สาเหตุลมพิษ - ผื่นคันลมพิษ อาการของลมพิษ มีอะไรบ้าง!!


1,244 ผู้ชม


  สาเหตุและอาการของลมพิษ  
 


สาเหตุลมพิษ - ผื่นคันลมพิษ อาการของลมพิษ มีอะไรบ้าง!!ลมพิษ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของ หลอดเลือดในชั้นหนังแท้ ต่อสิ่งกระตุ้นจากภายนอก และภายในร่างกาย เช่น อาหาร ยา เชื้อโรค และสภาวะทางฟิสิกส์ อาการของผื่นลมพิษเกิดขึ้น เมื่อร่างกายผู้ป่วยได้รับสิ่ง ที่ตัวเองแพ้เข้าสู่ผิวหนัง โดยการรับประทาน สัมผัส หรือโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เข้าใต้ผิวหนัง หรือเข้าหลอดเลือด สิ่งกระตุ้นที่ผู้ป่วย จะทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนังขยายตัว สารน้ำในหลอดเลือด จะซึมออกนอกหลอดเลือด เกิดอาการแดง บวม ร้อน คัน บางครั้งอาจมีอาการเจ็บร่วมด้วยได้ ถ้าการขยายตัวของหลอดเลือด เกิดในหนังแท้ส่วนบนๆ อาการบวม แดง ร้อน จะเห็นชัดเจนเรียกลมพิษชนิดตื้น (Urticari) ถ้าการขยายตัวของหลอดเลือด เกิดในส่วนลึกของหนังแท้ อาการแดงมักเห็นไม่ชัดเจน แต่จะพบอาการบวมมากกว่าเรียก ลมพิษชนิดลึก (Angioedem)

ผื่นลมพิษชนิดตื้น เกิดบริเวณใดของผิวหนังก็ได้ มีขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร จนถึงขนาด 20 เซนติเมตร ผื่นมีหลายรูปแบบเช่น กลม รี วงแหวน วงแหวนหลายๆ วงมาต่อกัน หรือเป็นรูปแผนที่ ผื่นลมพิษชนิดลึก มักเกิดบริเวณรอบตา ปาก ปลายแขน รายที่เป็นรุนแรงจะบวมมาก โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า และลำคอ ซึ่งเป็นเครื่องเตือนว่า ผู้ป่วยอาจเกิดอันตราย จากการอุดตันของทางเดินลมหายใจ ถ้าผู้ป่วยมีอาการแน่น หายใจไม่สะดวก ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อรับการรักษา

ลักษณะอาการ

ลักษณะอาการของผื่นลมพิษ มีลักษณะสำคัญ คือ อาการบวม แดงที่ผิวหนังแต่ละตำแหน่ง เป็นอยู่ไม่เกิน 24 ชม. ก็จะยุบไป แต่จะไปเกิดบริเวณอื่นของผิวหนังได้ มี 2 ชนิด คือ

 

1.

ลมพิษชนิดฉับพลัน คือ ผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางรายอาจรุนแรง ลมพิษชนิดนี้หายไปภายใน 6 สัปดาห์ แตกต่างจากลมพิษชนิดเรื้อรัง คือ อาการของโรคเพิ่งเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงสามารถบอกถึง ความสัมพันธ์ของผื่นลมพิษกับสาเหตุของโรคได้ โรคติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เป็นสาเหตุของลมพิษชนิดฉับพลันที่พบบ่อย อาการผื่นลมพิษ อาจนำหน้าอาการไอเจ็บคอ ท้องเดิน ที่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย หรือเกิดภายหลังอาการดังกล่าวก็ได้ แต่มักอยู่ในระยะ 2 สัปดาห์ หลังเกิดอาการ และลมพิษชนิดเรื้อรังได้ และที่แตกต่างอีกประการหนึ่ง ของผู้ที่เป็นโรคลมพิษเฉียบพลัน คือ มักพบความสัมพันธ์ชัดเจน กับสารเคมีที่เป็นสาเหตุ เช่น ยา หรืออาหารที่ผู้ป่วยรับประทาน ซึ่งผู้ป่วยมักจะได้สารเคมีนั้นในระยะ 2 สัปดาห์เกิดผื่น
 

2.

