ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส คืออะไร กันแน่ !!


896 ผู้ชม


ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นชื่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อ Treponema pallidum มีอันตรายเป็นโรคติดต่อที่สามารถทำให้เกิดโรคแก่ระบบต่าง ๆ ของ ร่างกายได้หลายระบบ เช่น ซิฟิลิสระบบหัวใจและ หลอดเลือด ซิฟิลิสระบบประสาท เป็นต้น นอกจากนี้ มารดาที่เป็นโรคซิฟิลิสจะถ่ายทอดโรคสู่ทารกในครรภ์ได้เรียกว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด
            โรคซิฟิลิส มีลักษณะคล้ายเชื้อแบคทีเรียมีรูปร่างยาว ๆ เป็นเกลียวคล้ายสว่าน สามารถ เคลื่อนไหวได้ เชื้อซิฟิลิสถูกฆ่าได้ง่ายด้วยความแห้ง ความร้อน และยาฆ่าเชื้อทั่ว ๆ ไป น้ำสบู่
 


ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !!


สาเหตุของโรคซิฟิลิส (Etiology)
        
 ใน ปัจจุบันนี้โรคซิฟิลิส (Syphilis) พบน้อยลง แต่ยังไม่มีใครบอกได้ว่าโรคนี้ เกิดขึ้นได้้อย่างไร รู้แต่ เพียงว่าเป็นโรคที่มีการแทรกซ้อน อันตราย หลายอย่าง เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์เกิดจาก บุคคลที่มีนิสัยสำส่อนทางเพศ เกิดการติดเชื้อซิฟิลิส ซึ่งเป็นเชื้อแบคที เรียพวกสไปโรคีท ชื่อ เทรโปนีมาพัลลิดุม (Treponema  Pallidum) ชอบความชื้น ตายง่ายในภาวะแห้ง  มีความไว ต่อสาร Antiseptic หรือเพียงน้ำสบู่ธรรมดาก็ทำลาย เชื้อได้ ระยะฟักตัว 9  - 10 วัน โดยเฉลี่ย   2 - 4 สัปดาห์

ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !!

ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !! อาการของโรคซิฟิลิส ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !!

ระยะที่ 1 ระยะแผลริมแข็ง (Primary Syphilis)
          หลังจากติดเชื้อ 1 -8 สัปดาห์จะมีตุ่มเล็ก ๆ เท่าหัวเข็มหมุด เกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ หรือที่อื่นๆ ตามร่างกาย เช่น ริมฝีปาก  ลิ้น ต่อมทอนซิล  หัวนม นิ้วมักมีแผลเดียว แผลสะอาด หลังเป็นแผล 1 สัปดาห์จะเป็นฝีมะม่วง  (Bubo) ต่อมาตุ่ม เล็กๆนี้จะแตกแล้วกลายเป็นแผลกว้างขอบแผล เรียบและแข็ง เรียกว่า แผลริมแข็ง(Hard Chancre)มัก มีแผลเดียวรูปกลมหรือวงไข่อาจมี 2 แผล ชนติดกัน ระยะนี้จะไม่มีอาการเจ็บ หรือคันบริเวณก้นแผลแข็ง คล้ายกระดุม ต่อมที่ขาหนีบโต มีลักษณะแข็ง แม้ไม่ได้รักษาแผลจะ หายได้เอง แต่เชื้อซิฟิลิสยังคงอยู่ในร่างกาย


          ระยะที่ 2 ระยะออกผื่น (Secondary Syphilis     
        จะพบหลังการเป็นโรคระยะแรก 2-3 สัปดาห์ เชื้อซิฟิลิสจะเข้าต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย เช่น บริเวณหลังหู หลังขาหนีบ หลังขาพับ ร่างกาย มีลักษณะเป็นตุ่มนูน อาจพบเนื้อตายเป็น หย่อมๆ และพบส่วนที่เน่าหลุดออกมา มีน้ำเหลือง น้ำ เหลืองนี้มีเชื้อซิฟิลิสมากสามารถติดต่อกัน ได้ง่าย ตามร่างกายจะมีผื่นขึ้นทั้งตัว และฝ่ามือ ฝ่าเท้า (ต่างจากโรคอื่นเมื่อมีผื่นขึ้นตามร่างกายจะไม่ขึ้น ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าอาการเช่นนี้เรียก “ระยะออก ดอก” อาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เจ็บคอปวด เมื่อยตามข้อ ผมร่วงทั่วศีรษะ หรือเป็นหย่อม ถ้าตรวจเลือดจะพบเลือดบวก “เลือดบวกซิฟิ ลิส” อาการเหล่านี้อาจหายไปเองแม้ไม่ได้รับ การรักษาแต่เชื้อซิฟิลิสยังคงอยู่ในร่างกาย


ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !!

