วิธีการบรรเทาปวดโรคเก๊าท์ และช่วย ลดขาบวมในโรคเก๊าท์ ได้


8,637 ผู้ชม


โรคเก๊าท์ ลดขาบวมในโรคเก๊าท์ วิธีการบรรเทาปวดโรคเก๊าท์ และช่วย ลดขาบวมในโรคเก๊าท์ ได้
วิธีการบรรเทาปวดโรคเก๊าท์ และช่วย ลดขาบวมในโรคเก๊าท์ ได้
โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการตกตะกอนของผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรต ที่บริเวณข้อและรอบๆ ข้อพบบ่อยในชายกลางคน และวัยสูงอายุ มีความสัมพันธ์กับระดับของกรดยูริกในเลือด และระยะเวลาที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูง
อาการ และ อาการแสดง
  • ปวด บวม แดงร้อน บริเวณข้อที่อักเสบ มักจะเป็นทีละข้อ เช่น ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า
  • มีก้อนผลึกเกาฑ์บริเวณข้อ หรือปุ่มกระดูก ใบหู และผิวหนัง นำไปสู่การทำลายข้อในที่สุด


การกระทบกระแทกต่อข้อ การใช้ข้อมาก

  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแอสไพริน
  • การแกว่งของระดับยูริกในเลือด จากสาเหตุต่างๆ การใช้ยาลดกรดยูริกในเลือด ขณะที่มีการอักเสบเป็นต้น


โรค หรือภาวะอายุรกรรมที่พบร่วม

1. นิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ
2. โรคเบาหวาน
3. โรคความดันโลหิตสูง
4. โรคหัวใจขาดเลือด
5. โรคอ้วน
6. โรคไตทำงานบกพร่อง
7. ภาวะที่มีการหมุนเวียนของเซลล์สูง เช่น มะเร็ง


การรักษาโรคเก๊าฑ์

1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มียูริก แอลิคสูง
2. ลดปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้ข้อเสื่อม
3. การพักและลดการใช้ข้อลง
4. การใช้ยาต้านเก๊าฑ์
5. การผ่าตัดเพื่อกำจัดก้อนผลึกเก๊าฑ์ หรือแก้ไขความพิการของข้อ


คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าฑ์

1. ดื่มน้ำมากๆ (ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน)
2. ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วนขึ้นควรลดน้ำหนักทีละน้อยๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่าหักโหม
3. ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อยหลีกเลี่ยงอาหารทอดน้ำมันทุกชนิด
4. อาหารประเภทแป้ง ควรได้รับเพียงพอในรูปข้าวและผลไม้ต่างๆ ที่ไม่หวานจัด
5. ควรงด เบียร์ เหล้า ไวน์
6. น้ำชา กาแฟ รับประทานได้ แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป
7. ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด หรือหวานจัด รวมทั้งเครื่องดื่มโกโก้ ช็อกโกแลต
8. ควรงดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมากๆ เช่น ขนมหวานต่างๆ หรือ อาหารทอด
9. ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ จะช่วยในการลดน้ำหนักและไม่ทำให้ท้องผูก
10. ควรตรวจร่างกายเป็นประจำ เพราะมักจะพบว่า โรคเก๊าฑ์ เบาหวาน และความดันสูงเป็นร่วมกันเสมอ


ยาที่ใช้ในการรักษาโรคเก๊าฑ์

1. ยาลดอาการข้ออักเสบเก๊าฑ์
2. ยาต้าน การอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
3. ยาลดกรดยูริกในเลือด
4. นาสเตียรอยด์รับประทานหรือฉีด
5. ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าข้อ


ข้อควรระวังในการรักษาผู้ป่วยในระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน

1. ผู้ป่วยที่มีภาวะไตทำงานบกพร่อง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
2. ยาลดกรดยูริก ไม่ควรเริ่มใช้ในระยะที่มีอาการอักเสบเฉียบพลัน
3. ผู้ป่วยได้รับยาลดกรดยูริกอยู่ก่อนแล้ว ก็ไม่ควรไปหยุดยาในระยะที่มีการอักเสบเฉียบพลัน
ที่มา  www.phyathai-sriracha.com

อัพเดทล่าสุด