อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ | | | | สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ คือปัจจัยทางกรรมพันธุ์และภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดกรดยูริคสูงในเลือดซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการได้รับกรดยูริคหรือ สารพิวรีนเข้าไปมากหรือมีการสลายของคลีโอโปรตีนซึ่งอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ มาก หรือกรดยูริคที่มีอยู่ไม่สามารถถูกขับถ่ายออกมาทางไตได้ตามปกติ ทำให้กรดยูริคคั่งอยู่ในเลือดมากเกิดภาวะยูริคสูงในเลือด อาการของโรคเก๊าท์ ระยะแรก มักมีอาการปวดรุนแรงอย่างทันทีทันใดมักพบในอาการปวดที่หัวแม่เท้า หัวเข่า หรือข้อเท้าก่อน อาการมักเกิดขึ้นภายหลังจากการกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงมากๆ การดื่มเหล้ามาก หรือการสวมรองเท้าที่คับ บริเวณผิวหนังตรงที่ข้อที่อักเสบตึงร้อนเป็นมัน ผู้ป่วยมักมีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลียมีเม็ดเลือดขาวสูง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 2-3 วัน และหายไปเองในระยะ 5-7 วัน ระยะพัก เป็นระยะที่ไม่มีอาการแสดงแต่กรดยูริคในเลือดมักสูง และอาการอักเสบอาจเกิดขึ้นอีกจนถึงขั้นเรื้อรังอาจมีอาการเป็นระยะเนื่องจาก ผลึกยูเรตเ)้นจำนวนมากสะสมอยู่ในข้อกระดูก เยื่ออ่อนของข้อต่อ และบริเวณเส้นเอ็นทำให้เกิดโรคกระดูกเสื่อม เมื่อเป็นมากจะมีการสะสมของผลึกนี้เยื่อบุภายในปลอกหุ้มข้อและเกิดปุ่มขึ้น ที่ใต้ผิวหนังมักเริ่มที่หัวแม่เท้าและปลายหูก่อนข้อที่มีผลึกยูเรตเกาะ อยู่ อาจเปลี่ยนแปลงจนผิดรูปและเกิดความพิการที่ข้อกระดูกนั้น ๆ อาการแทรกซ้อน พบว่าร้อยละ 25 ของผู้ป่วยข้ออักเสบเฉียบพลันจากเก๊าท์มักมีนิ่วในไตด้วย ผลึกยูเรตอาจจะสะสมอยู่ในส่วนกรวยไตทำให้มีอาการเลือดออกทางปัสสาวะ ถ้ามีการสะสมในไตมาก ๆ จะขัดขวางการทำงานของไตหรือทำลายเนื้อไตทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลว การควบคุมอาหาร เนื่องจากกรดยูริคจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีนดังนั้นในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุม สารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่มีพิวรีน อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ -
อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย (0-50 มิลลิกรัม ต่อ อาหาร 100 กรัม) -
นมและผลิตภัณฑ์จากนม -
ไข่เป็ด,ไข่ไก่,ไข่นกกระทา -
ธัญญาพืชต่าง ๆ -
ผักต่าง ๆ -
ผลไม้ต่าง ๆ -
น้ำตาล -
ไขมัน -
ผลไม้เปลือกแข็ง (ทุกชนิด) -
อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 100 กรัม) -
เนื้อหมู -
เนื้อวัว -
ปลากะพงแดง -
ปลาหมึก -
ปู -
ถั่วลิสง -
ใบขี้เหล็ก -
สะตอ -
ข้าวโอ๊ต -
ผักโขม -
เมล็ดถั่วลันเตา -
หน่อไม้ -
อาหารที่สารพิวรีนสูง (150 มิลลิกรัมขึ้นไป) -
หัวใจ (ไก่) -
ไข่ปลา -
ตับไก่ -
มันสมองวัว -
กึ๋นไก่ -
หอย -
เซ่งจี๋ (หมู) -
ห่าน -
ตับหมู -
น้ำต้มกระดูก -
ปลาดุก -
ยีสต์ -
เนื้อไก่,เป็ด -
ซุปก้อน -
กุ้งชีแฮ้ -
น้ำซุปต่าง ๆ -
น้ำสกัดเนื้อ -
ปลาไส้ตัน -
ถั่วดำ -
ปลาขนาดเล็ก -
ถั่วแดง -
เห็ด -
ถั่วเขียว -
กระถิน -
ถั่วเหลือง -
ตับอ่อน -
ชะอม -
ปลาอินทรีย์ -
กะปิ -
ปลาซาดีนกระป๋อง การจัดอาหาร -
การ จัดอาหารให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่แพทย์ให้จำกัดสารฟิวรีนอย่างเข้มงวด ผู้จัดต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษทั้งในด้านโภชนาการและรสชาติ ลักษณะอาหาร เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ตามกำหนดและได้รับสารอาหารเพียงพอ -
ในระยะที่อาการรุนแรง ควรงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมากและให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ -
งด เว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก ได้แก่ ขนมหวานต่าง ๆ อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอดและขนมหวานที่มีน้ำตาลและไขมันมาก เช่น อาหารทอดและขนมหวานที่มีน้ำตาลและไขมันมาก -
จัดอาหารที่มีใยอาหารที่มีใยอาหารมากแก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้น้ำหนักลดลง -
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้ามีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น ตัวอย่างอาหารจำกัดพิวรีนอย่างเข้มงวด อาหารมื้อเช้า | ข้าวสวย ไข่ต้ม ผัดผักบุ้ง ส้มเขียวหวาน | อาหารมื้อกลางวัน | ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้วใส่ไข่ คะน้า ข้าวต้มน้ำวุ้น | อาหารมื้อเย็น | ข้าวสวย ต้มยำปลา ผัดคะน้าหมู ไอศกรีม | อาหารมื้อเช้า | ข้าวต้มหมู ไข่ลวก ชาหรือโอวัลติน | อาหารมื้อกลางวัน | ข้าวสวย ต้มยำหมู ไข่ตุ๋น มันต้มขิง | อาหารมื้อเย็น | ข้าวสวย แกงส้มผักรวม (ไม่ใส่กะปิ) ไข่เค็ม ผลไม้ | อาหารมื้อเช้า | ข้าวต้มปลาหมึก ไข่ลวก ชาหรือโอวัลติน | อาหารมื้อกลางวัน | ข้าวผัดหมู ทับทิมน้ำเชื่อม | อาหารมื้อเย็น | ข้าวสวย แกงป่าหมู (ไม่ใส่กะปิ) ผัดเปรี้ยวหวาน ผลไม้ | อาหารมื้อเช้า | ข้าวต้มหมู ผัดคะน้าหมูกรอบ หมูหยอง ชาหรือโอวัลติน | อาหารมื้อกลางวัน | ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ขนมชั้น | อาหารมื้อเย็น | ข้าวสวย ผัดดอกหอมปลาหมึก หมูทอดอบ ผลไม้ | |