โรคเก๊าท์ นมถั่วเหลือง น้ำนมวัว และ ถั่วงอกกับโรคเก๊าท์ เกี่ยวกันไง !!


2,755 ผู้ชม


เก๊าท์คืออะไร

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และตกตะกอนภายในข้อหรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดข้อ หรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

โรคเก๊าท์ นมถั่วเหลือง น้ำนมวัว และ ถั่วงอกกับโรคเก๊าท์ เกี่ยวกันไง !!

เก๊าท์มีอาการอะไรบ้าง ?

เก๊าท์จะมีอาการร่วมกันหลายอย่างดังนี้

 

1.

เจาะเลือดพบกรดยูริคสูงกว่าปกติ ค่าปกติไม่เกิน 8 มก./ดล.
 

2.

ข้ออักเสบมีอาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณข้อ มักเป็นรุนแรงเป็นๆ หายๆ เป็นได้กับทุกข้อ แต่พบมากที่ข้อหัวแม่เท้า
 

3.

พบนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ
 

4.

พบก้อนขาวคล้ายหินปูน เรียกว่า โทไฟ (TOPHI) เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรต (URATE) ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริค (URIC ACID) ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เส้นเอ็น กระดูกอ่อน (พบบ่อยที่หู) หรือตามข้อต่างๆ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์เกือบทุกราย จะมีกรดยูริคในเลือดสูงร่วมกับอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่เจาะเลือดแล้วพบว่ามีกรดยูริคในเลือดสูง แต่ไม่มีอาการปวดข้อ หรือเจาะข้อไม่พบผลึกของเกลือยูเรตในน้ำ และไขข้อไม่ควรเรียกว่า โรคเก๊าท์ อาจจะเป็นแค่กรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้น

ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นโรคเก๊าท์ ?

 

1.

เมื่อมีอาการปวดข้อควรไป พบแพทย์ เพื่อซักประวัติโดยอาศัยอาการหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น มีอาการอักเสบของข้ออย่างเฉียบพลัน มักเป็นที่หัวแม่เท้า เป็นๆ หายๆ พร้อมกับเจาะเลือดดูกรดยูริค ถ้าสูงมากกว่า 8 มก./ดล. ถือว่าผิดปกติ เมื่อให้ยาบางชนิดไปรับประทานอาการปวดข้อก็จะหายไปภายใน 48 ชั่วโมง
 

2.

เจาะน้ำไขข้อมาตรวจดูผลึกเกลือยูเรต (MONOSODIUM URATE)
 

3.

เอกซเรย์ข้อที่ปวด

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ โดยการรักษาการอักเสบของข้อ พักการใช้ข้อที่ปวด พร้อมกับรับประทานยาป้องกันโรคแทรกซ้อนด้วยการควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีพิวรีนให้น้อยลง ในรายที่มีนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ ต้องผ่าตัด และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลเสียอย่างไร? ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลดังนี้

 

1.

ปวดข้อเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ต้องทุกข์ทรมานจากการปวดข้อ
 

2.

ข้อพิการจากการมีผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ และตามข้อ ทำให้มีปุ่มก้อนตามตัว
 

3.

เกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะและไตวายถึงแก่ชีวิตได้
 

4.

โรคหรือภาวะร่วมจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น อ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ

การรักษาโรคเก๊าท์ทำอย่างไร ?

ปัจจุบันมีการรักษาโรคเก๊าท์ ดังนี้

 

1.

ขั้นแรก ถ้ามีอาการอักเสบของข้อต้องรีบรักษาโดยให้ยาลดการอักเสบ
 

2.

ให้ยาลดกรดยูริคเพื่อป้องกันอาการกำเริบของข้ออักเสบ
 

3.

รักษาโรคหรือสภาวะร่วมที่อาจจะมี เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกรดยูริคสูงขึ้น
 

4.

ให้ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์และให้คำปรึกษา เพื่อผู้ป่วยปฏิบัติตนในการควบคุมรักษาโรคได้ดีขึ้น

เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคเก๊าท์หรือภาวะมีกรดยูริคในเลือดสูง

 

1.

ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
 

2.

ควบคุมอาหารโดยงดรับ ประทานอาหารที่ทำให้กรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ปีกทุกชนิด ยอดผักบางชนิด เช่น ยอดกระถิน ชะอม แตงกวา
 

3.

งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเบียร์ เพราะอาจจะทำให้การสร้างกรดยูริคสูงขึ้น และการขับถ่ายกรดยูริคทางไตน้อยลง

สรุป

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่งสามารถถ่ายทอดได้ทาง กรรมพันธุ์ รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดความพิการของข้อหรือนิ่วได้

ปริมาณสารพิวรีนในอาหารต่างๆ (ในปริมาณอาหาร 100 กรัม)

อาหาร

มิลลิกรัม

อาหาร

มิลลิกรัม

เครื่องในไก่

290

ผักตำลึง

89

ถั่วเหลือง

263

เนื้อ

83

ชะอม

247

ถั่วลิสง

74

ตับ

241

หมู

70

กระถิน

226

ดอกกะหล่ำ

68

ถั่วแดง

221

ผักบุ้ง

54

ถั่วเขียว

213

ปลาหมึก

53

กึ๋น

212

หน่อไม้

47

กุ้ง

205

ถั่วฝักยาว

41

ปลาดุก

194

ถั่วลันเตา

41

ถั่วดำ

180

ต้นกระเทียม

39

ไก่

157

ผักคะน้า

34

เซ่งจี้

152

ผักบุ้งจีน

33

ใบขี้เหล็ก

133

ถั่วงอก, ถั่วแขก

28

สะตอ

122

ถั่วพู

19

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com

เก๊าท์คืออะไร

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และตกตะกอนภายในข้อหรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดข้อ หรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

โรคเก๊าท์ นมถั่วเหลือง น้ำนมวัว และ ถั่วงอกกับโรคเก๊าท์ เกี่ยวกันไง !!

