โรคเก๊าท์ คือ อะไร เผย อาหารผู้ป่วยโรคเก๊าท์ และ อาหารต้านโรคเก๊าท์ ด้วยจากคุณหมอ !!


1,283 ผู้ชม


อาหารผู้ป่วยโรคเก๊าท์  - อาหารต้านโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ คือเกิดจากภาวะที่กรดยูริคในเลือดมีปริมาณสูงเกินไป เกินกว่าที่จะสามารถอยู่ในเลือดในรูปสารละลายได้ จึงมีการตกตะกอนสะสมอยู่ตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าบริเวณอื่น  เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้าทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น
สาเหตุ
สา เหตุของเก๊าท์ เกิดเนื่องจากร่างกายมีกรดยูริคสูงเกิน เป็นเวลานาน สำหรับผู้ชาย ระดับยูริคจะสูงตั้งแต่ ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จะไม่สูง แต่จะสูงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ระดับยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมตกตะกอน
ไปเรื่อย ๆ จนเริ่มมีอาการทางข้อเมื่อกรดยูริค ในเลือดสูงไปประมาณ 10-20 ปีแล้ว
ยู ริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายผลิตเอง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ผู้ป่วย โรคเก๊าท์งดอาหารใด ๆ ที่มียูริคสูงเลยและการกินอาหารที่มียูริคสูง (ที่คนทั่วไปเข้าใจกันเช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก) ก็ไม่ได้ทำให้ เกิดโรคเก๊าท์แต่อย่างใดและเนื่องจากโรคเก๊าท์มักเป็นในผู้ป่วยที่มี อายุค่อนข้างมาก ซึ่งมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น   เบาหวาน ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องงดอาหารหวาน อาหารเค็มอยู่แล้ว การให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารอีก จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกินอาหารอะไรได้เลย (ยกเว้นไปกินแกลบ กินหญ้า) เป็นการทรมานผู้ป่วยเปล่า ๆ
อาการ
อา การของเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ มักเกิดที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า เป็นต้น โดยข้อที่อักเสบ จะบวม แดง ร้อน และปวดมาก ชัดเจน (ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนให้สงสัยไว้ ก่อนว่าไม่ใช่เก๊าท์) โดยมากมักเป็นข้อเดียวและมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใด ๆ  ให้เห็น เมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นมากขึ้น  อาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้นหลายข้อมากขึ้น เป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วย
การรักษาเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่
1. การรักษาข้ออักเสบ ในช่วงนี้แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยา โคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยาโคลชิซินโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 3-4 เม็ด โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด
การใช้ยาตามคำแนะนำของต่างประเทศที่ว่าให้ กินทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวดหรือจนเกิดผลข้างเคียงคือท้องเสียนั้น ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อไม่เคยหายอักเสบก่อนท้องเสียเลย ดังนั้นผู้ป่วยจะท้องเสียทุกรายและมีความรู้สึก ที่ไม่ดีต่อการใช้ยานี้ การกินยาไม่เกิน 3-4  เม็ดต่อวัน โอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้ น้อยมาก ผู้ป่วยเก๊าท์ในระยะข้ออักเสบ ห้ามนวด! เด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้ออักเสบเป็นรุนแรงขึ้นหายช้าลงได้
2. การลดกรดยูริคในเลือด โดยใช้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้ง ควรให้ยาลดกรดยูริคถ้าทำได้  การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง  ทำให้ตะกอนยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกจนหมดผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ข้อควรระวังคือ
 - ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก เป็นอันตรายมาก
 การกินยาไม่สม่ำเสมอ กิน ๆ หยุด ๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้ ไม่แนะนำให้กินยา
 - เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ ให้การวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริคในเลือด
ดังนั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมียูริคสูง ไม่ได้บอกว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องรักษา
มี ผู้เข้าใจผิดอยู่มาก โดยให้กินยาลดกรดยูริคเมื่อตรวจพบเพียงแต่ยูริคในเลือดสูง เพราะยูริคในเลือดสูง ไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกราย  แต่การกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาข้างต้นได้
 
 
อีกบทความหนึ่งวึ่งจะกล่าวถึงการดูแลเรื่องอาหารของผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ด้วย
 