ลมพิษชนิดเรื้อรัง คือ ผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่รุนแรง ผื่นจะขึ้นๆ ยุบๆ เป็นอยู่นานเกิน 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่หาสาเหตุไม่ได้ ผู้ป่วยจึงมีอาการผื่นลมพิษเป็นๆ หายๆ นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

สาเหตุของลมพิษ

 

1.

เกิดจากเชื้อโรค ได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือพยาธิ เป็นสาเหตุของลมพิษที่พบบ่อย เชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายทางใดก็ได้ เช่น ทางเดินอาหาร ทางเดินลมหายใจ ทางเดินปัสสาวะและผิวหนัง
 

2.

สารเคมี ที่สำคัญคือ อาหารและยา ที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ก่อนเกิดผื่นลมพิษ ปัจจุบันสารเคมี อาจปนเปื้อนมากับอาหารที่รับประทาน โดยไม่สามารถทราบได้เลย ตัวอย่าง เช่น ยาปฏิชีวนะที่ตกค้างอยู่ในเนื้อไก่ เนื้อปลา ยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนอยู่ในผัก ผลไม้ เป็นต้น จึงเป็นการยากที่จะจับสาเหตุ ของลมพิษในผู้ป่วยทุกรายได้
 

3.

สภาวะทางฟิสิกส์ เช่น ความร้อน ความเย็น แสงแดด เป็นสาเหตุสำคัญของผื่นลมพิษได้เช่นกัน

การดูแลรักษาผู้ป่วยลมพิษ

 

หลีกเลี่ยง หรือกำจัดสาเหตุของผื่นลมพิษ ถ้าสามารถทำได้ ผู้ป่วยจะหายขาดจากโรคลมพิษ วิธีกำจัดสาเหตุของลมพิษให้ปฏิบัติ ดังนี้
 
1. ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อเป็นการขับสารพิษ ที่เป็นต้นเหตุของผื่นลมพิษออกไปทางไต และควรระวัง ไม่ให้ท้องผูก เพื่อเป็นการกำจัดของเสียออกทางอุจจาระ
 
2. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็น ต้นเหตุของลมพิษ ได้แก่ อาหารทะเล อาหารหมักดอง อาหารที่มียากันบูด อาหารกระป๋อง ถั่ว เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู เพราะอาจมียาปฏิชีวนะตกค้างอยู่ในเนื้อ นอกจากนี้ ผักผลไม้ที่รับประทานควรแช่น้ำ และล้างให้สะอาด เพื่อกำจัดยาฆ่าแมลง และสารเคมีที่ปนเปื้อนบนผิว หรือเปลือกผลไม้
 

กรณีที่ไม่ทราบสาเหตุของ ผื่นลมพิษ หรือทราบสาเหตุแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้แพ้ ได้แก่ ยาต้านฮิสตามีน ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม ดังนี้
 
1. ยาต้านฮิสตามีนชนิดทำให้ ง่วงน้อย ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กดอาการลมพิษได้ดี ทำให้ง่วงนอน แต่ราคาแพง ได้แก่ Astemizole, Loratadine เป็นต้น
 
2. ยาต้านฮิสตามีนชนิดที่ทำ ให้ง่วงซึม มีฤทธิ์กดอาการผื่นคันดีมาก ข้อจำกัดของยากลุ่มนี้คือ อาการง่วงนอน ซึ่งพบบ่อยกว่ายากลุ่มแรก ยากลุ่มนี้มีหลายชนิดเช่น Chlorpheniramine, Brompheniramine เป็นต้น

กรณีที่เป็นลมพิษเรื้อรัง หาสาเหตุไม่ได้ ควรรับประทานยาต้านฮิสตามีน เพื่อคุมอาการของลมพิษให้สงบ ติดต่อกันนาน 2-4 สัปดาห์ ขนาดของยาต้านฮิสตามีน ที่จะใช้การคุมอาการลมพิษ จะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน การรับประทานยาต้านฮิสตามีนในระยะยาว ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และกรณีที่ผื่นลมพิษรุนแรง รวมกับอาการแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป

 
แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 66 ธันวาคม 2548

อัพเดทล่าสุด