เก๊าท์มีอาการอะไรบ้าง ?

เก๊าท์จะมีอาการร่วมกันหลายอย่างดังนี้

 

1.

เจาะเลือดพบกรดยูริคสูงกว่าปกติ ค่าปกติไม่เกิน 8 มก./ดล.
 

2.

ข้ออักเสบมีอาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณข้อ มักเป็นรุนแรงเป็นๆ หายๆ เป็นได้กับทุกข้อ แต่พบมากที่ข้อหัวแม่เท้า
 

3.

พบนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ
 

4.

พบก้อนขาวคล้ายหินปูน เรียกว่า โทไฟ (TOPHI) เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรต (URATE) ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริค (URIC ACID) ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เส้นเอ็น กระดูกอ่อน (พบบ่อยที่หู) หรือตามข้อต่างๆ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์เกือบทุกราย จะมีกรดยูริคในเลือดสูงร่วมกับอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่เจาะเลือดแล้วพบว่ามีกรดยูริคในเลือดสูง แต่ไม่มีอาการปวดข้อ หรือเจาะข้อไม่พบผลึกของเกลือยูเรตในน้ำ และไขข้อไม่ควรเรียกว่า โรคเก๊าท์ อาจจะเป็นแค่กรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้น

ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นโรคเก๊าท์ ?

 

1.

เมื่อมีอาการปวดข้อควรไป พบแพทย์ เพื่อซักประวัติโดยอาศัยอาการหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น มีอาการอักเสบของข้ออย่างเฉียบพลัน มักเป็นที่หัวแม่เท้า เป็นๆ หายๆ พร้อมกับเจาะเลือดดูกรดยูริค ถ้าสูงมากกว่า 8 มก./ดล. ถือว่าผิดปกติ เมื่อให้ยาบางชนิดไปรับประทานอาการปวดข้อก็จะหายไปภายใน 48 ชั่วโมง
 

2.

เจาะน้ำไขข้อมาตรวจดูผลึกเกลือยูเรต (MONOSODIUM URATE)
 

3.

เอกซเรย์ข้อที่ปวด

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ โดยการรักษาการอักเสบของข้อ พักการใช้ข้อที่ปวด พร้อมกับรับประทานยาป้องกันโรคแทรกซ้อนด้วยการควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีพิวรีนให้น้อยลง ในรายที่มีนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ ต้องผ่าตัด และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลเสียอย่างไร? ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลดังนี้

 

1.

ปวดข้อเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ต้องทุกข์ทรมานจากการปวดข้อ
 

2.

ข้อพิการจากการมีผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ และตามข้อ ทำให้มีปุ่มก้อนตามตัว
 

3.

เกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะและไตวายถึงแก่ชีวิตได้
 

4.

โรคหรือภาวะร่วมจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น อ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ

การรักษาโรคเก๊าท์ทำอย่างไร ?

ปัจจุบันมีการรักษาโรคเก๊าท์ ดังนี้

 

1.

ขั้นแรก ถ้ามีอาการอักเสบของข้อต้องรีบรักษาโดยให้ยาลดการอักเสบ
 

2.

ให้ยาลดกรดยูริคเพื่อป้องกันอาการกำเริบของข้ออักเสบ
 

3.

รักษาโรคหรือสภาวะร่วมที่อาจจะมี เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกรดยูริคสูงขึ้น
 

4.

ให้ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์และให้คำปรึกษา เพื่อผู้ป่วยปฏิบัติตนในการควบคุมรักษาโรคได้ดีขึ้น

เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคเก๊าท์หรือภาวะมีกรดยูริคในเลือดสูง

 

1.

ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
 

2.

ควบคุมอาหารโดยงดรับ ประทานอาหารที่ทำให้กรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ปีกทุกชนิด ยอดผักบางชนิด เช่น ยอดกระถิน ชะอม แตงกวา
 

3.

งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเบียร์ เพราะอาจจะทำให้การสร้างกรดยูริคสูงขึ้น และการขับถ่ายกรดยูริคทางไตน้อยลง

สรุป

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่งสามารถถ่ายทอดได้ทาง กรรมพันธุ์ รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดความพิการของข้อหรือนิ่วได้

ปริมาณสารพิวรีนในอาหารต่างๆ (ในปริมาณอาหาร 100 กรัม)

อาหาร

มิลลิกรัม

อาหาร

มิลลิกรัม

เครื่องในไก่

290

ผักตำลึง

89

ถั่วเหลือง

263

เนื้อ

83

ชะอม

247

ถั่วลิสง

74

ตับ

241

หมู

70

กระถิน

226

ดอกกะหล่ำ

68

ถั่วแดง

221

ผักบุ้ง

54

ถั่วเขียว

213

ปลาหมึก

53

กึ๋น

212

หน่อไม้

47

กุ้ง

205

ถั่วฝักยาว

41

ปลาดุก

194

ถั่วลันเตา

41

ถั่วดำ

180

ต้นกระเทียม

39

ไก่

157

ผักคะน้า

34

เซ่งจี้

152

ผักบุ้งจีน

33

ใบขี้เหล็ก

133

ถั่วงอก, ถั่วแขก

28

สะตอ

122

ถั่วพู

19

 
แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com

อัพเดทล่าสุด