ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ เรื่อง การดูแลโรคหัวใจ !!


628 ผู้ชม


การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน - การดูแลโรคหัวใจ
ผู้ป่วยโรคหัวใจเรื้อรังส่วนใหญ่มักจะรู้ตัวเอง และไม่ยอมไปโรงพยาบาลโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรค ดังนั้นครอบครัวจะต้องช่วยกันดูแลตั้งแต่ การเฝ้าระวังการกำเริบของโรค การป้องกันโรคแทรกซ้อน การดูแลขั้นต่ำสำหรับผู้ป่วยมีดังนี้
   1. ต้องมีการบันทึกน้ำหนัก และมีแผนสำหรับการดูแลเมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้น
   2. การเตรียมยาสำหรับรับประทานเป็นประจำ และยาสำหรับรักษาอาการเจ็บหน้าอก อาการหอบเหนื่อย และน้ำหนักเกิน
   3. แผนการดูแลยามฉุกเฉิน เช่นการไปห้องฉุกเฉิน การอนุญาตให้แพทย์ทำการกู้ชีวิตหรือไม่
สำหรับขั้นตอนในการดูแลผู้ป่วยมีดังนี้
   1. การบันทึกประจำวัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับการรักษาของแพทย์ ข้อมูลที่ควรจะบันทึกได้แก่
    * น้ำหนักประจำวัน
    * การหายใจ มีอาการหอบเหนื่อยหรือไม่ หายใจลำบาก ไอโดยเฉพาะเวลานอน แน่หน้าอกเวลานอนราบจนต้องตื่นตอนกลางคืน ต้องบอกรายละเอียดถึงวันที่เกิดอาการและความรุนแรง
    * ยาที่รับประทาน ต้องรู้ชื่อยา ขนาด ความถี่ของการรับประทาน และผลข้างเคียงของยา
    * อาหาร และกิจวัตรประจำวันที่ทำได้และทำไม่ได้
    * อาการอื่นๆ เช่นบวม
   2.
      จะต้องรู้ว่าเมื่อไรจึงต้องปรึกษาหรือไปพบแพทย์
    * น้ำหนักเพิ่มขึ้น 1-2 กก./สัปดาห์
    * มีอาการบวมที่หลังเท้า ข้อเท้า มือ
    * มีอาการหายใจลำบาก หรือไอเวลานอน
    * ปัสสาวะลดลง
    * สับสน มึนงง หรือเป็นลมหมดสติ
    * คลื่นไส้ อาเจียน
    * มีอาการอ่อนเพลีย
    * เป็นตะคริวหรืออ่อนแรง
    * มีอากาไม่สบายตัว
นอกจากจะเรียนรู้อาการต่างๆเหล่านี้ ยังต้องเตรียมยาหรือแผนการรักษาเบื้องต้น ก่อนการปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์ต้องเตรียมข้อมูลสำหรับแพทย์
   3.
      ต้องจดเบอร์ของแพทย์หรือโรงพยาบาลที่รักษาท่านอยู่ และสมาชิกในครอบครัวทราบว่าสมุดจดวางไว้ที่ไหน
    * ชื่อแพทย์
    * เบอร์โทรของแพทย์
    * เบอร์โทรของโรงพยาบาล
    * ชื่อแพทย์สำรอง
    * เบอร์โทรแพทย์สำรอง
    * เบอร์โทรโรงพยาบาล
   4.
      เตรียมข้อมูลที่สำคัญสำหรับการพบแพทย์หรือปรึกษากับแพทย์
   
อาการแน่นหน้าอก
     
เวลาที่เริ่มเจ็บ
     
ระยะเวลาที่เจ็บ
     
ลักษณะที่เจ็บ(เจ็บแปลบๆ เจ็บหนักๆ หายใจแล้วเจ็บมากขึ้นหรือเท่าเดิม
     
ตำแหน่งที่เจ็บ
     
เจ็บเท่ากันหรือเป็นๆหายๆ
   
น้ำหนักเกิน
     
น้ำหนักปกติเป็นเท่าใด
     
น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาเท่าใด
     
ใช้เวลากี่วัน
   
อาการบวม
     
บวมที่ไหนเป็นแห่งแรก
     
บวมบริเวณอื่นอีกหรือไม่(มือ ท้อง)
     
บวมนานแค่ไหน
   
อาการหายใจลำบากหรือไอกลางคืนหรือหอบเหนื่อย
     
เริ่มหายใจลำบากเมื่อใด
     
ปัจจัยที่ทำให้หายใจลำบากเพิ่มขึ้น ปัจจัยที่ทำให้หายใจดีขึ้น
     
เริ่มไอกลางคืนตั้งแต่เมื่อใด
   
อาการเป็นลมหรือเวียนศีรษะ
     
เวลาที่เริ่มเกิดอาการ
   
มีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วยหรือไม่
     
เป็นมานานแค่ไหน
   
อาการอ่อนเพลียไม่มีแรง
     
ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการอ่อนเพลีย
   
ตะคริวและกล้ามเนื้ออ่อนแรง
     
กล้ามเนื้อส่วนไหนที่เป็นตะคริว
      ระยะเวลาที่มีอาการนี้
   
อาการอื่นๆที่จะปรึกษาแพทย์
   1. แผนการสำหรับภาวะฉุกเฉินต่างๆ
    * หากเกิดอาการฉุกเฉินต่างๆดังกล่าวอย่าตกใจจนขาดสติ
ให้รวบรวมสมาธิแล้ววางแผนว่าจะทำอะไรก่อนอะไรหลัง ก่อนอื่นคงจะต้องให้การดูแลเบื้องต้นก่อน
ผู้ที่มีอาการแน่นหน้าอกหรือหายใจลำบาก
    * ให้นอนยกหัวสูง หรือนั่ง
    * หากมีออกซิเจนที่บ้านก็เปิด4-6ลิตรให้ผู้ป่วย
    * หากเจ็บหน้าอกก็สามารถให้ยาอมใต้ลิ้นแก่ผู้ป่วย
    * ให้ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ
ผู้ป่วยที่หมดสติหรือไม่รู้สึกตัว
    * ให้จับนอนหงาย หันหน้าออกไปทางด้านข้าง
    * หรือให้นอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก
    * อย่าป้อนยาหอมหรืออาหารเพราะอาจจะสำลักอาหาร
    * ให้ออกซิเจน
โทรปรึกษาแพทย์หรือโรงพยาบาล
โปรดอย่าลืมสมุดจดข้อมูลที่จะใช้ปรึกษาหรือรายงานอาการให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบ
ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ที่มา    www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด