึ้น
   7. ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา ปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด
อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ ยา ปวดศีรษะ ปวดศีรษะจากความเครียด สัญญาณอันตราย การตรวจวินิจฉัย ไมเกรน ปัจจัยที่กระตุ้น
   
ที่มา  www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด