โรคซิฟิลิสในผู้หญิง - ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ มีผลอย่างไรบ้าง !!


3,751 ผู้ชม


ซิฟิลิส - Syphilis ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ ด้วย
ลักษณะทั่วไป
ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้มากกว่า โรคติดต่อ
ทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น ๆ และมีระยะแฝงตัวของโรคที่ค่อนข้างยาวนาน ซึ่งสามารถแพร่ให้คู่สมรส
และบุตรได้ พบได้ประมาณ 10-15% ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด
สาเหตุ
เกิดจาก เชื้อซิฟิลิส ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เทรโพนีมาพัลลิดัม (Treponema pallidum) ติดต่อ
โดยการร่วมเพศ เชื้อจะเข้าทางรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กน้อย หรืออาจไชเข้าเยื่อบุผิวของท่อปัสสาวะ
ทวารหนัก ช่องคลอด หรือ ช่องปาก
อาการ
โรคนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 เป็นแผล หลังจากติดเชื้อประมาณ 10-90 วัน จะมีตุ่มเล็ก ๆ เท่าหัวเข็มหมุดเกิดขึ้นที่อวัยวะ
เพศ (อาจเกิดขึ้นที่หัวหน่าว ขาหนีบ ทวาร หรือ ริมฝีปาก ก็ได้ สุดแล้วแต่ว่าตำแหน่งที่เชื้อเข้า) ซึ่งต่อ
มาจะแตก แล้วกลายเป็นแผลกว้าง ขอบแผลเรียบและแข็ง เรียกว่า แผลริมแข็ง (Chancre) มักมีแผล
เดียว รูปกลม หรือวงไข่ อาจมี 2 แผล ซึ่งจะชนชิดกัน แผลไม่เจ็บไม่คัน พื้นแผลสีแดง และดูสะอาด
ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังมีตุ่มขึ้น จะพบต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตทั้ง 2 ข้าง มีลักษณะแข็ง แยกจาก
กัน และสีของผิวหนังบริเวณต่อมน้ำเหลืองไม่เปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ไม่เจ็บ แม้ไม่ได้รักษา แผลอาจหาย
ได้เอง ใน 3-10 สัปดาห์ แต่เชื้อยังคงอยู่ในร่างกาย การเจาะเลือดหาวีดีอาร์แอล จะพบเลือดบวกหลัง
จากมีแผล 1-2 สัปดาห์
ระยะที่ 2 เข้าข้อ ออกดอก พบหลังระยะแรก ประมาณ 4-8 สัปดาห์ (อาจเกิดหลังมีแผลเพียง 2-3 วัน
หรือนานหลายเดือน
ก็ได้) เชื้อจะเข้าต่อมน้ำเหลือง และอยู่ในเลือด กระจายไปทั่วร่างกาย มีผื่นขึ้นทั้งตัว และที่ฝ่ามือ ฝ่า
เท้าด้วย (ซึ่งต่างจากผื่นของโรคอื่น ๆ ที่มักไม่ขึ้นที่ฝ่ามือฝ่าเท้า) ผื่นเหล่านี้จะไม่คัน ซึ่งเรียกกันว่า
"ออกดอก" นอกจากนี้ยังอาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ เป็นครั้งคราว ปวดศีรษะ
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เจ็บคอ เสียงแหบ ปวดหลัง ปวดตามกระดูก ต่อมน้ำเหลืองโต ผม
ร่วงทั่วศรีษะ หรือเป็นหย่อม ในระยะนี้ ถ้าตรวจเลือดหาวีดีอาร์แอลจะพบเลือดบวก ผื่นและอาการ
ต่าง ๆ จะหายได้เองแม้ไม่ได้รักษา แต่เชื้อจะแฝงตัวเป็นปี ๆ (อาจเป็น 5 ปี 10 ปี) แล้วก็เข้าสู่ระยะที่ 3
ระยะที่ 3 ระยะทำลาย เกิดจากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ถูกวิธี เช่น ซื้อยากินเอง ทำให้เข้า
สู่ระยะร้ายแรงของโรค อาจทำให้ตาบอด หูหนวก สติปัญญาเสื่อม เชื้ออาจเข้าสู่สมองและไขสันหลัง
ทำให้เป็นอัมพาต และอาจเสียสติได้ เชื้ออาจเข้าสู่หัวใจ ทำให้เป็นโรคหัวใจรั่ว หลอดเลือดแดงใหญ่
อักเสบ หรือโป่งพอง ผู้ที่เป็นซิฟิลิส อาจไม่มีแผลให้เห็นในระยะที่ 1 หรือ มีอาการเข้าข้อ ออกดอกใน
ระยที่ 2 แต่จะเข้าไปแฝงตัวอยู่ในร่างกาย รอเข้าสู่ระยะที่ 3 เลยก็ได้
ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ถ้าติดเชื้อซิฟิลิส (อาจเป็นโดยไม่รู้ตัว หรือไม่มีอาการแสดงชัดเจน) แล้วไม่ได้รับการ
รักษา เชื้ออาจถ่ายทอด ไปยังทารกในครรภ์ โดยผ่านเข้าไปทางรก ทำให้ทารกตายในครรภ์ หรือตาย
หลังคลอด หรือไม่ก็อาจเกิดความพิการไปตลอดชีวิต เราเรียกซิฟิลิสที่เกิดในทารกในลักษณะนี้ว่า
"ซิฟิลิสโดยกำเนิด (Congenital syphilis)" ซึ่งจะมีอาการแสดงภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด โดย