โรค เก๊าท์ เกิดจากการเผาผลาญพิวรีนในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกรดยูริคคั่งในเลือดสูงแ ลตามข้อเล็ก ๆ และอวัยวะบางแห่ง อาจเกลือโซเดียมยูเรตเกาะอยู่ทำให้เกิดอาการที่อวัยวะนั้นๆ  ส่วนมากอากาศจะเกิดเป็นครั้งคราว มักจะกำเริบมากขึ้น เมื่อบริโภคอาหารพวก นิวคลีโอโปรตีน และไขมันมาก  หรือขณะดื่มแอลกอฮอล์และการออกกำลังกาย ทำให้กรดยูริคมากขึ้น
การกรดยูริคในร่างกายเกิดได้ 2 ทางคือ 
1.เกิด จากกสารพิวรีน  หรือนิวคลิโอโปรตีน  ที่เป็นส่วนประกอบของอาหารที่บริโภคส่วนนี้เป็นกรดยูริคที่เกิดจากสาเหตุภาย นอก จำนวนพิวรีนที่เกิดจากอาหารบริโภค  จะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนพิวรีนที่มีในอาหาร ถ้าบริโภคอาหาร เครื่องในสัตว์ จะทำให้มีกรดยูริคสูงขึ้น อาหารบางชนิดกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น จะทำให้มีกรดยูริคเพิ่มมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า กรดยูริคจะเปลี่ยนแปลงไปตามอาหารบริโภคที่มีโปรตีน การออกกำลังกาย และตามการทำงานของต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร
2.เกิด จากสารพิวรีน ที่ได้จากการสลายตัวของพวกเซลล์ของอวัยวะในร่างกาย เป็นกรดยูริคที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย กรดยูริคที่เกิดจากส่วนนี้ ย่อมจะเปลี่ยนไปตามการสลายตัวของอวัยวะ เช่น เซลล์มีการทำงานมากขึ้น หรือมีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
อาการของโรคเก๊าท์
1.ระยะ แรกมักมีอาการปวดรุนแรงอย่างทันทีทันใด  มักพบอาการปวดที่หัวแม่เท้าก่อน  อาการมักเกิดขึ้นภายหลังการกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงมาก ๆ การดื่มเหล้ามาก หรือการสวมรองเท้าที่คับ บริเวณผิวหนังตรงข้อที่อักเสบจะตึงร้อน เป็นมัน ผู้ป่วยมักจะมีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย มีเม็ดเลือดขาวสูง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น  ใน 2-3 วัน และหายไปเองในระยะ 5-7 วัน
2.ระยะพัก เป็นระยะที่ไม่มีอาการแสดง แต่กรดยูริคในเลือดมักสูง และอาการอักเสบอาจเกิดขึ้นอีกจนถึงขึ้นเรื้อรัง อาจมีอาการเป็นระยะ ๆ เนื่องจากผลึกยูเรตเป็นจำนวนมากสะสมอยู่ในข้อกระดูกเยื่ออ่อนของข้อต่อ และบริเวณเส้นเอ็น ทำให้เกิดโรคข้อกระดูกเสื่อม  เมื่อเป็นมากจะมีการสะสมของผลึกนี้ที่เยื่อบุภายในปลอกหุ้มข้อ และเกิดปุ่มขึ้นที่ใต้ผิวหนัง มักเริ่มที่หัวแม่เท้า และปลายใบหูก่อน ข้อที่มีผลึกยูเรตเกาะอยู่  อาจเปลี่ยนแปลงจนผิดรูป และเกิดความพิการที่ข้อกระดูกนั้น ๆ
3.อาการแทรกซ้อน  พบว่า  ร้อยละ 25  ของผู้ป่วยข้ออักเสบเฉียบพลันจากเก๊าท์มักมีนิ่วในไตด้วย  ผลึกยูเรตอาจสะสมอยู่ในส่วนหมวกไต ทำให้มีอาการเลือดออกทางปัสสาวะ ถ้ามีการสะสมในไตมาก ๆ จะขัดการทำงานของไต หรือทำลายเนื้อไต ทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลว
การควบคุมอาหาร เนื่องจาก กรดยูริคจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่มีพวรีน อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย ( 0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
1.นมและผลิตภัณฑ์จากนม 2.ไข่ 3.ธัญญพืชต่าง ๆ 4.ผักต่าง ๆ 5.ผลไม้ต่าง ๆ 6.น้ำตาล
7.ผลไม้เปลือกแข็ง(ทุกชนิด) 8.ไขมัน
อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
1.เนื้อหมู 2.เนื้อวัว 3.ปลากระพงแดง 4.ปลาหมึก 5.ปู 6.ถั่วลิสง 7.ใบขี้เหล็ก
8.สะตอ 9.ข้าวโอ๊ต 10.ผักโขม 11.เมล็ดถั่วลันเตา 12.หน่อไม้
อาหารที่มีพิวรีนสูง (150 มิลลิกรัมขึ้นไป)    * อาหารที่ควรงด
