ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์ และ ข้อมูลโรคเก๊าท์และภาพประกอบ ที่ชัดเจนมากๆ


824 ผู้ชม


 
ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์ และ ข้อมูลโรคเก๊าท์และภาพประกอบ ที่ชัดเจนมากๆ
 
  ภาพจาก www.click2member.com  


อาการของโรค

 

1.

อาการของโรคเก๊าท์ส่วน ใหญ่จะเกิดขึ้นเอง โดยไม่มีประวัติอุบัติเหตุ ไม่ได้รับการกระทบกระแทกรุนแรงใดๆ อยู่ๆ ก็เกิดบวมแดง และร้อนบริเวณรอบๆ ข้อ อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการครั้งแรกมักเกิดตอนกลางคืน ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดมาก จนบางครั้งถึงกับเดินไม่ได้
 

2.

อาการปวดเกิดขึ้นแม้ว่าจะอยู่เฉยๆ แตกต่างจากอาการปวดข้อจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งถ้าอยู่เฉยๆ อาการปวดจะไม่ค่อยมี
 

3.

ข้อที่เป็นโรคเก๊าท์มักจะ เป็นข้อเดียว โดยโรคเก๊าท์มักเกิดขึ้นกับข้อทีละข้อ ไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ และการอักเสบจะไม่กระจายไปยังข้ออื่นๆ แต่ในกรณีที่เป็นโรคเก๊าท์เรื้อรัง พบว่าการอักเสบอาจเป็นทีละสอง-สามข้อได้
 

4.

ข้อที่พบว่าเป็นโรคเก๊าท์ ได้บ่อยที่สุด ได้แก่ ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ส่วนข้ออื่นๆ ที่พบ ได้แก่ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อต่อของกระดูกเท้า ข้อต่อของกระดูกมือ ข้อมือ และข้อศอก
 

5.

ข้อที่พบว่าเป็นโรคเก๊าท์ได้น้อย ได้แก่ ข้อไหล่ ข้อสะโพก และข้อสันหลัง
 

6.

ผิวหนังบริเวณรอบข้อที่อักเสบ จะมีสีแดง ร้อน และบวมเป่ง
 

7.

ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย หนาวสั่น
 

8.

ถ้าไม่ได้รับการเยียวยา อาการเจ็บปวด ระยะเริ่มแรกอาจหายไปภายในสองสามชั่วโมงหรืออยู่นานเป็นสัปดาห์ อาการข้ออักเสบอาจไม่เกิดขึ้นอีกแต่ทิ้งช่วงเป็นเวลานานถึงปีได้ เมื่อคนไข้มีอายุสูงขึ้น อาการเหล่านี้จะเกิดถี่กระชั้นบ่อยกว่าเดิมและอาการเจ็บปวดทรมานคงอยู่ นานกว่าจะบรรเทาลง

การวินิจฉัยโรค

 

1.

จากการซักถามประวัติอาการโดยละเอียด และตรวจร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่มีการอักเสบเกิดขึ้น
 

2.

ตรวจระดับของกรดยูริคใน เลือด คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และหลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือด แต่กลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรคเกาต์
 

3.

ตรวจสารน้ำในข้อ พบผลึกของกรดยูริค (monosodium urate monohydrate crystal) หรือที่นิยมเรียกย่อๆ ว่า MSU ลักษณะของผลึกเป็นรูปเข็มเล่มบางๆ พบอยู่ภายในเซลล์ และมองเห็นเป็น strongly negatively birefringent
 

4.

ในวินิจฉัยโรคเก๊าท์ ต้องแยกโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อออกไปก่อนเสมอ วิธีที่ดีที่สุดคือ การเจาะข้อและตรวจสารน้ำในข้อ
 

5.

โรคเก๊าท์เทียม (pseudogout) เกิดจากผลึก calcium pyrophosphate dihydrate ลักษณะอาการของโรคบางประการคล้ายกับโรคเก๊าท์
 
แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com

อัพเดทล่าสุด