ระยะที่ 3 ระยะแฝง (Early Latent Syphilis)              
          ระยะนี้ไม่ปรากฏอาการใดมักจะเกิดขึ้น  3–10 ปี หลังได้รับเชื้อ เกิดจาก ผู้ป่วย และไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ถูกวิธี เช่น ซื้อยากินเอง ทำให้เข้าสู่ ระยะร้ายแรงของโรค อาจทำ ให้ตาบอด หูหนวก สติปัญญาเสื่อม เชื้ออาจเข้าสมอง และ ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาต และ เสียสติได้ เชื้ออาจเข้าสู่หัวใจทำให้เป็นโรค หัวใจ เส้นเลือดแดงใหญ่อักเสบ และถึงแก่ชีวิตในที่สุด

โรคซิฟิลิสในหญิงมีครรภ์
          ถ้าหญิงมีครรภ์ป่วยเป็นโรคซิฟิลิส และไม่ได้รับการ รักษาเชื้ออาจถ่ายทอด ไปยังทารกที่อยู่ในครรภ์ โดยผ่าน ทางสายรกได้ ทำให้ทารกตายในครรภ์ หรือตาย หลังคลอด หรือมีความพิการไปตลอดชีวิต ซึ่งเรียกว่า ซิฟิลิสโดยกำเนิด (Congenital Syphilis) หรือ (Hydrops Fetalis) ทารกจะมีอาการผิดปกติ ของอวัยวะต่างๆเช่น กระดูก ฟัน จมูกยุบ (จมูกบี้พูดไม่ชัด) ปากแหว่ง เพดานโหว่ ปัญญาอ่อน   ตาบอด

 



ความสำคัญและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคซิฟิลิส
          ปัจจุบันนี้โรคซิฟิลิสโดยตรงจะไม่ปรากฏพบเห็นมากมาย แต่โรคซิฟิลิสจะเกิดการติดเชื้อ ร่วมกับการเป็นโรคเอดส์ การป้องกันตนเองมิให้เกิดโรคซิฟิลิสง่ายๆก็คือ  ไม่ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัว ไม่ไปในที่เปลี่ยวตามลำพัง ไม่เที่ยวหญิงบริการ ไม่สำส่อนทางเพศ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกัน
โรคซิฟิลิสได้


การป้องกันโรคซิฟิลิสแบ่งเป็นข้อๆดังนี้

      การปฏิบัติทางเพศอย่างปลอดภัย(Safe Sex)
           การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง  (Masturbation)
           การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการสอดใส่ (Non-Penetrative sexual  relationship)
      ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
      รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะเพศ

ข้อแนะนำ
      ไม่ควรมีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ
      หักห้ามใจไม่มั่วเพศ - ไม่มั่วหญิงบริการ
      ไม่ดื่มสุราจนมึนเมาขาดสติ
      หากพบว่าตนเองมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการ  รักษาทันที
      รับการรักษาและปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำ
      ควรได้รับการเจาะเลือดเพื่อหาผลเลือดบวกซิฟิลิสในเดือนที่ 1,3,6,12 หลัง การรักษา
      หญิงมีครรภ์ถ้ามีพฤติกรรมเสี่ยงจากสามีควรได้รับการตรวจรักษา ตรวจหาผลเลือดบวก ซิฟิลิส  หากพบต้องทำการรักษา เด็กที่เกิดมาจะได้ไม่พิการ
      ข้อสำคัญที่สุด  อย่าลืม   ถุงยางอนามัย


ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !!

ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !! คนเราติดเชื้อโรคนี้ได้อย่างไร ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !!


     ทางเพศสัมพันธ์

           เชื้อโรคสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ
           เชื้อโรคจะติดต่อได้บ่อยในระยะ primary เนื่องจากระยะนี้จะไม่มีอาการ
           ในระยะ secondary จะมีหูดระยะนี้จะมีเชื้อโรคปริมาณมาก หากสัมผัสอาจจะ ทำให้เกิดการ ติดต่อ

      การติดต่อทางอื่น          

          ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !! เชื้อจะอ่อนแอตายง่ายดังนั้นการสัมผัสมือหรือการนั่งโถส้วมจะไม่ติดต่อ
          ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !! หากผิวหนังที่มีแผลสัมผัสกับแผลที่มีเชื้อก็ทำให้เกิดการติดเชื้อจากแม่ไปลูก เชื้อสามารถ ติดจากแม่ไปลูกขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด




แนวทางการรักษา
     เมื่อพบว่ามีอาการติดเชื้อซิฟิลิสตามลักษณะระยะที่ 1 ต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่าคิด ว่า เมื่ออาการของโรคหาย นั่นคือโรคซิฟิลิสได้หายแล้ว เชื้อซิฟิลิสจะยังอยู่ในกระแสเลือดพร้อมที่ จะ ลุกลาม ทำอันตรายให้กับร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นควรได้รับการรักษา อย่าอายหมอ
           พบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือ หน่วยควบคุมกามโรค
           แพทย์อาจจะให้ยาประเภทเพนนิซิลินขนาดสูง ๆ หรืออาจจะให้ยาโดยการฉีดเข้ากล้าม  เนื้อ
           พบแพทย์รับการรักษาให้ติดต่อตามที่แพทย์นัด


ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !!
          
          ซิฟิลิส หรือ โรคซิฟิลิส  คืออะไร  กันแน่ !! ผมร่วง โลหิตจาง ตาอักเสบ (Iridocyclitis) ต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต ม้ามโต เยื่อหุ้มสมอง อักเสบ โรคหัวใจ ผลต่อทารกในครรภ์ : ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด น้ำหนักเกิน ต่อระบบ ประสาทสมอง ฯลฯ หรือตายในครรภ์แท้ง
 
 
ที่มา  www.thaigoodview.com

อัพเดทล่าสุด