มารู้จักกับ คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ กันดีกว่า


868 ผู้ชม

คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติเป็นคณะ กรรมการหนึ่งในกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ด้านวิชา การเกี่ยวกับภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย


มารู้จักกับ คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ กันดีกว่า

คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติเป็นคณะกรรมการหนึ่งในกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ด้านวิชา การเกี่ยวกับภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือน กันยายน 2528 โดยการรวมตัวของเหล่านักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยา วิศวกร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแผ่นดิน ไหวและวิศวกรรมแผ่นดินไหวรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เนื่องจากได้เกิดแผ่นดินไหวที่ อำเภอ ศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 ความสั่นสะเทือนเกิดขึ้นรุนแรง ประชาชนใน แทบทุกจังหวัดในภาคเหนือและภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครรู้สึกถึงความสั่นไหวอย่างชัดเจน เกิดความเสียหายเล็กน้อยบริเวณใกล้ศูนย์กลาง เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดความตระหนกและเริ่มเป็นที่ กังวลใจ เนื่องจากศูนย์กลางค่อนข้างใกล้กรุงเทพมหานคร ดังนั้นคณะกรรมการแผ่นดินไหวจึงเริ่มก่อตั้ง ขึ้นและมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหว

องค์ประกอบของ คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ
1. รัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรางคมนาคม ประธานกรรมการ
2. อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รองประธานกรรมการ
3. อธิบดีกรมโยธาธิการหรือผู้แทน กรรมการ
4. อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีหรือผู้แทน กรรมการ
5. อธิบดีกรมการปกครองหรือผู้แทน กรรมการ
6. เจ้ากรมอุทกศาสตร์ หรือผู้แทน กรรมการ
7. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหรือผู้แทน กรรมการ
8. เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรรมการ
9. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมหรือผู้แทน กรรมการ
10. ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
11. นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
12. อธิบดีกรมชลประทานหรือผู้แทน กรรมการ
13. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน กรรมการ
14. ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติหรือผู้แทน กรรมการ
15. นาย สุภาพ ภู่ประเสริฐ กรรมการ
16. นาย การุญ จันทรางศุ กรรมการ
17. นาย ปริญญา นุตาลัย กรรมการ
18. นาย ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ กรรมการ
19. ผู้อำนวยการกองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กรรมการและเลขานุการ
20. หัวหน้าฝ่ายภูมิฟิสิกส์ กรมอุตุนิยมวิทยา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ที่ตั้งสำนักงานคณะกรรมการฯ
กรมอุตุนิยมวิทยา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร โทร 3994547
อำนาจและหน้าที่
1. ดำเนินการและประสานงานโครงการและแผนงานต่างๆ ในด้านแผ่นดินไหวและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ทั้งภายในและต่างประเทศ รวมถึงติดต่อประสานงานกับสมาคมเปลี่ยนองค์การหรือหน่วยงาน เพื่อ
แลกความรู้ ข้อคิดเห็นและข้อมูล
2. จัดโครงการ แผนงาน และดำเนินการศึกษาและวิจัยด้านแผ่นดินไหวและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. เผยแพร่ความรู้เรื่องแผ่นดินไหวให้สาธารณชนทราบ
4. เสนอแนะมาตรการและแนวทางป้องกัน การเตือนภัยและการบรรเทาภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว
5. ดำเนินการเพื่อให้มีการพัฒนาระบบการตรวจวัดแผ่นดินไหว โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการ
เตือนภัยและป้องกันภัยแผ่นดินไหว
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯและคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามความเหมาะสมและให้มีอำนาจเชิญ
ผู้แทนส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็นได้
ตัวอย่างกิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน
1. ศึกษารอยเลื่อนมีพลังในภาคเหนือ
2. ตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพื้นดินจากเครือข่ายของ กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทย กรมอุทกศาสตร์ และกรมชลประทาน
3. ตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดินและอาคารเพื่องานวิศวกรรม ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดย
กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมโยธาธิการ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
4. วางแผนจัดตั้งโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย
5. ประสานงานความร่วมมือทางวิชาการตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเป็นประจำ
6. ผลักดันให้มีการออกกฏกระทรวงว่าด้วยการออกแบบสร้างสิ่งก่อสร้างบางประเภทให้สามารถทนแผ่น
ดินไหวในเขตความเสี่ยงแผ่นดินไหวต่างๆ ขณะนี้ครอบคลุม 9 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัด
เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และในภาคกลาง 1 จังหวัดคือ
จังหวัดกาญจนบุรี

ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา

อัพเดทล่าสุด