1.หัวใจ ไก่ 2.ไข่ปลา 3.ตับไก่ 4.มันสมองวัว 5.กึ๋นไก่ 6.หอย 7.เซ่งจี้(หมู) 8.ห่าน 9.ตับหมู 10.น้ำต้มกระดูก 11.ปลาดุก 12.ยีสต์ 13.เนื้อไก่,เป็ด 14.ซุปก้อน 15.กุ้งชีแฮ้ 16.น้ำซุปต่าง ๆ 17.น้ำสกัดเนื้อ 18.ปลาไส้ตัน 19.ถั่วดำ 20.ปลาขนาดเล็ก 21.ถั่วแดง 22.เห็ด 23.ถั่วเขียว 24.กระถิน 25.ถั่วเหลือง 26.ตับอ่อน 27.ชะอม 28.ปลาอินทรีย์ 29.กะปิ 30.ปลาซาดีนกระป๋อง
การกำหนดอาหาร
อาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ควรมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้ได้ สารอาหารครบถ้วน และงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมากดังกล่าวแล้ว
1.พลังงาน  ผู้ป่วยที่อ้วน จำเป็นต้องจำกัดพลังงานในอาหาร เพื่อให้น้ำหนักลดลงทั้งนี้  เนื่องจากความอ้วน ทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น  แต่ต้องระมัดระวังในระยะที่มีอาการรุนแรง  ไม่ควรให้อาหารที่มีพลังงานต่ำเกินไป เพราะอาจทำให้มีการสลายของไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งจะทำให้สารยูริคถูกขับออกจากร่างกายได้น้อย และอาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้นได้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่ควรอดอาหาร และควรได้พลังงานประมาณวันละ 1,200-1,600 แคลอรี่
2.โปรตีน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารโปรตีนตามปรกติ ไม่เกิน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีสารพิวรีนมาก
3.ไขมัน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่มีไขมันให้น้อยลง โดยจำกัดให้ได้รับประมาณวันละ 60 กรัม เพื่อให้น้ำหนักลดลง การได้รับอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จะทำให้มีการสะสมสารไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น ซึ่งการมีสารไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น จะทำให้ขับถ่ายสารยูนิคได้ไม่ดี และพบว่า ผู้ป่วยที่อ้วน และมียูริคในเลือดสูง เมื่อลดน้ำหนักลง กรดยูริคในเลือดจะลดลงด้วย
4.คาร์โปไฮเดรท  ควรได้รับให้พอเพียงในรูปของข้าว แป้งต่าง ๆ  และผลไม้  ส่วนน้ำตาลไม่ควรกินมาก เพราะการกินน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลต่อการขับถ่ายสารยูริคด้วย
5.แอลกอฮอล์ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้ามาก ๆ เพราะการเผาผลาญแอลกอฮอล์  จะทำให้มีกรดแลคติคเกิดขึ้น และมีการสะสมแลคเตตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้กรดยูริคถูกขับถ่ายได้น้อยลง
การจัดอาหาร
ใน การจัดอาหารให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่แพทย์ให้จำกัดสารพิวรีนอย่างเข้มงวด  ผู้จัดต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทั้งในด้านโภชนาการ และรสชาติ ลักษณะอาหาร เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ตามที่กำหนด และได้รับสารอาหารเพียงพอ
1.ในระยะที่มีอาการรุนแรง  ควรงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมาก ในระหว่างมื้ออาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มาก ๆ จะช่วยขับกรดยูริค ช่วยรักษาสุขภาพของไตและป้องกันมิให้เกิดก้อนนิ่ว พวกยูเรตขึ้นได้ที่ไต
2.งดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก ได้แก่ ขนมหวานต่าง ๆ อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด  และขนมหวาน ที่มีน้ำตาล และไขมันมาก
3.จัดอาหารที่มีใยอาหารมาก แก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้ำหนักลดลง
4.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้ามีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น
5.อาหารที่มีไขมันมาก จะทำให้ขับกรดยูริคน้อยลง ทำให้มีการคั่งของกรดยูริคในเลือดมากขึ้น
 
ที่มา  www.vibhavadi.com

อัพเดทล่าสุด