โรคทางเดินอาหารในเด็ก มีเสียงดังและโรคครู๊ป(croup) |
ในบางครั้ง เด็กที่เป็นหอบหืด จะมีอาการหายใจลำบาก มีเสียงหวีด ๆ ในปอด แต่มีอีกภาวะหนึ่ง หายใจลำบากเหมือนกัน แต่เสียงจะเป็นครืด ๆ ในลำคอ จะมีไอเหมือนเสียงสุนัขเห่า(barking cought)ภาวะนี้ ถือว่าอันตรายพอสมควร ครู้ป (Croup/Laryngotracheobronchitis) ครู้ ป (คอตีบเทียม) หมายถึงกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนต้น (จมูกและลำคอ) ลงไปถึงทางเดินหายใจส่วนกลาง (กล่องเสียง ท่อลม และหลอดลม) ทำให้มีอาการไอเสียงแหบห้าว หายใจเสียงดังครู้ป (stridor) และหายใจลำบาก สาเหตุ มีสาเหตุได้หลายอย่างเช่น 1. เชื้อไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุได้พบบ่อยที่สุด มักพบในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี 2. เชื้อ แบคทีเรีย เช่น เชื้อคอตีบ ที่ทำให้เป็นโรคคอตีบ , ฮีโมฟิลุสอินฟลูเอนเซ (Haemophilus influenzae) ที่ทำให้เกิดโรคฝากล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน (acute epiglottitis) พบมากในเด็กอายุ 3-7 ปี 3. สิ่งแปลกปลอม 4. การแพ้ ซึ่งทำให้กล่องเสียงบวม 5. ไม่ทราบสาเหตุ เช่น สปาสโมดิก ครู้ป (spasmodic croup) ซึ่งพบได้ในเด็กทุกกลุ่มอายุ มักมีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นด้วย ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ ครู้ปจากไวรัส ฝากล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน และสปาสโมดิก ครู้ป อาการ ครู้ปจากไวรัส (virul croup/laryngotracheo bronchitis) ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดนำมาก่อนหลายวัน ต่อมาจะมีอารการไอเสียงแหบแห้ง หายใจเสียงดังครู้ปๆ ซึ่งมักจะเป็นตอนกลางคืน มีอาการหายใจลำบาก คอบุ๋ม ซี่โครงบุ๋ม ถ้ารุนแรงอาจมีอาการตัวเขียว การใช้เครื่องตรวจฟังตรวจ อาจได้ยินเสียงอี๊ด (rhonchi) และเสียง (wheezing) บางรายอาจมีไข้ ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นได้เองไนตอนเช้า แต่ตกกลางคืนอาจมีอาการกำเริบได้อีก อาการมักเป็นอยู่ 3-4 วัน ฝากล่อง เสียงอักเสบเฉียบพลัน อาการมักเกิดขึ้นเฉียบพลันและรุนแรง โดยอยู่ๆ ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง เจ็บคอ เสียงแห้ง กลืนลำบาก หายใจลำบาก และมีเสียงดังครู้ป การตรวจร่างกาย มักพบว่าคอแดง ฝากล่องเสียง (epiglottis) แดง คอบุ๋ม ซี่โครงบุ๋ม การใช้เครื่องฟังปอดพบว่าเสียงหายใจค่อย และอาจมีเสียงอึ๊ด (rhonchi) สปาส โมดิกครู้ป มักเป็นเฉพาะตอนกลางคืนด้วยอาการไอ และมีเสียงดังครู้ป (stridor) โดยไม่มีไข้และเสียงแหบไม่มาก บางรายอาจมีอาการหลังจากเป็นไข้หวัด หรือหลังถูกควันหรืออากาศเย็น อาการมักจะไม่รุนแรง และเป็นอยู่ไม่กี่ชั่วโมง พอรุ่งเช้ามักจะหายเป็นปกติ แต่ตกกลางคืนอาจเป็นซ้ำได้อีก 2-3 คืน อาการแทรกซ้อน ครู้ปจากไวรัส อาจมีเชื้อแบคทีเรียอักเสบแทรกซ้อน ทำให้เป็นปอดอักเสบ โลหิตเป็นพิษ ฝากล่อง เสียงอักเสบเฉียบพลัน อาจทำให้ปอดอักเสบ ภาวะมีหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด หรือเชื้อแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ทำให้เกิดฝีตามอวัยวะต่างๆ ถือเป็นโรคร้ายแรงถึงตายได้ สปาสโมดิกครู้ป ไม่มีโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่อาจเป็นซ้ำได้อีก การรักษา หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบว่าไข้สูง หายใจลำบาก ตัวเขียว อ่อนเพลียมาก หรือพบแผ่นฝ้าขาวในลำคอ (ชวนให้สงสัยว่าคอตีบ) ถ้าเกิดจากไวรัส ให้ทำการรักษาตามอาการ เช่น ให้น้ำเกลือ ยาลดไข้ ให้ออกซิเจน พ่นฝอยละอองน้ำให้ความชุ่มชื้น เป็นต้น ยา ปฏิชีวนะจะให้ต่อเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ถ้าหายใจลำบาก อาจต้องเจาะคอช่วยหายใจ ถ้าเป็นฝากล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน ให้รักษาด้วยการฉีดแอมพิซิลลิน ครั้งแรกให้ 150 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เข้าหลอดเลือดดำทันที แล้วตามด้วยขนาด 200 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง (ถ้ามีปัญหาดื้อยา อาจใช้คลอแรมเฟนิคอล หรือเซฟาโลสปอริน แทน) และรักษาตามอาการแบบครู้ปจากไวรัส ถ้าหายใจลำบากอาจต้องเจาะคอช่วยหายใจ ถ้า เป็นสปาสโมดิกครู้ป ไม่ต้องให้ยาอะไร ขณะที่มีอาการให้ใช้ไม้กดลิ้นหรือนิ้วแหย่ภายในลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน อาจช่วยให้อาการทุเลาได้ ข้อแนะนำ 1. ทุกครั้งที่พบเด็กมีอาการไอเสียง แหบ หายใจดังครู้ป และหายใจลำบาก ควรนึกถึงสาเหตุร้ายแรง เช่น คอตีบ , หลอดลมอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอม , ฝากล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น และควรส่งโรงพยาบาลด่วน เพราะหากชักช้าอาจเป็นอันตรายได้ 2. ขณะที่พบเด็กมีอาการ ควรวางอ่างน้ำไว้ข้าง ๆ เพื่อให้เด็กได้รับความชื้นจากไอน้ำที่ระเหย |