เด็กจะมีอาการเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูก เป็นหนอง หรือช้ำเลือดช้ำหนอง มีผื่นขึ้น หนังลอก
น่าเกลียด ซีด เหลือง บวม ตับโต ม้ามโต และถ้าไม่ได้รับการรักษาเด็กจะมีความพิการต่าง ๆ เกิดขึ้น
เช่น จมูกบี้หรือยุบ (พูดไม่ชัด), เพดานโหว่, กระจกตาอักเสบ (อาจกลายเป็นแผลที่กระจกตา ตาบอด
ได้) ,หูหนวก, ฟันพิการ, หน้าตาพิการ เป็นต้น
การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล หรือศูนย์ควบคุมกามโรค เพื่อตรวจเลือดหาวีดีอาร์แอล (เลือดบวก)
ตรวจเชื้อจากน้ำเหลืองที่แผล หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ
การรักษา
1. สำหรับซิฟิลิสในระยะที่ 1 และ 2 ฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลินขนาด 2.4 ล้านยูนิต เข้ากล้ามเพียงครั้ง
เดียว (สำหรับระยะที่ 2 แพทย์บางคนอาจให้ฉีดซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา) ถ้าแพ้ยานี้ อาจให้
เตตราไซคลีน   ครั้งละ 500 มิลลิกรัม (2 แคปซูล) วันละ 4 ครั้ง หรือ ดอกซีไซคลีน   ครั้งละ 100 มก.
วันละ 2 ครั้ง นาน 15 วัน   ถ้ากินเตตราไซคลีนไม่ได้ ให้ใช้อีริโทรไมซิน   แทนขนาดเดียวกัน นาน 15 วัน
2. สำหรับซิฟิลิสในระยะแฝง (เป็นมานานกว่า 2 ปี ตั้งแต่เริ่มเป็นแผลริมแข็ง) หรือแผลซิฟิลิสเรื้อรัง
หรือซิฟิลิสเข้าสู่ระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular syphilis) ฉีดเบนซาทีนเพนนิซิลลินครั้งละ
2.4 ล้านยูนิต เข้ากล้าม เป็นจำนวน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 1 สัปดาห์ ถ้าแพ้ยานี้ ให้เตตราไซคลีน ดอกซี
ไซคลีน หรืออีริโทรไมซินในขนาดดังกล่าวข้างต้น นาน 30 วัน
3. ในรายที่มีเชื้อเข้าระบบประสาท (neurosyphilis) รักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี 2-4 ล้านยูนิต เข้า
หลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมง นาน 14 วัน ถ้าแพ้ยานี้ ให้ดอกซีไซคลีน กินครั้งละ 200 มก. วันละ 2 ครั้ง
นาน 30 วัน
4. สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ให้รักษาตามระยะของโรคเหมือนผู้ป่วยทั่วไป ถ้าแพ้เพนิซิลลิน ให้อีริโทรไมซิน
กินครั้งละ 500 มก.วันละ 4 ครั้ง นาน 30 วัน
5. ซิฟิลิสแต่กำเนิด ฉีดเพนิซิลลินจี 50,000 ยูนิตต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน แบ่งให้ 2 ครั้ง นาน
10 วัน
ข้อแนะนำ
1. หลังการรักษา ควรตรวจเลือดหาวีดีอาร์แอล เดือนละครั้งใน 3 เดือนแรก ต่อไปตรวจทุก 3 เดือน
จนครบ 2 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าโรคหายขาด โดยทั่วไป ผลเลือดจะเป็นปกติภายใน 2 ปี แต่ถ้ายังมีเลือด
บวกอยู่เกิน 2 ปี ควรตรวจ น้ำไขสันหลัง ควรตรวจหาเชื้อเอชไอวี พร้อม ๆ กันไปด้วย
2. การวิจฉัยซิฟิลิส ต้องอาศัยการตรวจ วีดีอาร์แอล (เลือดบวก) เป็นสำคัญ จะดูจากอาการเพียงอย่าง
เดียวไม่ได้ ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ควรตรวจเลือดทุกราย
เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นซิฟิลิส หรือถ้าเป็นจะได้ให้การรักษา ตั้งแต่ระยะแรกก่อนที่
จะเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมา
3. ผู้หญิงบางคน อาจติดเชื้อซิฟิลิสจากสามีที่ชอบเที่ยว โดยไม่มีอาการแสดงให้ทราบ และอาจติดให้
ลูกในครรภ์ได้ เช่นเดียวกับการติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้น ในการฝากครรภ์ ควรเจาะเลือดเพื่อตรวจหา
วีดีอาร์แอล และควรตรวจหาเชื้อเอชไอวีพร้อม ๆ กันไปทุกราย ถ้าเลือดบวกต้องแนะนำไปรักษาที่
โรงพยาบาล เพื่อป้องกันมิให้แพร่เชื้อให้ทารกในครรภ์
การป้องกัน
1. ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการป้องกันหนองใน
2. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยซิฟิลิสในระยะ 3 เดือนแรก ควรได้รับการรักษาแบบซิฟิลิสระยะแรก

อัพเดทล่าสุด